ผ้าฝ้ายดอนหลวง จังหวัดลำพูน

หมู่บ้านหัตถกรรม บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
๑.ชุมชนบ้านดอนหลวง เป็นแหล่งผลิตงานหัตถกรรมผ้าฝ้ายทอมือรายใหญ่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ที่ตั้งอยู่ในตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา อันยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ของบ้านดอนหลวง และการทอผ้าด้วยมืออันลือเลื่องที่อยู่คู่วิถีชีวิตมาตั้งแต่เดิม ปัจจุบันการทอผ้าฝ้ายของชาวบ้านดอนหลวงมีการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายให้มีความทันสมัย กลายเป็นสินค้าหัตถกรรมจากผ้าฝ้ายหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมไหล่ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูเตียง เป็นต้น อีกทั้งยังผลิตสินค้าออกจำหน่ายเป็นสินค้าที่ระลึกไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ มากมายทั้งในและนอกประเทศ นับเป็นแหล่งผลิตสินค้าจากผ้าฝ้ายทอเมืองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ บ้านดอนหลวงจัดงาน “แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง” ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งกลายมาเป็นงานแสดงสินค้าประจำปีของหมู่บ้าน และบ้านดอนหลวงได้เป็นหมู่บ้านโอท็อปแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (หมู่บ้าน OVC) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับหรือตกแต่ง)
ผลิตภัณฑ์ชุดพื้นเมือง และเสื้อจากผ้าฝ้ายทอมือ
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม สำนักงานเทศบาลตำบลแม่แรง
เบอร์โทรศัพท์ 0 5355 6732
๕.ช่องทางออนไลน์
เว๊ปไซต์ สำนักงานเทศบาลตำบลแม่แรง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหารดาวคะนองลำพูน จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.เป็นร้านอาหารพื้นเมืองร้านแรกในจังหวัดลำพูน ก่อตั้งโดย คุณตาคะนอง คุณยายบุญทอง ยาวิคำ โดยคุณตาเป็นผู้คิดค้นสูตรน้ำพริกลาบและน้ำพริกแกงโบราณที่ไม่เหมือนใครจนกลายเป็นตำนานร้านอาหารพื้นเมือง ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ซึ่งได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
ลาบ/แกงฮังเล/ไส้อั่ว/น้ำพริกหนุ่มแกง/ผักเชียงดา/
แกงผักหวาน/ไก่ต้มน้ำปลา
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน ตั้งแต่ เวลา ๐๘.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นางอรนุช คำธิตา
สาขาในเมือง โทรศัพท์ ๐ ๕๓๕๑ ๑๕๕๒
สาขาดอยติ โทรศัพท์ ๐ ๕๓๕๕ ๓๘๔๑ และ ๐ ๕๓๕๕ ๓๙๔๒
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook ร้านดาวคะนอง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สวนสามแสน จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง บ้านกลาง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
๑.สวนสามแสน เป็นสวนเกษตรที่เกิดจากความคิดที่ต้องการหาวิธีทำเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักปฏิบัติ โดยมีการนำเอาโรงเรียนบ้านกลาง ที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาเป็นพื้นที่ให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอินทรีย์ โดยสวนสามแสนมีชื่อมาจาก แสนพอดี แสนคุ้ม แสนภูมิใจ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 8.00 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ของทุกปี (ฤดูหนาว)
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายสมคิด ธีระสิงห์ ผู้ใหญ่บ้าน 09 3212 9090
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : สวนสามแสน บ้านกลาง
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

น้ำตกก้อหลวง จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
๑. เป็นน้ำตกหินปูน ไหลผ่านหน้าผาหินปูนสูง 20 เมตร ไหลลดหลั่นลงทั้งหมด 7 ชั้น และสุดท้ายตกลงสู่แอ่งน้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่ด้านล่าง และบริเวณนี้ ยังมีหินปูนและมีน้ำไหลตลอดทั้งปีอีกด้วยค่ะ เลยทำให้บริเวณน้ำตกนั้น จะมีหินงอกหินย้อยมากมายจุดเด่นที่สุดของน้ำตกก้อหลวงคือน้ำมีสีฟ้ามรกต คล้ายกับสระมรกต น้ำมีความมีความใสเป็นอย่างมาก สามารถมองเห็นพื้นบริเวฯน้ำตื้นๆ ได้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
1 กรกฎาคม – 30 กันยายน ของทุกปี
ระหว่างเวลา 08.00 – 16.30 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
1 กรกฎาคม – 30 กันยายน ของทุกปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย : เด็ก 10 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 100 บาท
ชาวต่างชาติ : เด็ก 50 บาท
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
กิจกรรมเดินป่าชมธรรมชาติ,ว่ายน้ำ,พักผ่อนหย่อนใจ
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5203 0480, 0 5203 0380 ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
๗. ช่องทางออนไลน์
Facebook : อุทยานแห่งชาติแม่ปิง – Mae Ping National Park
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๑๒๙๘ เป็นฝีมือของชาวขอม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น ตามแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย มีพระพุทธรูปปางประทานพรยืนอยู่ในซุ้ม ทั้งหมดมี ๖๐ องค์ ภายในบรรจุอัฐิพระนางจามเทวี ต่อมายอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า”กู่กุด”หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า”พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ” นอกจากนี้ยังมีรัตนเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร และกู่บรรจุอัฐิของครูบาศรีวิชัยอยู่ด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวันเวลา เวลา ๐6.๐๐ น. ถึง ๑8.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ 0 5351 1013
ติดต่อสอบถาม ฝ่ายประชาสัมพันธ์วัดจามเทวี
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี

ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูน ประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวีองค์ปฐมกษัตริย์ แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวันเวลา เวลา ๐6.๐๐ น. ถึง ๑8.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ 
ติดต่อสอบถาม สำนักงานเทศบาลเมืองลำพูน 0 5351 1013
๕.ช่องทางออนไลน์-
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน

ที่ตั้ง ถนนอินยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาจากวัดสำคัญและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลำพูน จำนวนกว่า ๓,๐๐๐ ชิ้น ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมาย ในภาคเหนือของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง โดยมหาอำมาตย์โท พระยาราชนกุลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เป็นผู้ริเริ่มการนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดเปิดวันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
1. ชาวไทย คนละ ๒๐ บาท
2. ชาวต่างชาติ คนละ ๑๐๐ บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 0 5351 1186 ฝ่ายประชาสัมพันธ์
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
๑.วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และถูกยก ให้เป็น ๑ ใน ๘ จอมเจดีย์ของประเทศ ที่นี่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวลำพูน โดยเฉพาะการเดินทางมานมัสการพระธาตุหริภุญชัย มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ภายในบรรจุพระบรมธาตุในโกศทองคำ และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีระกาตามคติล้านนา
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ช่วงเวลา 7.00 น. ถึง 17.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 0 5356 3612 ฝ่ายประชาสัมพันธ์
๕.ช่องทางออนไลน์
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ จังหวัดลำพูน

ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ ครั้งในสมัยอดีตมีขบวนไพร่พลของพระนางจามรี ที่หนีศึกสงครามเดินทางมาจากหลวงพระบางเพื่อหาสถานที่สร้างเมืองใหม่ โดยมีช้างคู่บารมีชื่อ พลายสุวรรณมงคล ติดตามมาด้วย เมื่อครั้งขบวนผ่าน ณ สถานที่แห่งนี้เครื่องประดับของพญาช้างที่ทำมาจากทองคำ มีลักษณะเป็นพวงตกหล่นลง ต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพวงคำ หรือ บ้านปวงคำ ตามภาษาท้องถิ่น

ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ เป็นชุมชนท่องเที่ยว บวร On Tour ที่มีการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนในทุกด้านสู่ความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ผ้าซิ่นจกโหล่งลี้ ที่มีความงดงามด้วยลวดลายสร้างสรรค์ตามจินตนาการของผู้ทอในอดีต และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีที่พักโฮมสเตย์คุ้มภูหมื่นลี้บนพื้นที่ทางธรรมชาติที่สวยงามล้อมรอบ มีความสะอาด ตลอดถึงผู้ให้บริการที่พักมีไมตรี ให้บริการนักท่องเที่ยวด้วยความอบอุ่นดุจญาติมิตร มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพวงคำ
ถือเป็นสถานที่สำคัญของชุมชนที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนบ้านปวงคำแห่งนี้
อีกทั้ง ยังเป็นลานกิจกรรมของชุมชนในการจัดงานต่าง ๆ งานประเพณีสำคัญ งานทางศาสนารวมถึงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนอีกด้วย

ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลลี้ ณ วัดพวงคำ
ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าจกโหล่งลี้ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของการทอผ้าของชุมชน อาทิ การย้อมสี การทอ การปัก เป็นต้น

ตลาดนัดชุมชน “กาดนัดพอเพียง หล่อเลี้ยงวิถีชีวิต”
เป็นตลาดซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร และสินค้าพื้นถิ่นของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ภูหมื่นลี้
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม สามารถมองเห็นวิวสวนลำไยที่เขียวขจีทิวทุ่งนาข้าวสีเหลืองทอง จึงถือว่าเป็น Landmark ที่สำคัญของชุมชนที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภูหมื่นลี้
ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำเป็นชุมชนที่มีการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพ มีการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นการสร้างรายได้ให้ครัวเรือน โดยการจำหน่ายพืชผักสวนครัว ถือเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนอีกด้วย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเล็บ การฟ้อนใต้ฟ้าปวงคำ เป็นต้น
ลานกิจกรรมของ ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำเป็นการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนแบบล้านนา เช่น การฟ้อนเล็บ การฟ้อนใต้ฟ้าปวงคำ เป็นต้น ซึ่งเป็นการแสดงที่มีความอ่อนช้อย งดงาม และสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมการสาธิตและฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารพื้นบ้าน
ลานกิจกรรมของชุมชนวัดพวงคำ เป็นกิจกรรมการสาธิต และร่วมฝึกปฏิบัติประกอบอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านปวงคำ เช่น น้ำพริกถั่วเน่า น้ำพริกปลาย่าง ฯลฯ

กิจกรรมนั่งรถรางนำเที่ยวชุมชน
ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ เป็นกิจกรรมที่นำพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมบริบท ภูมิทัศน์โดยรวมของชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตามสภาพความเป็นจริงโดยจะมีมัคคุเทศก์ของชุมชนที่คอยแนะนำสถานที่สำคัญ รวมถึงให้ความรู้แต่ละสถานที่กับนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลุก จังหวัดลำพูน

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลุก สภาพภูมิประเทศของชุมชนตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตร ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ วัดบ้านหลุก/หอธรรมวัดบ้านหลุก/อุโบสถ บ้านชนะดัง (บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ) เฮือนพิกุล (คุ้มมโนวรรณ) มีสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น งานแกะสลัก จักสานไม้ไผ่ อาหารแปรรูป ฯลฯ อีกทั้ง ยังมีประเพณีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น เช่น สลากย้อมชาวยอง เป็นต้น

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลุก เป็นชุมชนท่องเที่ยว บวร On Tour ที่มีจุดเด่น มีเสน่ห์  อัตลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่มากมาย โดยชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลุก มีนโยบายและคติประจำใจที่ว่า “พริกบ้านเหนือ เกลือป่าใต้ ข่าตะไคร้บ้านพี่บ้านน้อง” คือ การอยู่แบบพอเพียง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสืบสาน รักษา ต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณีของชาวยองไว้ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสักการะล้านนา ตลอดจนถึงวิถีชีวิต การร่ายรำ การฟ้อนของเด็กเยาวชนในชุมชน มีวัดบ้านหลุกศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบ้านหลุก
เป็นสถานที่ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนคุณธรรม วัดบ้านหลุก อีกทั้งยังเป็นลานกิจกรรม เพื่อจัดงานต่าง ๆ ของชุมชนอีกด้วย

หอธรรมและพิพิธภัณฑ์วัดบ้านหลุก
เป็นสถานที่เก็บพระพุทธรูปเก่าและหีบธรรมโบราณของทางวัดบ้านหลุกเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดูและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของวัดบ้านหลุก

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุด check in ชุมชน และทิวท้องทุ่ง ตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน
เป็นสถานที่ที่เป็นจุดสำคัญของชุมชน ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมเยือนชุมชนต้องบันทึกภาพไว้ อีกทั้งเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหลุกแห่งนี้ ยังมีทิวทัศน์ของท้องทุ่งที่สวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผักกินได้ บ้านชนะดัง
ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลุก เป็นชุมชนที่มีการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีพ เช่น การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน สร้างรายได้ให้ชุมชนจากการจำหน่ายผัก ผลไม้ที่ปลูกเอง อีกทั้ง บ้านชนะดัง เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบยังเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนอีกด้วย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนยอง การฟ้อนหางนกยูง ฯลฯ
ลานกิจกรรม ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหลุก การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนชาวยอง เช่น การฟ้อนยอง การฟ้อนหางนกยูง ฯลฯ  ซึ่งเป็นการแสดงที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยองที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านหลุกแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

การสาธิตการทำขนมพื้นบ้านชาวยอง
ลานกิจกรรมวัดบ้านหลุก เป็นกิจกรรมการสาธิต และร่วมฝึกปฏิบัติทำขนมพื้นบ้านแบบชาวยอง บ้านหลุก เช่น ข้าวต้มมัด ขนมต้มโบราณ สาคูโบราณ ฯลฯ

การสาธิตการ ทำบายศรีแบบล้านนา
ลานกิจกรรมวัดบ้านหลุก เป็นกิจกรรมการสาธิต และร่วมฝึกปฏิบัติประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญแบบล้านนา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม