อุทธยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

๑. อุทยานแห่งชาติภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ 380 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอ ชุมแพ เมื่อพูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าบริเวณที่ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบันนั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อนจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูกหัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน และยังมีหลักฐานว่าป่าภูเวียงเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ (หลืบเงิน) บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ อายุเกือบ 200 ล้านปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดทำการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
เวลา 08.00 น. – 16.30 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ตลอดทั้งปี)
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : 177 หมู่ที่ 5 บ้านนาน้ำซำ ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

๑. ศพก. อำเภอภูผาม่าน มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน และ เน้นการทำเกษตรแบบปลอดภัย โดยการใช้ใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี อีกทั้งยังมีภูมิประเทศที่สวยงาม
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลา 08.30 – 16.30 น ทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – ธันวาคม
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
09 5670 8467 , 08 0401 2111
๖. ช่องทางออนไลน์
เว็ปไซต์ : สำนักงานเกษตรอำเภอภูผาม่าน
phuphaman.khonkaen.doae.go.th
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณโนนเมือง จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : บ้านโนนเมือง หมู่ ๔ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

๑. เมืองโบราณโนนเมือง เล่าสืบต่อกันมาว่าที่เนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้นเป็นเมืองโบราณ ลักษณะเป็นเนินดินรูปไข่ มีพื้นที่ประมาณ ๑๗๐ ไร่ ล้อมรอบด้วยคูเมือง ๒ ชั้น เมื่อนักโบราณคดีเข้าไปสํารวจพบใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดีปักอยู่ในเมือง และพื้นที่โดยรอบมีเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเนินดิน เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดงชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบในชั้นดินสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ไม่พบหลักฐานของการฝังศพ สันนิษฐานว่าเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาสู่โนนเมือง ประเพณีการฝังศพจึงเปลี่ยนไป ยิ่งขุดชั้นดินลึกลงไปยิ่งพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เมืองโบราณแห่งนี้เคยมีชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ตอนปลาย) พบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว ๒,๕๐๐ ปี ผู้คนสมัยนี้มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ มีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมศพด้วย เช่น หม้อและภาชนะดินเผา มีทั้งลายเขียนสีลายขูดขีดและลายเชือกทาบ รวมทั้งกําไลสัมฤทธิ์ กําไลกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการค้นพบเครื่องมือเหล็กประเภทจอบ เคียวและกระดูกของสัตว์ต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด ทําให้ทราบว่าผู้คนที่นี่ดํารงชีวิตด้วยการทําเกษตรกรรม มีผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗) และทิ้งร้างไปในที่สุด ปัจจุบันเมืองโบราณโนนเมืองได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงร่องรอยโบราณคดีหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยมีอาคารศูนย์ข้อมูลที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณโนนเมือง
สิ่งที่น่าสนใจ : ใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดี ,โครงกระดูกมนุษย์ อายุราว ๒,๕๐๐ ปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๔๓๓๑ ๓๔๔๖
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๘.
๖ .สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้า / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น

อยู่ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัย ๓ ยุค ประกอบด้วย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษ ๑๑ – ๑๕ และสมัยวัฒนธรรมล้านช้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๔ ปัจจุบันมีครัวเรือน จำนวน ๒๗๐ ครัวเรือน ประชากร รวม ๑,๐๙๔ คน 

เป็นวัดเก่าแก่ที่มี “สิม” หรือ “อุโบสถ” อายุร้อยกว่าปีมาแล้ว ลักษณะแบบพื้นบ้านอีสานที่มีจิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) บอกเล่าเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของคนอีสาน และวรรณกรรมพื้นเมืองเรื่องสังข์สินไซที่งดงาม 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สิมวัดไชยศรี
“สิมอีสานโบราณ” ฐานส่วนล่างและผนังก่ออิฐฉาบปูน ช่วงบนเป็นไม้ หลังคาเป็นไม้มีปีกยื่น บานประตูและหน้าต่างแกะสลัก ฝาผนังทั้งด้านนอกและด้านในมีรูปแต้ม(ภาพเขียนสี) แสดงเรื่องราวพุทธประวัติ สังข์ศิลป์ชัย พระเวสสันดรชาดก ภาพเทพและสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนภาพนรกแปดขุม วาดเต็มพื้นที่ไม่เหลือที่ว่าง เน้นสัดส่วนเกินจริงใช้สีฝุ่นโทนสีฟ้า คราม และขาว ซึ่งได้จากวัสดุธรรมชาติ เป็นฝีมือช่างแต้มพื้นบ้านชื่อ นายทอง ทิพย์ชา ชาว อ.บรบือ จ.มหาสารคาม และช่างแต้มอื่น ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หินช้างสี
มีลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ มีรอยเว้าตรงกลางหิน จึงเป็นที่มาของหินช้างสี ตั้งอยู่ภายในอุทยานเเห่งชาติน้ำพอง อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และเทือกเขาภูเวียง 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนผัก คุณย่าละไมล์
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๗ ม.๑๑ บ.โนนรัง ต.สาวะถี แหล่งเรียนรู้และจำหน่ายผักสลัดสด ๆ หลากหลายชนิด รวมถึงเมนูสลัดโรล และน้ำสลัดเพื่อสุขภาพหลายรส

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมการแสดงหุ่นสินไซน้อยร้อยปีและหมอลำพันปี
วัดไชยศรี ชมการแสดงต้อนรับจากเสียงร้องหมอลำของเด็ก ๆ คณะหมอลำหุ่นสินไซน้อยร้อยปี และเสียงร้องหมอลำของผู้เฒ่าผู้แก่คณะหมอลำพันปี บ้านสาวะถี จ.ขอนแก่น จะมาขับขานเล่าตำนานให้นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนได้ฟังอย่างเพลิดเพลิน

จี่ข้าวสามัคคี ตุ้มโฮม
วัดไชยศรี ข้าวจี่ เป็นอาหารพื้นบ้านของภาคอีสาน นิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ โดยชาวบ้านสาวะถีได้อนุรักษ์และสืบทอดคนในชุมชน ตลอดจนผู้มาเยือนได้ทำร่วมกัน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเฉลียงทอง จังหวัดขอนแก่น

จากประวัติความเป็นมา เชื่อว่าชุมชนมีเชื้อสายของลาวหลวงพระบาง ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือน ๑๒๕ ครัวเรือน (ข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๖๒) ประชากรทั้งหมด ๔๗๗ คน ส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๙ นับถือพุทธศาสนา 

มีการแต่งกายและภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทภู มีการสืบสานบุญประเพณีวันธรรมสวนะโดยจัดกิจกรรมตักบาตรวันเดียวสองจังหวัด (อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น) บริเวณขัวพี่เมืองน้อง ตลอดจนได้ฟื้นฟูประเพณีตรุษไทภูผาม่าน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๔ หรือบุญเดือนสี่

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วิหารหลวงปู่ลี
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน

ต้นเฉลียงทอง
มีอายุเกือบ ๓๐๐ ปี ได้รับการยกย่องให้เป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๒

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
รอเวลาตามนัด คือ ราว ๑๗.๓๐ น. รอคอยการบินออกจากถ้ำยามโพล้เพล้ของ “ค้างคาว” นับล้าน ๆ ตัว บินเป็นสายยาวสุดสายตา สมฉายา “มังกรแห่งภูผาม่าน” เป็นริ้ว เป็นสาย ต่อเนื่องนานราวกว่า ๔๐ นาที ถือว่าเป็นอะเมซิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้พองฟูในอารมณ์ สุขใจแบบบอกไม่ถูก  

น้ำผุดตาดเต่า
  น้ำผุดธรรมชาติสีเขียวมรกตในลำห้วย ร่มรื่น ได้บรรยายกาศแบบ ชิล ชิล

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรัพย์สมบูรณ์
แหล่งเรียนรู้การทำสมุนไพรแปรรูป เป็นความสามัคคีขยันของสมาชิก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปขายทั่วประเทศ เช่น ฟ้าทะลายโจร หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ ทำยอดขายเกินกว่าสิบล้านบาท 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ตักบาตรขัวพี่น้องสองจังหวัด
ขัวพี่น้องสองจังหวัด (ขอนแก่น-ชัยภูมิ) เป็นการตักบาตรวันเดียวสองจังหวัด (อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น กับ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ) บริเวณสะพานพี่เมืองน้องซึ่งเป็นการสืบสานบุญประเพณีทุกวันธรรมสวนะ

ปั่นจักรยานเยี่ยมชมวิถีชุมชน
ชุมชนคุณธรรมฯ วัดเฉลียงทอง ปั่น ปั่น เยี่ยมชมชุมชน มองไกลออกไปด้านข้างพบภูเขาทรง คล้ายมิติสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ว่า “ภูผาม่าน” หมายถึง ลักษณะของภูเขาทรงคล้ายผ้าม่าน  

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม