ชุมชนเกาะแรต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. หมู่บ้านเล็กๆ ชาวบ้านประกอบอาชีพประมง จะมีกิจกรรมมากมายให้ทำบนเกาะ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักเที่ยว เช่น เดินซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป เดินชมรอบเกาะ พักโฮมสเตย์ ซึ่งมีอาหารพื้นบ้านบริการด้วย นั่งเรือตกปลา ชมปลาโลมาสีชมพู ดูพระอาทิตย์ตกดิน ฯลฯ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๙.๐๐ น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เปิดตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหารสารวัตรใหญ่

ที่ตั้ง ๘ หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. ร้านก๋วยเตี๋ยวสารวัติใหญ่ ร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดังอำเภอดอนสัก เป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีส่วนผสมมากมายคุ้มราคา โดดเด่นด้วยรสชาติต้มยำเข้มข้น เครื่องเยอะ ประกอบด้วยแหล่งวัตถุดิบ ชั้นเลิศสดสด จากทะเล อาทิ กั้ง กุ้ง กุ้งทอด หมึก ปลาแผ่น ปู ดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร้านสารวัติใหญ่อาหารอร่อย สด สะอาด
๒. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
๒.๑ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ
๒.๒ ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ
๒.๓ ทะเลรวมลวกจิ้ม
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของร้าน
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นายรณชิต ชมภูวร
๐๘ ๗๖๕๗ ๒๕๑๒
๕. ช่องทางออนไลน์ page ก๋วยเตี๋ยวสารวัตรใหญ่

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดดอนสัก (สิงขร) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. วัดดอนสักจัดสร้างหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ปางสมาธิองค์ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างแลนด์มาร์ก ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวไปกราบขอพรเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคลก่อนเดินทางลงเกาะสมุย พะงัน และเกาะเต่าเต่พระครูไพโรจน์ธรรมรุจิ (พระมหาวิลาศ) เจ้าอาวาสวัดดอนสัก กล่าวว่า ทางวัดและคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ปางสมาธิ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีฐานหน้าตักกว้าง 40 เมตร สูง 39 เมตร ที่ส่วนสูงไม่รวมฐานจากพื้นดิน ซึ่งทางวัดได้ดำเนินการจัดสร้างหลวงปู่ทวดเสร็จเรียบร้อยไปแล้วร้อยละ 90 และเหลือการปรับแต่งภูมิทัศน์ประมาณ 10% โดยฐานล่างจะมีน้ำล้อมรอบ การก่อสร้างได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.2555 โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ขณะนี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างไปแล้วกว่า 40 ล้านบาท คงเหลือการตกแต่งภูมิทัศน์ต่างอีกประมาณกว่า 10 ล้านบาท โดยตั้งเป้าให้แล้วเสร็จในปี 2565
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๘ ๑๕๓๕ ๓๐๒๙
๕. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง ๔๔/๖ ม.๔ ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. ศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเกษตรวิถีชุมชนตำบลช้างขวา เป็นการท่องเที่ยวเชิงการท่องเที่ยวเป็นทางเลือกหนึ่ง มีรูปแบบการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นจุดแข็งของพื้นที่ โดยการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น การทำกิจกรรมในแปลงเกษตรชุมชน มีโฮมเสตย์ ฯลฯ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นายธนยศ จันทะลิ
๐๙ ๙๔๗๘ ๒๒๕๕
๖. ช่องทางออนไลน์ page Farm DeeMak , Page ท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนตำบลช้างขวา
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ริมวังโฮมสเตย์

ที่อยู่ เลขที่ ๒๑ หมู่ ๓ ต.บางใบไม้ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
๑. ลักษณะของที่พัก/โฮมสเตย์ เป็นบ้านพัก
๒. จำนวนห้อง ๔ ห้อง
ราคา ๖๐๐ บาท/ห้อง
๓. กิจกรรมพิเศษ พายเรือชมธรรมชาติ ล่องเรือชมหิ่งห้อย
๔. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ชื่อ นายอำพน กาฬแก้ว
ตำแหน่ง เจ้าของกิจการ
เบอร์โทร ๐๖ ๔๗๘๐ ๒๘๕๔

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ผ้ามัดย้อมธรรมชาติจากลูกจาก (Cpot)

หมู่ที่ ๒ ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง ฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. ชื่อผู้ประกอบการ นางสาวจิราภรณ์ สุดสิน
๒. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๒.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้ามัดย้อมสีจากลูกจาก
ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากผ้ามัดย้อมสีจากลูกจาก เป็นการพัฒนาต่อยอดจากการนำผ้ามัดย้อมมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยมัดย้อมสีจากลูกจากที่มีอยู่ในชุมชน เป็นสีธรรมชาติไม่มีสารเคมี นำมาออกแบบเป็นกระเป๋าที่มีความทันสมัย สวยงาม ราคาไม่สูง เหมาะกับหลายวัย สร้างรายได้ให้กับชุมชน เหมาะสำหรับเป็นของใช้และของที่ระลึก
๓. วัน/เวลา /ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๒๒๗๓ ๒๓๙๙
๕. ช่องทางออนไลน์ เพจ ผ้ามัดย้อมจากใจ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

“เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ชุมชนบางใบไม้

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบางใบไม้ “ในบาง” เป็นชุมชนเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปี ประชาชนส่วนใหญ่ดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมพึ่งพิงแม่น้ำลำคลอง ทำสวน มีพระพุทธรูปหลวงพ่อข้าวสุขเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ในชุมชนมีคลองเล็กคลองน้อย นับร้อยสายเชื่อมโยงกันไหลไปออกแม่น้ำตาปี สองฝั่งคลองมีธรรมชาติร่มรื่น มีต้นจากขึ้นอยู่เรียงรายและลู่ใบเข้าหากันเป็นอุโมงค์ธรรมชาติที่งดงาม วันอาทิตย์จะมีตลาดน้ำประชารัฐบางใบไม้ เป็นตลาดชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
๒. ช่องทาง Online
Facebook : ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบางใบไม้ @BangBaiMaiCommunity
YouTube : Bang Bai Mai
๓. ผู้ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชน
ชื่อ นางสาวจรัญญา ศรีรักษ์
ตำแหน่ง กำนันตำบลบางใบไม้
เบอร์โทร ๐๘ ๑๖๐๗ ๔๙๓๕

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ผ้าพื้นเมืองพุมเรียง (วรรม๊ะไหมไทย) สุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ : 87 หมู่ 2 ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี
๑. ชุมชนบ้านพุมเรียงเป็นชุมชนที่มีศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรมให้เรียนรู้มากมาย เป็นหมู่บ้านที่มีคนอิสลามอาศัยอยู่กว่า 70% ความเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ที่ขึ้นชื่อและเป็นที่ยอมรับของทุกคนคือ ผ้าไหมพุมเรียง เป็นผ้าไหมที่มีการถักทอลายสวยงามมากจากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายสวยงามมีให้เลือกหลายลาย โดยเฉพาะลายดอกพิกุล เป็นผ้าไหมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นงานฝีมือแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้ความประณีตและประสบการณ์ในการทอและที่สำคัญงานแต่ละชิ้นแต่ละผืนจะใช้เวลาทอนานมากต้องมีความชอบความตั้งใจและอดทนสูง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของร้าน ทุกวัน 08.30-17.00 น.
๓. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 4993 3308

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหารเพื่อนเดินทาง

ที่ตั้ง ๑๕/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. ร้านนี้เป็นร้านอาหารใต้ขนานแท้ที่เป็นจุดหมายของนักเดินทางใครที่อยู่ระหว่างเดินทางก็สามารถจอดแวะทานได้ง่าย แต่อาหารรสชาติค่อนข้างประณีตเลย เมนูเด็ดของที่ร้านนอกจากเป็นเมนูอาหารใต้อย่างเช่นเพราะใบเหลียงผัดไข่ แกงเหลือง แกงส้ม สะตอผัดกะปิกุ้ง แล้วก็ยังมีเมนูที่แนะนำคือทอดมันไข่แดงเค็ม และไข่เจียวระเบิดซึ่งเมนูเหล่านี้หาทานที่อื่นไม่ได้ เพราะเป็นเมนูที่ทางร้าน create ขึ้นมาแถมอร่อยมากด้วย อีกเมนูอาหารที่อยากแนะนำ คือ ยำผักกูด รสชาติจัดจ้านใช้ได้เลย อย่างที่บอกเมนูเค้าเน้นวัตถุดิบไข่แดงเค็ม ขนาดเมนูของหวานก็ยังทำมาจากไข่แดง ต้มกับขิง
๒. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
๒.๑ ไข่ดาวกระจาย , แกงส้มไข่เค็ม
๒.๒ ทอดมันไข่เค็ม
๒.๓ ไข่เค็มไข่หวาน
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของร้าน ทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐ – ๒๑.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นายณรงค์ เสมียนเพชร
๐๘ ๑๘๙๕ ๐๑๕๙
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook ร้านเพื่อนเดินทาง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

ที่ตั้ง หมู่ที ๔ ตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา ตั้งอยู่ในวัดเวียง ก่อตั้งโดยพระครูศรีปริยัติชยาภรณ์(รุ่งเรือง ธมมปวโร) เจ้าอาวาสวัดเวียงและเจ้าคณะอำเภอไชยา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 และเปิดให้ชมเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการรักษาและฟื้นฟูมรดกอันล้ำค่าของบรรพชนไว้มิให้สูญหาย ใช้กุฏิเจ้าอาวาสหลังเก่าที่ว่างอยู่เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ กุฏิหลังนี้งดงามด้วยสถาปัตยกรรมฝีมือสกุลช่างไชยาที่ยังหลงเหลืออยู่และสมควรอนรักษ์ไว้ เป็นอาคารใต้ถุนสูง อายุร้อยกว่าปี แต่เมื่อของที่ได้รับบริจาคจากประชาชนมีมากขึ้น จำเป็นต้องสร้างอาคารหลังที่ 2 อีกหลัง ด้วยเงินงบประมาณที่คณะทำงานต้องจัดหากันเองมูลค่ากว่า 200,000 บาท และได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดเวียงนำกุฎิเก่าโบราณปรับปรุงเป็นอาคารหลังที่ 3 เพื่อขยายพื้นที่ให้กว้างขวางต่อไปการจัดแสดงแบ่งเป็น 3 อาคาร ได้แก่
1. อาคารหอฉัน 2 ชั้น
2. อาคารชั้นเดียว
3. กุฏิเก่า
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด – ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๘๙๑ ๕๐๑๔
๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม