บ้านกนกมณี ขนมเทียนเสวย จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง 165/2 ถนนบรมอาสน์ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
บ้านกนกมณี ขนมเทียนเสวย เป็นร้านของฝากของที่ระลึกที่โดดเด่นของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่นำตัวบ้านไทยทรงปั้นหยา เรือนเดิมของพระยาอัธยาศัยวิสุทธิ์ ( โชติ กนกมณี ) อดีตเจ้าเมืองอุตรดิตถ์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ชั้นบน และทำชั้นล่างเป็นร้านค้าจำหน่ายของฝากของที่ระลึกของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีของฝากที่ขึ้นชื่อของตนเองคือ ขนมเทียนเสวย สูตรชิดดวง กนกมณี ที่นักท่องเที่ยวต้องได้ลิ้มลอง จนกลายเป็นอาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาดของจังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี พ.ศ.2564 และเหมาะสำหรับเป็นอาหารว่าง และซื้อเป็นของฝากของจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เป็นอย่างดี
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง)
ประเภทของกิน ขนมไทย
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เวลา 07.00 น. – เวลา 20.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ ๐ ๕๕๘๓ ๒๘๔๕
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/baankanakamani

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง ๘๕๙ ถนนอินใจมี ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติ ของเมืองลับแล มีถ้ำเมืองลับแล ภายในมีวิถีชีวิตของชุมชนเมือง ลับแล และสวนสมุนไพร มีตลาดวันวาน อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT และ CCPOT มีจุดเช็ดอิน
ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล มีศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช กระทรวงวัฒนธรรม อยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ซึ่งเป็นเรือนไม้ที่จัดแสดงนิทรรศการพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๙ และประวัติของพระศรีพนมมาศ และบุคคลสำคัญของอำเภอลับแล ตลอดจนขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแล ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม งานประชาสัมพันธ์เทศบาลศรีพนมมาศ เมืองลับแล
เบอร์โทรศัพท์ 0 5543 1076
ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนเมืองลับแล
น.ส.สุขุมาภรณ์ น้อยศรี เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๓๙๕๖ ๑๙๗๔
๕.ช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/PRsriphanommas
Facebook : งานประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ – เมืองลับแล
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

จังหวัดอุตรดิตถ์

เฮือนข้าวพันผักริมคลอง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง 631 ถนนศรีวิจารณ์, ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ข้าวพันผัก เป็นอาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาดของอำเภอลับแล ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์ แป้งคล้ายกับข้าวเกรียบปากหม้อ+ก๋วยเตียวหลอด เพียงแต่ใส่ด้านในจะเป็นผัก /บะหมี่/วุ้นเส้น แล้วแต่สั่ง ถ้ามาถึงลับแล ไม่ได้ทาน ถือว่ายังไม่ถึงอาหารพื้นเมืองลับแล การรับประทานมีน้ำจิ้มให้เลือกแล้วแต่ชอบใจ น้ำจิ้มสุกี้/ซอสศรีราชา หรือจิ้มแจ่ว เลือกตามความชอบใจ ไข่ม้วน
ร้านอาหารพื้นบ้าน มีอาหารที่โดดเด่น คือ “ข้าวพันผัก” เป็นอาหารพื้นถิ่นของกินต้องห้ามพลาดที่มีชื่อเสียงของเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการถนอมอาหารที่มีมาอย่างช้านาน และเป็นที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย แต่เดิมนั้นข้าวพันผักใช้ข้าวจ้าวหมักกับน้ำสุกจนเป็นแป้งหมัก ข้าวพันผัก เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของแป้งกับผักต่างๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักบุ้ง แครอท เห็ดเข็มทอง ถั่วงอก นำมาอบให้สุกด้วยไอน้ำและรับประทานกับน้ำจิ้ม ปัจจุบัน มีการดัดแปลงเมนูข้าวพันผักให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยการใส่ไข่ไก่ วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นบะหมี่ลงไปด้วย ทำให้เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ข้าวพันผัก
2.2 ข้าวพันม้วน
2.3 ข้าวพันไม้
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เวลา 10.00 น. – เวลา 13.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 09 3532 3961
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/huenkhawpen/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 53210
 ๑. สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็น ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดเก่าที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ สิ่งที่น่าเข้าไปเยี่ยมชม ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์ เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 ฟุต ยาว 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่า พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธบารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ไฟป่าไหม้มณฑปและวิหารเหลือแต่แท่นศิลาแลง รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ทำจากไม้สักนำมาแกะสลัก เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน ภาพวาดเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของราชวงศ์จักรี ที่ประดับภายในพระวิหาร ส่วนใหญ่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อยู่ในศาลาการเปรียญเก่าตกแต่งแบบล้านนา ที่แห่งนี้ก่อตั้งโดยนายเฉลิมศิลป์ ชยปาโล โดยด้านหน้าประดับประดาด้วยไม้ดอกและสวนสมุนไพร สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ และเรือพายโบราณ ชั้นบนคุณจะได้ชื่นชมเรื่องราวชีวิตชาววังและชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็กและก่อสร้าง เครื่องมือปรุงยาสมุนไพรแผนโบราณ เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์หลวง ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปแกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ เปิดให้เข้าชมฟรี ทุกวัน งานน่าเที่ยว งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จัดขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 3 ของทุกปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 07.00 น. – เวลา 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 0 5545 3527
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศิลปะการแสดงกลองยาวนกขมิ้น

ที่ตั้ง อาคารอเนกประสงค์บ้านทุ่งยั้งเหนือ หมู่ 1 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
กลองยาวนกขมิ้น
๒.ชื่อผู้ประกอบการ
นางกลอย ลาล่วง
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ กลองยาวนกขมิ้น
กลองยาวนกขมิ้น ได้รับการสืบทอดทายาทรุ่นที่ ๓ มาจาก นายสวน สังข์งิ้ว ผู้ก่อตั้งวงกลองยาวนกขมิ้นรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ทั้งนี้ยังคงรักษารูปแบบการแสดงแบบดั้งเดิมไว้มากที่สุด มีการต่อตัว ตีลังกา แสดงลีลาระหว่างการตีกลองยาว
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา ๑0.00 น. – เวลา 1๖.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 08 5051 3040
๖.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/profile.php?id=100022794150597

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้การทำข้าวเกรียบว่าว จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ 1 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์
ข้าวเกรียบว่าว
๒. ชื่อผู้ประกอบการ
นางวรรณา ภู่กลิ่น
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้าวเกรียบว่าว
ข้าวเกรียบว่าว เป็นขนมทานเล่นโบราณที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก น้ำตาลปีบ ไข่แดงต้มสุก น้ำมันพืช โขลกและรีดเป็นวงกลม ผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนนำมาปิ้งไฟ พลิกไปมาด้วยไม้จี จนพองขยายเป็นแผ่นใหญ่ สุกกรอบ หวานมัน ข้าวเกรียบว่าวมักพบได้ตามงานวัด งานบุญต่างๆ รวมทั้งจากพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 09.00 น. – เวลา 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 08 5051 3040
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook น้ำอ้อยข้าวเกรียบว่าว บ้านทั่งยั้งเหนือ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
 วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย คือ สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(พระยาลิไทย) ชาวบ้านทั่วไปเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดบรมธาตุ แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า วัดทุ่งยั้ง ภายในวัดพระบรมทุ่งยั้งมีโบราณสถาน พระพุทธรูปองค์ใหญ่และองค์พระธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ ซึ่งจัดให้มีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเพื่อความเป็นสิริมงคลและน้อมบูชา พระพุทธเจ้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ถนนพาดสนามบิน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความความกล้าหาญ รักชาติ และความเสียสละของพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งในบริเวณพื้นที่เดียวกันยังมีพิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำมาจากเหล็กน้ำพี้ทั้งเล่ม ส่วนฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักลาย ทหารสมัยก่อนและพระมหากษัตริย์ จึงนิยมนำไปใช้เพื่อการศึกสงคราม รวมถึงพระยาพิชัยก็ใช้ดาบนี้ปราบศัตรูจนชนะมาหลายครั้ง พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัยดาบหัก เป็นสถานที่เก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก และแบบจำลองสนามรบ โมเดลวิถีชีวิตชาวอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณที่หาดูได้ยาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 0๘.00 น. – เวลา 1๗.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ไม่มี

๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ 0 5541 1977
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : https://www2.uttaradit.go.th/travel_activity/detail/7/data.html
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุ จังหวัดอุตรดิตถ์

ชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุ เป็นชุมชนที่มีความโดดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม เนื่องจากเป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ คูเมืองศิลาแลง และบ่อน้ำทิพย์ ทางด้านศาสนามีวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ที่ประดิษฐานอัฐิของพระพุทธเจ้าไว้ใต้ฐานองค์พระบรมธาตุ มีพระวิหารหลวงที่สวยงาม ภายในมีภาพเขียนโบราณตำนานเมืองทุ่งยั้ง ทางด้านวัฒนธรรม ชุมชนมีการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ คือ “กลองยาวนกขมิ้น” และมีอาหารพื้นถิ่นที่โดดเด่น คือ ข้าวเกรียบว่าว เป็นต้น

ชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุ มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทางสัญลักษณ์ ได้แก่ วัดพระบรมธาตุ, เวียงเจ้าเงาะ, สวนสาธารณะหนองพระแล, ตลาดสดทุ่งยั้ง, ตลาดวิถีชุมชนคนทุ่งยั้ง, โครงงานคุณธรรมโรงเรียนชุมชนวัดพระบรมธาตุ, ศูนย์การเรียนรู้อาชีพหมู่ ๒, งานประเพณีอัฐมีบูชา, งานประเพณีห่มผ้าพระบรมธาตุ, ศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวนกขมิ้น, อาหารพื้นถิ่นของกินพื้นบ้าน ข้าวเกรียบว่าว เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพระบรมธาตุ
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย คือ สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(พระยาลิไทย) ชาวบ้านทั่วไปเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดบรมธาตุ แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า วัดทุ่งยั้ง สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

เวียงเจ้าเงาะ
แหล่งโบราณคดีเวียงเจ้าเงาะ เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยสันนิษฐานว่าเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย สถานที่ตั้ง อยู่ฝั่งตรงข้ามถนนวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

สวนสาธารณะหนองพระแล
สวนสาธารณะหนองพระแล ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่นิยมมาพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย วิ่ง ปั่นจักรยาน กิจกรรมนันทนาการ รับประทานอาหารเย็น และให้อาหารปลา โดยมีเวลาทำการ 05.00 น. – 21.00 น.

ตลาดสดเมือง ทุ่งยั้ง
ตลาดสดทุ่งยั้ง เป็นตลาดเช้า – เย็น ที่จำหน่ายของกินพื้นบ้าน ผักพื้นบ้าน และขนมไทยโบราณ เป็นตลาดเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองทุ่งยั้งมาแต่อดีต และเป็นตลาดที่นิยมขายส่งสินค้าให้กับพ่อค้า-แม่ค้านำไปจำหน่าย ต่อไป

ตลาดวิถีชุมชน คนทุ่งยั้ง
ตลาดวิถีชุมชน คนทุ่งยั้ง บวร On Tour ของชุมชนคุณธรรมวัดพระบรมธาตุตั้งอยู่ที่บริเวณโดยรอบวิหารวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นตลาดที่เกิดจากการรวมตัวของชุมชนเพื่อนำสินค้าทางวัฒนธรรมในพื้นถิ่นออกมาจำหน่าย สาธิตให้แก่นักท่องเที่ยว เปิดให้บริการทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 20.00 น.

โครงงานคุณธรรมโรงเรียนชุมชนวัดพระบรมธาตุ
โครงงานคุณธรรมโรงเรียนชุมชนวัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนชุมชนวัดพระบรมธาตุ หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยน้อมนำวิถีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มาปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนรู้ของเยาวชนนักเรียนในการใช้ชีวิต วัฒนธรรม และเรื่องของคุณธรรม ศีลธรรม 

ศูนย์เรียนรู้อาชีพ หมู่ที่ 2
ศูนย์เรียนรู้อาชีพ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ให้แก่สตรี และครอบครัว มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว ลดปัญหาการว่างงาน ความยากจน เป็นการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนสาธารณะ หนองพระแล
สวนสาธารณะหนองพระแล ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่นิยมมาพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย วิ่ง ปั่นจักรยาน กิจกรรมนันทนาการ รับประทานอาหารเย็น และให้อาหารปลา เวลาทำการ 05.00 น. – 21.00 น.

เวียงเจ้าเงาะ
แหล่งโบราณคดีเวียงเจ้าเงาะ เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยสันนิษฐานว่าเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย สถานที่ตั้ง อยู่ฝั่งตรงข้ามถนนวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์มีเส้นทางสำรวจธรรมชาติ และปลูกต้นทานตะวัน และปอเทืองไว้รอบๆทางเดินธรรมชาติ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้อาชีพ หมู่ที่ 2
ศูนย์เรียนรู้อาชีพ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ให้แก่สตรี และครอบครัว มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว ลดปัญหาการว่างงาน ความยากจน เป็นการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ตักบาตรพระหน้าวิหารวัดพระบรมธาตุ
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จับจ่ายใช้สอยซื้ออาหารคาวหวานที่ตลาดสดเมืองทุ่งยั้ง และนำมาใส่บาตรให้กับพระสงฆ์ที่บริเวณด้านหน้าวิหารวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

เรียนรู้การทำข้าวเกรียบว่าว
กลุ่มทำข้าวเกรียบว่าวบ้านทุ่งยั้ง เรียนรู้การทำข้าวเกรียบว่าว การนึ่ง การตำ การไล้
การตาก การเก็บ และการปิ้งข้าวเกรียบว่าว

เรียนรู้การแสดงศิลปวัฒนธรรมกลองยาวนกขมิ้นและรำวงพื้นบ้าน
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เรียนรู้และสัมผัสการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านการรำกลองยาวนกขมิ้น ในช่วงเวลาที่จัดงานตลาดวิถีชุมชนคนทุ่งยั้ง และสัมผัสอาหารพื้นถิ่นที่นำมาจำหน่าย
สาธิต และร่วมในการแสดงกับคณะกลองยาวนกขมิ้นอย่างสนุกสนาน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหาดสองแคว จังหวัดอุตรดิตถ์

“บ้านหาดสองแคว” เป็นชุมชนลาวเมืองเวียงจันทน์ที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 “บ้านหาดสองแคว”ตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นทางออกของลำน้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกันคือ แม่น้ำน่าน กับคลองตรอน มีลักษณะเป็นลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกันจึงเรียกกันว่า “สองแคว” 

มีประเพณี และวิถีชีวิตด้านการแต่งกาย ภาษา และอาหาร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของคนลาวเวียงจันทร์ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย คนในชุมชนมีความสามัคคี โอบอ้อมอารีย์ มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน มีแม่น้ำน่านซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่านหมู่บ้าน ซึ่งแสดงถึงความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
เป็นอาคารกึ่งปูนกึ่งไม้สองชั้น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดหาดสองแคว เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ ของคนในชุมชน

อุโบสถ์เก่าวัดคลึงคราช ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
โบสถ์เก่าแก่อายุ 109 ปี มีศิลปะแบบลาวเวียงจันทร์ หลวงพระบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร สูง 10 เมตร โบสถ์เป็นแบบมหาอุด มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีหน้าต่าง 2 ด้าน รวม 6 ช่อง มีสิงห์คู่ตั้งอยู่ด้านหน้าบันไดประตูทางเข้า หลังคามุงด้วยสังกะสี

ถนนสายวัฒนธรรมชุมชนลาวเวียง
เป็นการจำลองตลาดย้อนยุคของชาวลาวเวียง โดยกำหนดให้ร้านค้าทุกร้านแต่งกายด้วย ผ้าพื้นเมืองเสื้อสีขาว นุ่งผ้าซิ่น สีต่าง ๆ ใส่งอบ ใช้ร่มผ้าสีขาว และแคร่ไม้ไผ่ ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวลาวเวียง ใช้วัสดุทางธรรมชาติเป็นภาชนะใส่อาหารแทนกล่องโฟม สินค้าที่จำหน่ายภายในตลาด เป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์และอาหารพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม งานประดิษฐ์ งานแฮนด์เมด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถนนปั่นจักรยานริมน้ำน่าน
ตั้งอยู่บริเวณท่าน้ำหลังวัด  หาดสองแคว เหมาะสำหรับ  ให้นักท่องเที่ยวได้ทำกิจกรรม เช่น เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยานออกกำลังกายและชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น้ำน่านยามเช้าและเย็น

สะพานชมวิวริมน้ำน่าน
เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์บรรยากาศชุมชนหาดสองแควริมฝั่งแม่น้ำน่าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้ สวนไผ่ซางหม่น
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๒ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีนายพงษ์เทพ ไชยอ่อน เป็นเจ้าของและ      ผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้การขยายพันธุ์และจำหน่ายไผ่ซางหม่น พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ดี

สวนอินทผาลัม “บ้านสวนดวงดัน”
ตั้งอยู่ที่ บ้านสวนดวงดัน ต.หาดสองแคว อ.ตรอน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ตักบาตรหาบจังหัน
ชุมชนบ้านหาดสองแคว หมู่ที่ 1-๗ การหาบอาหารคาว-หวาน ไปถวายพระสงฆ์ที่วัดในตอนเช้า กล่าวคือขณะที่พระสงฆ์ออกบิณฑบาตตอนเช้าชาวบ้านจะตักบาตรด้วยข้าวสวยอย่างเดียว ส่วนอาหารคาว-หวาน จะมีนางหาบ/นายหาบ แต่งตัวชุดลาวเวียงวันละ 5-10 คน ทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนหาบอาหารด้วยสาแหรกเดินตามพระเข้าวัด ซึ่งอาหารคาว-หวานที่หาบไป จะได้จากชาวบ้านนำอาหารไปวางไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลัง โดยนางหาบ/ นายหาบ จะเดินเก็บอาหารตามแป้นเสาหน้าบ้านแต่ละหลังไปตามเส้นทางไปจนถึงวัด จากนั้นจะนำอาหารที่ได้ถวายพระที่วัดในตอนเช้า ถือเป็นการเชื่อมบุญมาสู่คนในชุมชน หลังจากถวายพระแล้ว นางหาบ/นายหาบ จะนำภาชนะใส่อาหารกลับไปวางคืนไว้ที่แป้นเสาหน้าบ้านของแต่ละหลังตามเดิม ซึ่งจะปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ยกเว้นวันพระหรือสำคัญทางศาสนาชาวบ้านจะไปตักบาตรที่วัด

ขอบคุณพืชพันธุ์ธัญญาหารและสายน้ำน่าน
วัดหาดสองแคว หมู่ที่ ๑เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญู ต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร ต่อแม่โพสพ แม่คงคา อีกทั้งเป็นการขอบคุณที่นำความอุดมสมบูรณ์มายังคนในชุมชนตำบลหาดสองแคว และอำเภอตรอน รวมถึงเป็นการขอขมาที่ได้ล่วงเกิน ต่อผู้มีพระคุณซึ่งในชุมชนได้มีการสืบสานประเพณีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จนถึงปัจจุบัน

ไหลแพไฟ เฉลิมพระเกียรติ
วัดหาดสองแคว หมู่ที่ ๑ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 ในอดีตการไหลแพไฟจะเริ่ม ทำพิธีปล่อยแพที่ท่าน้ำวัดวังแดง หมู่ 3 ตำบลวังแดง ล่องตามลำน้ำน่านถึงท่าน้ำวัดสองแคว ตำบลหาดสองแคว ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ระหว่างทางจะมีประชาชนเที่ยวชมแพไฟอยู่ตาม จุดชมแพตลอดสองฝั่งแม่น้ำ และจะมีพิธีถวายพระพรชัยมงคล ตีกลองย่ำฆ้องกลอง จุดพลุ ประดับไฟริมถนนและ ริมแม่น้ำ แต่ในปัจจุบัน ได้จัดให้มีขึ้นทั้งหมด 3 วัน คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-5 ธันวาคม ของทุกปี 

เรียนรู้การทำสาแหรกจิ๋ว และไม้กวาดทางมะพร้าว
ศูนย์เรียนรู้การทำสาแหรกจิ๋ว และไม้กวาดทางมะพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ ๗๒ หมู่ที่ ๒ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มีนายสมาน ประดับเพ็ชร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจักสานไม้ไผ่ หวาย และไม้กวาดทางมะพร้าว

เรียนรู้ทำ ผ้ามัดย้อม
ศูนย์เรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ตั้งอยู่เลขที่ 81/2 หมู่ที่ ๓ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม ตัด เย็บ ย้อม ตาก และสามารถนำกลับบ้านได้เลยโดยมีนางมานิตถา เพ็ชรศิลา เป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้ 

เรียนรู้ทำผ้าด้นมือ
ศูนย์เรียนรู้การทำผ้าด้นมือและการปกกระเป๋าผ้า ๙๗ หมู่ที่ ๓ ต.หาดสองแคว อ.ตรอน
จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การปักผ้าลวดลายเป็นรูปหาบจังหันลงบนผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ารูปแบบต่าง ๆ โดยมี นางวันเพ็ญ กลมดวงซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นเจ้าของและถ่ายทอดความรู้

เรียนรู้ทำอาหารพื้นบ้าน
ศูนย์เรียนรู้ทำอาหารพื้นบ้าน 16/5 หมู่ที่ 3 ต.หาดสองแคว อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำอาหารพื้นบ้านคาว-หวาน   ของชุมชนหาดสองแควที่ได้รับการ  สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพ มาจากลาวเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีนางอรุณี นันทโชติ และนางบุญส่วน เรืองเดช
เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้

เรียนรู้แปรรูปกล้วยฉาบ เผือกฉาบ มันฉาบ
ศูนย์เรียนรู้การแปรรูป กล้วยฉาบ เผือกฉาบ มันฉาบ ตั้งอยู่เลขที่ 16 หมู่ที่ 2 ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ด้าน การแปรรูปอาหาร และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร  แปรรูป ได้แก่ กล้วยฉาบ  เผือกฉาบ มันฉาบ ฯลฯ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม