วัดถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี

วัดถ้ำรงค์ มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี คือหลวงพ่อเทพ นอกจากนี้ ยัง มีเขาถ้ำรงค์ อยู่บริเวณตรงข้ามกับวัด ซึ่งมีถ้ำหินงอกหินย้อย และมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติ กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สร้างสมัยทวารวดี ประดิษฐ์อยู่ภายในถ้ำ ซึ่งมีความศักดิสิทธิ์ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน และเรียกขานกันว่าหลวงพ่อดำ บริเวณใกล้ๆ ถ้ำด้านข้างยังมีศาลาประดิษฐานหลวงพ่อขาว
นักท่องเที่ยวเมื่อเข้ามีเที่ยวในชุมชนบ้านถ้ำรงค์ จะได้กราบสักการะขอพรหลวงพ่อเทพ หลวงพ่อดำ หลวงพ่อขาว ซึ่งนับว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ก่อนที่จะเข้าไปสัมผัสเรียนรู้กิจกรรมอื่นๆ ในชุมชนต่อไป

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ก๋วยเตี่ยวเนื้อเจ๊กอ้า จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง186 ถนนดำเนินเกษม ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
๑.เจ๊กอ้า คุณพิชัย วิจิตรจันทร์กุล เป็นคนจีนรุ่นแรก ๆ ที่มาบุกเบิก ขายก๋วยเตี๋ยวที่เมืองเพชรตั้งแต่สมัยรุ่นเตี่ยของเจ็กอ้า สูตรที่ใช้ ดัดแปลงมาจากมาจากก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่เมืองจีนที่มักใส่เต้าหู้ยี้ในก๋วยเตี๋ยว โดยเจ๊กอ้า ใช้ซอสพริกศรีราชาแทนเต้าหู้ยี้ จึงทำให้เกิดสูตรก๋วยเตี๋ยวเนื้อแบบแปลก ๆ อร่อยแตกต่างไปจาก ที่เคยกิน เจ๊กอ้า ขายมา นานประมาณ ๑๐๐ ปี ปัจจุบันท่านถึงแก่กรรมแล้ว แต่มีบุตรชายคือ คุณสุรชัย วิจิตรจันทร์กุล และบุตรสาวคุณพัชรินทร์ วิจิตรจันทร์กุล เป็นผู้สืบทอดกิจการ และรักษามาตรฐาน คุณภาพ และความอร่อยไว้เหมือนสมัยที่เจ็กอ้ายังมีชีวิตอยู่ เป็นก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำแดงที่ไม่ควรพลาดชิมอีกร้านหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
– ก๋วยเตี่ยวเนื้อเส้นเล็ก เส้นใหญ่ บะหมี่ และวุ้นเส้น เกาเหลา ข้าวเปล่า
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน เวลา 09.00 -17.00 น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทรง 0 3241 1276
๕.ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
๑.อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจากยูเนสโกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทั้งยังมีพื้นที่มากที่สุดของประเทศ คือมีเนื้อที่ประมาณ 2,915 ตารางกิโลเมตร ที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี เป็นป่าดิบชื้น ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 น.ปกติดปิดช่วงสิงหาคม – พฤศจิกายน
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ปลายฝน ต้นหนาว ประมาณเดือน
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 40 บาท
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ คือ ทางเดินศึกษาธรรมชาติ -เที่ยวน้ำตก – เที่ยวถ้ำ–ชมพรรณไม้ ดูนก/ส่องสัตว์ – ดูดาว -ล่องเรือ – ล่องแก่ง– พายเรือ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 0 3277 2311
๗.ช่องทางออนไลน์ k.krachan_np@hotmail.com
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนบ้านดงห้วยหลวง จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
๑.ชุมชนบ้านดงห้วยหลวง เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอบ้านลาดที่มีภูมิทัศน์ชนบทที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบแห่งแรกของจังหวัดเพชรบุรี ได้รับรางวัลจากระทรวงวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2563 ชาวบ้านดงห้วยหลวง มีวัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่มีอาชีพในการทำนา ทำตาล และยังคงสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตมาตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน โดยมีวัฒนธรรมพื้นบ้านและมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เช่น ๑.ประเพณีสลากภัต ๒. การทำขวัญข้าว ๓.การละเล่นวัวลาน ๔.การละเล่นวัวเทียมเกวียน (ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม) ๕. เพลงพวงมาลัย การละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่ ปัจจุบันกำลังจะสูญหายสิ่งที่เป็นเสน่ห์ของชุมชนคือ ดงตาลที่มีต้นตาลอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งทำน้ำตาลโตนดที่มีจำนวนมากที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เที่ยวได้ทุกวัน แต่ที่สมบูรณ์ที่สุดคือในช่วงมกราคม – มีนาคม เพราะเป็นช่วงทำตาลโตนด
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
แล้วแต่โปรแกรมที่ชุมชนกำหนด
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นายยุทธนา ประสาตร์ กำนันตำบลบ้านทาน ประธานท่องเที่ยวชุมชน ฯ โทร 09 5592 7054
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง ตำบลคลองกระแชงและตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
๑.ชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี เป็นชุมชนที่ได้รับรางวัลชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ระดับยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๑ ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ชุมชนนี้ประกอบไปด้วย ๓ ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ได้แก่ ชุมชนคลองกระแชง ชุมชนซอยตลาดริมน้ำ และชุมชนวัดเกาะ ในอดีตชุมชนนี้เป็นย่านการค้าพาณิชย์ จึงเป็นย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรม เช่น แหล่งเรียนรู้ บ้านมนัส จรรยงค์ นักเขียนชื่อดังของประเทศไทย ศูนย์การเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดพลับพลาชัย อาคาร สถาปัตยกรรมบ้านเรือนเก่า ๆ แหล่งทำทอง ศาลเจ้า เรื่องราวเล่าขาน และ วัตถุโบราณที่ค้นพบในแม่น้ำเพชร แหล่งอาหารที่ขึ้นชื่อและรสชาติอร่อย เช่น ก๋วยเตี่ยวหมูน้ำแดง ข้าวแช่ ก๋วยจั๊บ ร้านขนมหวาน ร้านเก่า 100 ปี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี Street Art ที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน (หากเป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้จะปิดเวลา 17.00 น.) หากเป็นตลาดช่วงกลางคืน ปิดประมาณ 22.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
แล้วแต่โปรแกรมที่ชุมชนกำหนด
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นายปภังกรณ์ จรรยงค์ ประธานท่องเที่ยวชุมชนฯ โทร. ๐๖ ๒๔๖๓ ๕๔๖๔ ,๐๖ ๑๔๐๘ ๑๘๑๒
๕.ช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/muangpetchcommunity/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง ถนนพงษ์สุริยา ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
๑.วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศิลปกรรมภายในวัดมีความสำคัญ และสวยงาม ได้แก่ พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา มีภาพทวารบาล จิตรกรรมภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย มีรูปหล่อ พระสังฆราชแตงโม นอกจากนี้หน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต , ศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง พระเจ้าเสือ รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโมโดยมีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ และที่บานประตู มีรอยแผลบนประตู เรียกรอยพม่าฟัน หอเก็บพระไตรปิฏก เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม้ 3 เสา ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เป็นต้น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 3241 2714
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง 1281 ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2466 รูปทรงสถาปัตยกรรม เป็นแบบไทยประยุกต์ (เรือนไทยผสมยุโรป) สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เป็นอาคารเปิดโล่ง ๒ ชั้น ใต้ถุนสูง โดยแบ่งเป็นหมู่พระที่นั่งฯ ๓ องค์ มีอาคารประกอบรวม ๑๖ หลัง เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทางเดินคลุมหลังคา ประกอบด้วย ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ ใช้เป็นสโมสรของข้าราชบริพารและข้าราชการ รัชกาลที่ ๖ ทรงใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ รวมทั้งศาสนพิธี หมู่พระที่นั่ง สมุทรพิมาน เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ๖ และเป็นส่วนของข้าราชบริพารฝ่ายชาย หรือฝ่ายหน้า หมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี และเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.๓0-16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
30 บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 032-508 443-5
โทรสาร : 032-508 039
๕.ช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/mrigadayavanofficial
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี หรือ เขาวัง จ.เพชรบุรี

ที่ตั้ง เลขที่ 97 ถนน คีรีรัถยา ตำบล คลองกระแซง อำเภอเมืองเพชรบุรี เพชรบุรี 76000
๑.พระนครคีรี หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครีคีรี เป็นสถานทีท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขา ๓ ยอด สูง 92 เมตร สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างสำหรับเสด็จแปรพระราชฐาน ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ภายในบริเวณ ประกอบไปด้วย พระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆมากมาย โดยมีสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิกผสมสถาปัตยกรรมจีน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทย ๒๐ บาท
ต่างชาติ ๑๕๐ บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร.0 3242 5600
๕.ช่องทางออนไลน์
kaowang_petch@hotmail.com
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี

มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานมาจากในอดีต วันหนึ่งมีเจ้าเมืองที่ไม่ปรากฎพระนามเสด็จมาระหว่างที่กำลังชมภูมิประเทศ มีหญิงชาวบ้านเห็นพระองค์เหน็ดเหนื่อย จึงเข้ามาถวายน้ำดื่มแก้กระหายแต่ในขันน้ำมีหญ้าคาลอยอยู่เจ้าเมืองทรงกริ้วและเรียกให้หญิงชาวบ้านมาเข้าเฝ้า หญิงชาวบ้านอธิบายว่าต้องใส่หญ้าคาลงไปเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าเมืองรับเสวยน้ำในขณะกำลังเหนื่อย เพราะอาจทำให้จุกเสียดและประชวร เจ้าเมืองได้ฟังก็ซาบซึ้ง จึงพระราชทานแหวนให้หญิงชาวบ้านเป็นการตอบแทน เรียกว่าธรรมรงค์ ต่อมาชาวบ้านได้เรียกชุมชนนี้ว่า บ้านธรรมรงค์ และเป็นบ้านถ้ำรงค์ มาจนปัจจุบัน

ชุมชนถ้ำรงค์เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่คนในชุมชนยังคงดำเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีความพร้อมในทุกด้าน ๆ ด้านศาสนา ด้านชุมชน ด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณี จึงทำให้การบริการจัดการต่าง ๆ เป็นไปในทางที่ดี เพราะคนในชุมชนทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการดำเนินงานทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จมีการรวมกลุ่ม    
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดถ้ำรงค์
เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาประวัติที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก ไม่มีใครรู้ว่าวัดนี้ก่อสร้างแต่เมื่อใดแม้แต่เจ้าอาวาสคนแรกมาพบ คือ หลวงพ่อผ่าน ได้ทำการสร้างกุฏิสงฆ์ใหม่ซึ่งย้ายจากที่เดิมมา สร้างโรงเรียน นามว่า โรงเรียนวัดถ้ำรงค์ (ผ่านผดุง) หลังจากนั้นท่านได้มรณภาพ ต่อมาไม่นานก็ได้แต่งตั้ง พระภิกษุเทพ ฉายา สิริธโร เป็นเจ้าอาวาส ท่านสามารถดูฤกษ์ งามยามดี ปลูกบ้าน เจิมรถ เจิมบ้าน จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จนได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์เป็น พระครูบรรพตวิบูลกิจ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูสุนทรวัชรกิจ.ดร.
หลวงพ่อดำ
หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็นรูปหล่อสีดำทั้งองค์ หลวงพ่อดำมีอายุประมาณ ๗๐๐ ปีแล้ว บริเวณเท้าของหลวงพ่อดำมีโซ่ล่ามอยู่ มีตำนานเล่าว่าหลวงพ่อดำเป็นพระเจ้าชู้เวลาพลบค่ำ เมื่อสาวชาวบ้านเสร็จจากการทำไร่ทำนาต่างพากันเดินกลับบ้าน หลวงพ่อดำก็จะเข้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสี ชาวบ้านทนพฤติกรรมของท่านไม่ได้ จึงนำโซ่มาล่ามที่ขาไม่ให้ท่านออกไปไหน
หลวงพ่อขาว
หลวงพ่อขาว ประดิษฐานอยู่ในถ้ำคนละด้านกับเขาถ้ำรงค์ แต่ตอนหลังถ้ำของหลวงพ่อขาวพังทลายลง ชาวบ้านจึงอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาบูรณะซ่อมแซมใหม่ จึงนำมาประดิษฐานเคียงคู่กับหลวงพ่อดำ มีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อขาวน่าจะเป็นพระสงฆ์ที่มีตัวตนมาก่อน เป็นพระที่บวชเรียนมานานชาวบ้านเคารพนับถือจึงสร้างรูปหล่อขึ้นมา
ศาลาท่าชื่น (ศาลเจ้า)
ศาลพ่อปู่อินทนินท์เป็นศาลที่ตั้งอยู่ที่ใกล้ท่าชื่นลำห้วยคลองกะลาตาย  เป็นศาลที่ชาวบ้านภายในหมู่บ้านให้ความนับถือ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ลำห้วยถ้ำรงค์
เป็นลำห้วยที่ชาวบ้านใช้ในการทำการเกษตรซึ่งจะมีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี
เขาถ้ำรงค์
ภูเขาถ้ำรงค์ อยู่บริเวณตรงข้ามวัดถ้ำรงค์ จะมีปากถ้ำเล็กๆถ้ำหนึ่งเป็นทีประดิษฐานของหลวงพ่อดำ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน
นายสง่า สว่างจิต ภูมิปัญญาการทำเกษตรอินทรีย์การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงไก่ ปลูกผัก สวนครัว เลี้ยงกบ เพาะเชื้อเห็ด การทำเกษตรปลูกสวนกล้วย มะนาว ต่างๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำว่าว เรียนรู้การทำว่าวจุฬาแบบโบราณ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ว่าว ของที่ระลึก
ศูนย์เรียนรู้การทำว่าว นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมกับศูนย์โดยทำว่าวและสามารถนำกลับไปบ้านได้
การนั่งรถราง
หมู่ ๓  ร่วมกิจกรรมนั่งรถรางรอบหมู่บ้าน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านบางเกตุ จังหวัดเพชรบุรี

ติดทะเลอ่าวไทย มีชายหาดที่ยังคงความเป็นธรรมชาติที่สะอาด บรรยากาศดี มีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ หาดบางเกตุ มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก มีดงตาล เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน จำนวน 79 ไร่ มีต้นไม้ใหญ่อายุกว่า ๑๐๐ ปี ได้แก่ ต้นมะม่วงป่า ต้นเกด และพืชหายาก เช่น มะกล่ำตาหนู 

บ้านบางเกตุ มีชายหาดที่ยังคงความเป็นธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีผักบุ้งทะเล หอยทรายเป็นจำนวนมาก บรรยากาศชายหาดเงียบสงบ ปลอดภัย มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมมากางเต็นท์พักผ่อนหย่อนใจ ภายในชุมชนมีโรงแรม ที่พัก ไว้บริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ บ้านบางเกตุมีการปลูกน้อยหน่าใน ทุกครัวเรือน เป็นผลไม้พันธุ์พื้นเมืองขึ้นชื่อด้วยรสชาติหวานอร่อย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดโตนดหลวง
เป็นวัดที่ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลบางเก่า ที่ชาวบ้านบางเกตุนิยมไปเข้าวัดทำบุญ เป็นวัดโบราณสันนิษฐานว่า ก่อสร้างขึ้นราวปลายสมัยอยุธยา หรือต้นรัตนโกสินทร์ มีอุโบสถศิลปะสมัยอยุธยา ลักษณะคล้ายเรือสำเภา มีประตูเดียว มีหน้าต่าง 2 บาน และเรียกอุโบสถลักษณะนี้ว่า “อุโบสถมหาอุด”

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หาดบางเกตุ
ชายหาดที่ยังคงความเป็นธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีผักบุ้งทะเลหอยทรายเป็นจำนวนมาก บรรยากาศชายหาดเงียบสงบ ปลอดภัย  มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมมากางเต็นท์พักผ่อน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านบางเกตุ (บ้านสวน นกน้อย)
ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๓๖/๒ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภายในศูนย์ฯ มีการปลูกต้นน้อยหน่า ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติหวานอร่อย นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผลชนิดอื่นอีกด้วย
ดงตาล ๗๙ ไร่
เป็นพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านจำนวน ๗๙ ไร่ มีต้นตาล และต้นไม้ใหญ่อายุกว่า ๑๐๐ ปี มีพืชหายาก ได้แก่ ต้นมะกล่ำตาหนู ที่ชาวบ้านต้องการอนุรักษ์ไว้ให้รุ่นลูกหลานได้รู้จัก

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ล่องเรือศึกษาระบบนิเวศน์ ป่าชายเลน
คลองระบายน้ำบ้านบางเกตุบ้านบางเกตุมีเรือบริการนักท่องเที่ยวล่องเรือชมระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ใช้เวลาประมาณ ๑ ชม.
นอนกระโจมดูดาว
หาดบางเกตุ หาดบางเกตุ เป็นชายหาดที่สะอาด เงียบสงบนักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์มากางนอนบริเวณชายหาดเล่นน้ำทะเลขุดหอยทราย
ปั่นจักรยาน/ขึ้นรถราง ชมวิถีชีวิตชุมชน
บ้านบางเกตุ บ้านบางเกตุมีจักรยานและรถรางบริการนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมวิถีชีวิตชุมชน ใช้เวลาประมาณ ๒ ชม. ได้แก่ ชมต้นไม้อายุกว่า ๑๐๐ ปี /เก็บใบชะคราม /ชมการทำโมบายเปลือกหอย / ชมสวนน้อยหน่า ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
การละเล่นพื้นบ้าน “เพลงโนเน”
บ้านบางเกตุ การแสดงพื้นบ้าน “เพลงโนเน” จัดเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ประเภทเกี้ยวพาราสี มีบทร้องพร้อมบทเจรจาโต้ตอบกันเพลงโนเน ไม่ใช้เครื่องดนตรี การให้จังหวะใช้การปรบมือให้พร้อมเพรียงกัน นิยมเล่นในช่วงวันสงกรานต์ โดยจะรวมกันระหว่างพ่อเพลงและแม่เพลงร่วมร้องเพลงโนเนกันในหมู่บ้าน
ทำอาหารพื้นบ้าน 
บ้านบางเกตุ บ้านบางเกตุเป็นชุมชนที่อยู่ติดทะเลจึงมี ใบชะครามขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงนำใบชะครามมาประกอบอาหาร ได้แก่ แกงใบชะคราม / ข้าวผัดชะคราม /ทอดมันชะคราม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม