ร้านอาอ๋า ของฝากจันทบุรี

ที่ตั้ง 58/23 ม.7 ถ.สุขุมวิท ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
สำหรับใครที่ต้องการของฝากเด่น ๆ โดนใจจากจังหวัดจันทบุรีขอแนะนำให้มาที่นี่เลย ” อาอ๋าของฝาก ” เพราะที่นี่เต็มไปด้วยของฝากจากฝีมือคนพื้นเมือง ทั้งชาวสวนและคนทั่วไป สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดจันทบุรี มีร้านกาแฟให้แวะพัก รวมถึงร้านอาหาร และมุมให้ถ่ายรูปสวย ๆ กันอีกด้วย
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง) ปูไข่ ปูดอง กั้งไข่ดอง น้ำจิ้มสุดแซ่บ ผลไม้สดตามฤดูกาล ทั้งทุเรียน ระกำ มังคุด เงาะ ของฝากขึ้นชื่อต่างๆ เช่น ทุเรียนกวน ทุเรียนทอด มังคุดกวน รวมทั้งอัญมณี
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทำการทุกวัน
เวลาเปิดทำการ : 08.00 – 21.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 7082 6713
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/souvenirshopsbyarar/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

บ้านน้ำพริกข้าวสวย เมืองจันทบุรี

ที่ตั้ง หมู่ 1 ถนนพระยาตรัง เมืองจันทบุรี 22000
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ใครไปเที่ยวจันทบุรีแล้วต้องห้ามพลาดไปลองชิมเมนูขึ้นชื่อเมืองจันทบุรี กันที่ร้าน “บ้านน้ำพริกข้าวสวย” เป็นหนึ่งในร้านอาหารของดีเมืองจันท์ซึ่งเปิดมานานกว่ายี่สิบปี ทางร้านเสิร์ฟอาหารไทยเดิมซึ่งจัดมาได้อย่างสวยงามมาก มีเมนูให้เลือกหลากหลายสำหรับทุกคนรูปแบบเมนูมีทั้งแบบจานเดี่ยว หรือสำหรับคนที่มาเป็น กลุ่มก็ได้เช่นกัน เป็นร้านอาหารไทยที่มีการจัดจานเสิร์ฟแบบอาหารไทยดั้งเดิมที่มีการตกแต่งสวยงามชวนให้น่ารับประทาน ภายในร้านก็มีการตกแต่งในรูปแบบที่เรียบง่ายสวยงาม โดยมีทั้งแบบนั่งรับประทานบนเก้าอี้หรือถ้าท่านใดไม่ชอบรับประทานบนเก้าอี้ ทางร้านก็มีโต๊ะที่สามารถนั่งรับประทานกับพื้นเพื่อให้ได้บรรยากาศแบบไทย ๆ
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 เสบียงจันทร์ที่มาพร้อมกับอาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิด อาทิ หมูชะมวง หลนปู ต้มไก่ น้ำพริกผัด
2.2 เมนูเมี่ยงอินเลิฟที่เป็นเมี่ยงดอกบัว กลิ่นหอมชวนรับประทาน
2.3 เมนูกินข้าวกินปลาที่เป็นข้าว เสิร์ฟในสำรับคู่กับปลาทู น้ำพริกและผักชนิดต่าง ๆ
2.3 ของหวาน ได้แก่ ปลาแห้งแตงโม และเฉาก๊วยน้ำอ้อย
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.30 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 09 1993 6645
๕.ช่องทางออนไลน์ –
https://www.facebook.com/Baannamphrikkaosauy/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี

ที่ตั้ง 74/1 หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโตนด ตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริว่าในอนาคตจะมีการขยายการทำสวนผลไม้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะมีปริมาณฝนมาก จำนวนวันที่ฝนตกกว่าครึ่งปีจนเกิดน้ำไหลหลากท่วมจังหวัดจันทบุรีเป็นประจำ แต่ฤดูแล้งจะขาดน้ำ พระองค์ทรงวางแนวทางการช่วยเหลือราษฎรโดยการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กเป็นระยะๆ ในลำธาร ลำคลองตามร่องเนินในรูปอ่างพลวง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร ลดปริมาณน้ำในแม่น้ำจันทบุรี และป้องกันน้ำท่วม ในอนาคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสให้คณะทำงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ สำรวจพื้นที่ และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินสวนผลไม้ซึ่งมีลำคลองพาดผ่านพื้นที่ในอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จำนวน 109 ไร่ เพื่อดำเนินการตามโครงการเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ตั้งโครงการอยู่ห่างจากอำเภอมะขามไปทางทิศใต้ ประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดจันทบุรี ตามเส้นทางจันทบุรี–อำเภอเขาคิชฌกูฏ ประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงแม้ว่าจะเป็นสวนผลไม้ธรรมดา แต่ก็เป็นสวนผลไม้ที่มีบรรยากาศสวยงาม มีสระน้ำธรรมชาติ ร่มรื่นไปด้วยแปลงผลไม้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเงาะ, มังคุด, ทุเรียน, ลำไย, สละ, และลองกอง โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์โบราณ ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดจันทบุรี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 17.00 น.
แต่แนะนำให้ไปเที่ยวในช่วงวันธรรมดาเพราะจะมีเจ้าหน้าที่ของสวนไม้ผลให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวก ถ้ามาเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้า เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้จัดเตรียมวิทยากร หรือสถานที่ให้เพียงต่อนักท่องเที่ยว
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
มีนาคม – มิถุนายน (ช่วงฤดูกาลผลไม้)
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ-
๕.เบอร์โทรศัพท์
ติดต่อสอบถาม 0 3937 3136
๖.ช่องทางออนไลน์-
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี จันทบุรี

ที่ตั้ง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ (ระหว่าง 10 – 15 บรรทัด)
เดิมคือศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดจันทบุรี ตัวอาคารหอจดหมายเหตุฯ ที่อายุร้อยกว่าปี แต่ยังสวยคลาสสิกข้ามกาลเวลา ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกและตะวันออก ช่องลม ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม ด้านในจัดแสดงเอกสารสำคัญๆ เช่น ทะเบียนรายชื่อ ภาพถ่าย จดหมายเหตุ ภาพยนตร์และสารคดีที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจันทบุรี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 08.00-16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ

๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 0 3938 8116-8
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/archives.chan
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว – ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนริมน้ำจันทบูร จันทบุรี

ที่ตั้ง ถนนสุขาภิบาล ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ (ระหว่าง 10 – 15 บรรทัด)
ย้อนวันวานกับบ้านเรือนเก่าแก่สุดคลาสสิค สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านสมัยก่อนแบบเรียบง่ายกันที่ “ชุมชนริมน้ำจันทบูร” เพลิดเพลินกับมนต์เสน่ห์แห่งลุ่มแม่น้ำจันทบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวจีนและญวนอพยพตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาได้พัฒนามาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าของจันทบุรีที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงแม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปมากซักเพียงใด แต่ร่องรอยในอดีตของชุมชนเก่าแห่งนี้ก็ยังไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา จนปัจจุบันกลายสถานที่ท่องเที่ยวที่หากใครที่มาเยือนจังหวัดจันทบุรีแล้วไม่ควรพลาดสามารถมาเที่ยวได้ทั้งแบบไปเช้าเย็นกลับ หรือจะค้างคืนเพื่อซึมซับกับบรรยากาศความเก่าแก่ให้เต็มที่ ซึ่งมีที่พักให้เราได้เลือกอยู่หลายแห่ง จุดเริ่มต้นจากเชิงสะพานวัดจันทร์ ยาวไปตลอดจนถึงชุมชนตลาดล่าง ประกอบด้วยที่พักอาศัย ร้านค้าชุมชน พิพิธภัณฑ์ ศาลเจ้า เกสเฮ้าส์ รวมถึงร้านอาหาร ร้านขนม และร้านกาแฟน่ารัก ๆ ให้เลือกนั่งหลายร้านเลยทีเดียว
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 น.
(บ้านบางหลังเปิดให้ชมเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ-
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 08 6328 6697
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/chanthaboonwaterfront
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จันทบุรี

ที่ตั้ง 100 ถนนท่าหลวง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นสถานที่สำคัญของเมืองจันทบุรี เสมือนเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจันทบุรี ที่แสดงถึงความศรัทธา และจงรักภักดีที่มีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สำหรับผู้ที่เดินทางมาถึงตัวเมืองจันทบุรีแล้ว ไม่ควรพลาดแวะสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล และขอพร ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่ในตัวเมืองริมถนนท่าหลวง ใกล้กันมีศาลหลักเมือง และพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่อยู่ภายในค่ายตากสิน ที่สามารถเดินชมได้ด้วยศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดิมเป็นศาลไม้อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาในปี 2463 สมัย ม.จ. สฤษดิเดชชยางกูร เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ได้สร้างศาลขึ้นใหม่บริเวณด้านหน้าค่ายทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งถนนกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยอาศัยอาคารเป็นศาลาคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุตข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างรวม 3 ด้าน กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำพระองค์พระเจ้าตาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 5.30 – 20.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ-
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร 08 7585 8516
๕.ช่องทางออนไลน์-
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดร/จุดบริการนักท่องเที่ยวร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

ที่ตั้ง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
แวะสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดจันทบุรี เพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ตัวเอง ศาลหลักเมืองจันทบุรีที่เห็นอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่หลังเดียวกันกับที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 250 ปีที่แล้ว เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาใหม่แทน ศาลเดิมที่สร้างด้วยศิลาแลงซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรม มีต้นโพธิ์และต้นข่อยขึ้นปกคลุม ศาลหลักเมืองแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเข้าเมืองจันทบุรี เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหารก่อนยกทัพไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ตามหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงได้เมืองจันทบุรีเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หากข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นเรื่องจริงแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ทางจังหวัดจันทบุรีได้ก่อสร้างศาลฝังเสาหลักเมืองและหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยแบบจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา และมีปรางค์ที่ด้านบน นอกจากนั้น บริเวณใกล้ ๆ กันกับศาลหลักเมือง ยังได้สร้างศาลขนาดเล็กที่สวยงามในแบบสถาปัตยกรรมจีนขึ้นอีกด้วย ส่งให้ศาลหลักเมืองดูสง่างามเพิ่มขึ้นไปอีก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชม : ทุกวัน เวลา 05.30-20.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ-
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
สอบถามข้อมูล : โทรศัพท์ 0 3931 3452
๕.ช่องทางออนไลน์-
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยวร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดตะปอนใหญ่ จังหวัดจันทบุรี

เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 400 ปี ชาวบ้านที่เข้ามาอาศัยอยู่ในรุ่นแรก ๆ นั้น เป็นชาวจีน   เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนมากทำนา บางส่วนจะทำสวนผลไม้ เงาะ มังคุด ทุเรียน เป็นที่ราบลุ่มลักษณะ อากาศโดยทั่วไปมีอากาศ ไม่ร้อนจัด  ไม่หนาวจัด  และเป็นเขตพื้นที่ที่มีฝนตกเกือบตลอดปี หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ฝนแปดแดดสี่”

จุดเด่นของชุมชนคือ มีตลาดสายวัฒนธรรมที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน คือ ตลาดโบราณ 270 ปี ซึ่งเน้นขายเฉพาะพืชผัก ขนม อาหารพื้นบ้าน มีประเพณีที่โดดเด่นจนได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญา งานประเพณีการชักพระบาท (วัดตะปอนใหญ่)  เพื่อเป็นสิริมงคล และความสนุกสนานเพลิดเพลิน จะทำกันในช่วงหลังจากวันสงกรานต์ 1 เดือน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โพธิ์หุ้มเจดีย์เก่า (วัดตะปอนใหญ่) ต้นโพธิ์อายุเกินร้อยปีที่ขึ้นรัดเจดีย์เก่าจนหุ้มไม่เห็นโครงสร้างของเจดีย์ มีขนาดประมาณ 10 – 11 คนโอบ (ปัจจุบันมองเห็นเจดีย์แล้ว)

โบสถ์เก่า (วัดตะปอนใหญ่) เป็นโบสถ์ที่ประดิษฐานประธานที่มีชื่อว่า หลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล ซึ่งมีความเชื่อว่าพระประทานที่โบสถ์แห่งนี้จะสามารถขอพรเพื่อช่วยให้สัมฤทธิ์ผลตามสิ่งที่ตนปรารถนาได้ตามชื่อของท่าน อีกทั้งยังได้ประดิษฐาน รูปหล่อของหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังและเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

โบสถ์ใหม่ (วัดตะปอนใหญ่) สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง พระประธานประดิษฐานอยู่ถึง 3 องค์ ซึ่งมีการสร้างในรูปแบบของ 3 สมัย ได้แก่ สมัยเชียงแสน สมัยอู่ทอง และสมัยสุโขทัย

ตลาดโบราณ ๒๗๐ ปี ตั้ง ตลาดโบราณ 270 ปี ของดีบ้านตะปอนใหญ่ เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ให้ชาวบ้านนำสินค้า อาหารพื้นเมืองมาจำหน่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ยึดหลักคุณธรรมขายสินค้าคุณภาพ ราคายุติธรรม นอกจากนี้ในตลาดยังมีการสาธิต ชักเย่อเกวียนพระบาท การทำเมนูอาหาร การแสดงโชว์วิถีชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การชักเย่อเกวียนพระบาท

วัดตะปอนใหญ่

เป็นประเพณีดั้งเดิมเป็นของหมู่บ้านตะปอนชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธารอยพระพุทธบาทกันมากจึงให้มีการสืบทอดประเพณีติดต่อกันมากทุกปี ภายหลังเปลี่ยนจากการแห่เกวียนพระบาทมาเป็นการชักเย่อแทน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ชาย-หญิง อยู่คนละข้าง นำเชือกผูกติดกับเกวียนขณะที่2 ฝ่ายออกแรงดึงเชือก คนตีกลองที่อยู่บนเกวียนจะตีกลองรัวจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ใครชนะก็ถือว่าลากพระบาทได้ ฝ่ายแพ้ก็จะขอแก้ลำเป็นที่สนุกสนานมาก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองอ้อ จังหวัดจันทบุรี

ชุมชนคุณธรรมวัดหนองอ้อ มีวัดหนองอ้อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำนาและทำสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมี    ในครัวเรือนอีกด้วย ที่มาชื่อบ้านหนองอ้อมาจากบริเวณหมู่บ้านมีต้นอ้อขึ้นอยู่มากในหนองน้ำธรรมชาติ

ชุมชุนคุณธรรมวัดหนองอ้อ นอกจากเป็นชุมชนวิถีเกษตรแล้วยังเป็นชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชุมชนอย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการแบ่งปันจากของที่ตนเองมีอยู่ไปจนถึงการค้าขายในชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีโฮมสเตย์และแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหนองอ้อ ตั้งอยู่ที่ ต.มะขาม อ.มะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดจันทบุรี แห่งที่ ๓๗ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗ และได้รับการประกาศวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ถือเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดจันทบุรีมีพระครูวิศาลรจันทรสุขคุณ (เฉียบ จนฺทสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บ้านดินมังกร เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไส้เดือน ทดลองเลี้ยงไส้เดือนและการทำสปาด้วยตัวเอง นำผลิตภัณฑ์จากไส้เดือนกลับไปลองใช้ และเพลิดเพลินไปกับการช้อปพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษ

ศิลปะปั้นขี้เลื่อย ศิลปะปั้นขี้เลื่อย เป็นแหล่งเรียนรู้และลงมือทำการปั้นขี้เลื่อยด้วยตนเอง และสามารถนำชิ้นงานของตนเองกลับบ้านเป็นที่ระลึก

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบางสระเก้า จังหวัดจันทบุรี

ชุมชนสวรรค์บนดิน ถิ่นบางสระเก้า (ดินแดน ๓ น้ำ ๙ นา) เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำที่เชื่อมสู่ทะเลป่าชายเลน โดยชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวข้องกับการทอเสื่อ ทำนา ทำสวนผลไม้ และการประมงพื้นบ้าน อย่างที่เรียก 3 น้ำ 9 นา คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย พร้อมทำนาข้าว นากก นาปอ นาบัว นาถั่ว นาข้าวโพด นามะพร้าว นามะนาว และนากุ้ง

คงเสน่ห์ด้วยวิถีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่มีเอกลักษณ์แบบดั้งเดิม นักท่องเที่ยวจะได้ไหว้พระขอพรหลวงพ่อเต่า นั่งซาเล้ง ตะลุยชุมชน ชมวิถีชีวิต 3 น้ำ 9 ลิ้มรสอาหาร ๕ หมู่ (บ้าน) ชมสาธิตและร่วมทำเสื่อกก   จันทบูร และการทำเหละ เดินชมตลาดสี่มุมเมรุ ตลาดที่ไม่กลัวความตาย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบางสระเก้า

ศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า

กิจกรรมของศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า

1. ส่งเสริมการปลูกกก ปลูกปอ จุดมุ่งหมายต้องการให้ลดต้นทุนการผลิตมีวัตถุดิบในพื้นที่เพียงพอ ส่งเสริมด้านเงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกและจัดเตรียม มีการคืนทุนสังคมของสมาชิก

2. รับซื้อและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน การรับซื้อจะรับซื้อเสื่อกกจากสมาชิกและแปรรูปวางจำหน่าย  โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ 

ตลาดสี่มุมเมรุ ตลาดพื้นบ้านที่มีในชุมชน เปิดทุกวันบริเวณสี่แยกมุมเมรุวัดบางสระเก้า สินค้าพื้นบ้าน เช่น กุ้งแห้ง กะปิ  ทุเรียนทอด  ปลา ปู กุ้ง สดจากทะเล ฯลฯ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ศูนย์เรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ บ้านปลา-ธนาคารปู หมู่ที่ ๕ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลบางสระเก้า โดยริเริ่มของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำด้วยการเสริมสร้างระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารของชุมชน และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

ป่าตะกาดใหญ่ พื้นที่ราว 150 ไร่ บริเวณหมู่ 4 ตำบลบางสระเก้า อันเป็นที่ตั้งของป่าตะกาดใหญ่ อุดมไปด้วยป่าไม้ชายเลนชนิดต่าง ๆ เช่น  โกงกาง  ขลู่  แสม ฝาด ฯลฯ  เป็นแหล่งอาหารแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์ให้อุดมสมบูรณ์

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนปันสุข สร้างชาติ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง วัดบางสระเก้า เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน มีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายคนในชุมชน รวมทั้งผู้ที่เดือดร้อน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำบุญตักบาตร หน้าวัดบางสระเก้า การทำบุญตักบาตร พระที่เดินบิณฑบาต ยามเช้า

ชมและร่วมสาธิตการทำเสื่อกก กลุ่มทอเสื่อกก นักท่องเที่ยวหรือผู้มาศึกษาดูงาน นอกจากจะได้ชมและเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเสื่อกก ยังสามารถร่วมทอเสื่อกกได้ด้วย

ชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมชุมชน ระบำทอเสื่อ

– องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า

– ลานวัฒนธรรม กิจกรรม ศุกร์สร้างสรรค์ ลานสามสุข เป็นการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงาน “ระบำทอเสื่อ”

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม