ชุมชนเกษมสำราญ ชุมชนแห่งนี้ เคยมีฐานะเป็น เมืองเกษมสีมา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๒๕ – ๒๔๕๒ ต่อมาเมืองเกษมสีมารวมกันกับเมืองอุตรูปลนิคม เรียกชื่อใหม่ว่า อำเภออุดรอุบล มีการปรับปรุงการปกครองจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๕ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระยาวิเศษสิงหนาท เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชกาลมณฑลอุบลราชธานีได้เปลี่ยนอำเภออุดรอุบลกลับคืนมาเป็นอำเภอเกษมสีมาอีกครั้งหนึ่ง
พิพิธภัณฑ์เกษมสีมา เป็นอัตลักษณ์และความโดดเด่นของชุมชน เนื่องจากมีชุมชนแห่งนี้แห่งเดียวที่ยังคงรักษาประเพณีการทำนกหัสดีลิงค์ และเป็นสถานที่เก็บรักษาวัตถุโบราณและเรื่องราวความเป็นมาของเมืองเกษมสีในอดีตมาหรือเมืองตระการพืชผลในปัจจุบัน
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑ์เกษมสีมา
ตั้งอยู่ภายในวัดเกษมสำราญ เป็นที่รวบรวมประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเกษมสีมา รวมทั้งโบราณวัตถุ ที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองเกษมสีมาในอดีต
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชเกษมสีมา
ตั้งอยู่ภายในวัดเกษมสำราญ และอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เกษมสีมา
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หนองขุหลุ เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และยังมีบรรยากาศที่ร่มรื่น เพราะเต็มไปด้วยไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิด
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สวนเกษตรนายสุทธิศักดิ์ สุขนนท์ เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรียกว่า ครัวชุมชน
กิจกรรมการท่องเที่ยว
ข้ามสะพานแขวน วัดเกษม เดินข้ามห้วยลำชี ริมห้วยข้างวัดเกษมสำราญ โดยมีสะพานแขวนทำด้วยไม้ กว้างประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร
ใส่บาตรถนนสายวัฒนธรรม บ้านเกษม ประชาชนร่วมกันใส่บาตรถนนสายวัฒนธรรมทุกวัน ๑๕ ค่ำ เดือนละ ๒ ครั้ง
ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม