พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร

ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) ถนนบุษบา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
๑. พิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร มีแนวคิดจัดตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ ในสมัย นายประสาท พงษ์ศิวาภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้จัดสรรการใช้สอยในศาลากลางหลังเดิม ซึ่งมีหน่วยงานที่ขอใช้ในขณะนั้นคือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิจิตรขอใช้อาคารชั้นล่าง (ทั้งหมด) จัดทำเป็นห้องสมุดอำเภอเมือง และห้องเรียนของวิทยาลัยชุมชน สำนักงานที่ดินขอใช้ชั้นบน ๑ ห้อง เพื่อจัดเก็บเอกสารของที่ดิน และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ขอใช้ชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร ต่อมา ในปี ๒๕๔๗ นายพรเทพ พิมลเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร มอบหมายให้วัฒนธรรมจังหวัดพิจิตรโดยมีนายอมร กิตติกวางทอง หัวหน้าสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เสนอโครงการพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร เพื่อใช้งบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และตั้งงบประมาณอย่างต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ ๒๕๕๐ นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในปัจจุบัน ปี ๒๕๔๗  ได้รับงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำและปรับปรุงห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิหลัง ภูมิเมือง คีตนาฏศิลป์ พร้อมป้ายพิพิธภัณฑ์เมืองพิจิตร ปี ๒๕๔๘  ได้รับงบประมาณ ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดง ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องภูมิปัญญา ห้องภูมิธรรมและห้องภูมิชีวิต ปรับปรุงอาคาร (ทาสี/ซ่อมหลังและระบบไฟฟ้า) และจัดทำสื่อมัลติมีเดีย ปี ๒๕๔๙  ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์อีก ๕,๑๐๐,๐๐๐ บาท จัดทำห้องจัดแสดงเพิ่มเติมอีก ๕ ห้อง ได้แก่ ห้องบรรยายสรุป ห้องสินแผ่นดิน ห้องบุคคลสำคัญ ห้องภาษาและวรรณกรรม และห้องภูมิชน

 ๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.30-16.30 น ปิดวันเสาร์ – อาทิตย์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕ – ๖
๕.ช่องทางออนไลน์
shorturl.asia/iybaz
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์บ้านดง โฮจิมินห์ จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ตำบล ป่ามะคาบ อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า ๖,๔๐๐ ตารางเมตร เดิมเป็นสุสานของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณใจกลางบ้านดง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านและโฮจิมินห์ ซึ่งมาพักอาศัย ณ บ้านดงเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๙ โซน ได้แก่ โซนสายสัมพันธ์ไทย–เวียดนาม โซนบ้านดงในอดีต โซนโฮจิมินห์ ผู้ปลดแอกเวียดนาม โซนภูมิศาสตร์บ้านดง จังหวัดพิจิตร โซนชุมชนบ้านดงโซนภารกิจลับที่บ้านดง โซนการเคลื่อนไหวในสยามโซนบากบั่นปลดแอกโซนวีรบุรุษ นอกจากนี้ยังมีบ้านจำลองของประธานโฮจิมินห์ตั้งอยู่ด้านนอกอาคารสำหรับด้านในตัวบ้านมีรูปปั้นของโฮจิมินห์ และหิ้งบูชารวมถึงของใช้ส่วนตัวที่ท่านเคยใช้จากประวัติที่มาดังกล่าวทำให้พิพิธภัณฑ์บ้านดงโฮจิมินห์จังหวัดพิจิตร เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ไทย–เวียดนาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภายในชุมชนของตำบลป่ามะคาบและเป็นตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่วันอังคาร–วันอาทิตย์ เวลา ๐๙:๐๐–๑๗:๐๐ (หยุดวันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์)
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๗๑๙๘ ๘๖๙๙ หรือ ๐ ๕๖๐๓ ๙๘๖๙
๕.ช่องทางออนไลน์
www.bandonghochiminhmuseum.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดวังกลม จ.พิจิตร

ที่ตั้ง 422 ถนนเทศบาล 1 ตำบล บ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
1.วัดวังกลม เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟ และตลาดวังกรดประมาณ 500 เมตร สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2461 พระประธานในอุโบสถวัดวังกลมมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีว่า หลวงพ่อลือ วัดวังกลมเป็นจุดศูนย์กลางของชาวบ้านหลายหมู่บ้านในพื้นที่แถบนี้ หลวงพ่อลือ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม สร้างราวปี พ.ศ.2461 โดยหลวงพ่อบุญลือ เจ้าอาวาสวัดสามประทุม อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งธุดงค์ผ่านมาพักที่วัดวังกลม เห็นว่าในโบสถ์ยังไม่มีพระประธาน จึงรับอาสาสร้างให้เนื่องจากเป็นผู้มีฝีมือในการปั้น โดยให้เรียกนามพระประธานว่า หลวงพ่อลือ อันหมายถึงชื่อที่ลือกระฉ่อนขจรไกล
2.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 06.00–08:00 น.
3.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
4.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 7317 9300
5.ช่องทางออนไลน์
http://www.m-culture.in.th/album/136747/js/
6.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์บ้านหลวงประเทืองคดี จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ตำบล บ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.บ้านหลวงประเทืองคดี เป็นอาคารทรงตึกหลังแรกของตลาดวังกรด ที่ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงประเทืองคดีในตอนที่อายุราว 80 ปี สำหรับหลวงประเทืองคดี เป็นคหบดี ที่เปรียบเสมือนบุคคลสำคัญในฐานะผู้แนะนำให้สร้างตลาดวังกรดขึ้น หลวงประเทืองคดี เป็นคนบ้านวังกรด ประกอบอาชีพรับราชการเป็นอัยการ และเป็นผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนให้ชาวบ้านสร้างตลาด โดยสมัยก่อนหลวงประเทืองคดีและครอบครัวอาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน แต่เนื่องจากปัญหาน้ำเซาะตลิ่ง จึงย้ายเข้ามาปลูกในพื้นที่ปัจจุบัน และทำให้กลายเป็นสถานที่สำคัญของตลาดวังกรดอีกแห่งหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว

 ๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
09.00-17.00 น
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 9856 8945
๕.ช่องทางออนไลน์
shorturl.asia/3FZL8
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ย่านเก่าวังกรด จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ถนน เทศบาล 9 ตำบล บ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.ในอดีตเป็นย่านที่ได้มีความเติบโตทางการค้าเป็นอย่างมากเพราะอยู่กึ่งกลางระหว่างเส้นทางการเดินทางทางบกและทางน้ำ ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางของเมืองพิจิตรในอดีต สำหรับเชื้อสายของชาวบ้านในชุมชน จะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนที่ทำอาชีพค้าขาย โดยสืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษแต่แล้วความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดเส้นทางการค้าใหม่ ๆ ส่งผลให้ชุมชนในย่านซบเซาลดลงอย่างมาก และเกิดผลกระทบจนทำให้คนรุ่นใหม่ออกไปทำงานนอกพื้นที่ บ้านเรือนและร้านค้ากลายเป็นบ้านร้างร้านค้าร้าง แต่ตัวอาคารยังคงอยู่มาในยุคปัจจุบัน ความเก่าแก่ของอาคารบ้านเรือนในชุมชน ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จนทำให้ย่านเก่าวังกรดกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง และนอกจากนั้น ย่านเก่าวังกรด ยังมีศาลเจ้าพ่อวังกลม ที่เป็นสถานที่สำคัญของชุมชน บ้านหลวงประเทืองคดี ที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และโรงหนังมิตรบรรเทิง สถานีรถไฟวังกรด เป็นต้น

๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา ๐6:๐๐–๑8:๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
06 5622 1811
๕.ช่องทางออนไลน์
shorturl.asia/7QzTX
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ต.ดงกลาง จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ตำบล ดงกลาง อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา บ้านดงป่าคำเหนือ ต.ดงกลาง โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมให้ทุกชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยประชาชนในชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาชุมชนบ้านดงป่าคำเหนือ ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน และหาปลา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ไปช้องเกี่ยวกับอบายมุข และสิ่งเสพติด ซึ่งจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ ต้องประสบปัญหาต่างๆ มากมาย การพัฒนาดังกล่าว ทำให้ชุมชนบ้านดงป่าคำเหนือ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสภาพแวดล้อมในชุมชน สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวเพื่อเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ทุกฤดูกาล ตลอดปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6676 9674
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ดงกลาง จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ต.ดงกลาง อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร
๑.ชื่อผู้ประกอบการ นางอาภาพรรณ ขวัญรุ่งวิทยา
๒.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๒.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน
สร้างสรรค์ผลงานจากดินไทยทำพานดอกบัว และดอกไม้นานาชนิด เน้นความสมจริงให้มากที่สุด และมีการพัฒนาประดิษฐ์ในรูปแบบสำหรับวางบูชาพระสารีริกธาตุ และ ยังพัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้าสำหรับการประดับในที่อยู่อาศัย
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6679 0493

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ฟ้าหลวง เรสสิเดนท์

ที่ตั้ง 93 ม.8 ต.ท่าหลวง, พิจิตร
๑.ประเภทของที่พัก – โรงแรม
๒.จำนวนห้อง 38 ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
Standard ๕๐๐ บาท/ Deluxe 590 บาท /Family Room 950 บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
โรงแรมนี้มีบริการซักแห้ง, ฝ่ายต้อนรับ 24 ชั่วโมง และที่จอดรถฟรี มี บริการ Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะฟรี มีWi-Fi ฟรี, ระเบียง และทีวีจอแบนพร้อมช่องเคเบิล สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่มีให้บริการแก่ผู้เข้าพัก ได้แก่ ตู้เย็น, เรนชาวเวอร์ และน้ำดื่มบรรจุขวดฟรี
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5661 1780

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดนครชุม จ. พิจิตร

ที่ตั้ง 146 หมู่ 8 ถนนพิจิตร-สามง่าม-วังจิก เมืองเก่า เมืองพิจิตร พิจิตร
๑.วัดนครชุม เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดพิจิตรมาอย่างยาวนาน เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี มีอายุราว 800 ปี เอกลักษณ์ที่สำคัญของวัดนครชุม ทางด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าที่ดูขรึมขลัง อุโบสถหลังนี้ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง ปัจจุบันใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยโบราณ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ซึ่งเคยใช้เป็นพระประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสมัยก่อน ซึ่งเป็นพิธีสำคัญตามโบราณราชประเพณี วัดนครชุมนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดใหญ่ เป็นวัดเดียวในตัวเมืองพิจิตรเก่าที่ไม่ได้เป็นวัดร้าง 
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 17.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5665 5015
๕.ช่องทางออนไลน์ shorturl.asia/doaWH
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร

ที่ตั้ง ตำบล โพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง พิจิตร

๑.เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๒ โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงชาติภูมิของพระองค์ วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตร (แม่น้ำน่านเก่า) ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร-วังจิก ก่อนถึงวังจิก ๒ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่อำเภอโพธิ์ประทับช้างก่อนถึงอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงหน้าวัดโพธิ์ประทับช้าง หน้าวัดมีต้นตะเคียน ซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุกว่า ๒๖๐ ปี วัดโดยรอบได้ ๗ เมตร ๖๐ เซนติเมตร หรือ ๗ คนโอบ วัดนี้มีพระวิหาร สูงใหญ่ มีกำแพงศิลปะแบบอยุธยาล้อมรอบ ๒ ชั้น ปัจจุบันได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชม นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้างยังได้สร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือไว้เป็นที่ระลึก ณ ข้างที่ว่าการอำเภออีกด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ทุกวัน เวลา ๐6:๐๐–๑8:๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ – ๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๗๑๙๘ ๘๖๙๙ หรือ ๐ ๕๖๐๓ ๙๘๖๙
๕.ช่องทางออนไลน์
www.bandonghochiminhmuseum.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม