สวนส้มโอโชคชัย จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง เลขที่ 98 หมู่ 8 ตำบลนางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

๑. เมื่อปี พ.ศ. 2545 นายชัชชัย ทับทอง เจ้าของสวนส้มโอ โชคชัย เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาโดยปรับเปลี่ยนพื้นที่ จากนาข้าวมาเป็นสวนสัมโอแบบยกร่องในพื้นที่ 45 ไร่ เนื่องจากส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาเป็นผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยนาทและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก ผลผลิตของส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา นอกจากจะอร่อยแล้วได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น หรือส้มโอจีไอ ปีหนึ่งให้ผลผลิต 2 ครั้ง ส้มนอกฤดูออกระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ส้มในฤดูหรือส้มปี ออกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และทางจังหวัดชัยนาทก็มีการจัดงานส้มโอขาวแตงกวาเป็นงานประจำปี เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนจากทั่วสารทิศ ได้รู้จักผลไม้สัญลักษณ์ของชาวชัยนาทให้กว้างขวางขึ้น ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้มากขึ้น และราคาดีขึ้นด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น.- 17.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วง เดือนเมษายน-พฤษภาคม และ เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 1379 9166
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ส้มโอขาวแตงกวา สวนโชคชัย จังหวัดชัยนาท
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ที่ตั้ง หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

1. วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา วัดปากคลองมะขามเฒ่าแต่เดิมเป็นวัดร้างชื่อ “วัดอู่ทอง” พระภิกษุนามว่า “ศุข” ธุดงด์ผ่านและจำพรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2434 มีหลักฐานคือ เหรียญรุ่นหนึ่งของท่านจารึกด้านหลังว่า “พระครูวิมลอยู่วัดอู่ทองมะขามเฒ่า”และคงใช้ชื่อนี้ตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2434 จึงใช้ชื่อ วัดปากคลองมะขามเฒ่ามาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ รูปเหมือนพระครูวิมลคุณากร “หลวงปู่ศุข” พระเกจิชื่อดังของเมืองชัยนาท กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ เจ้าแม่กวนอิม พระอุโบสถ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีพระหัตถ์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พร้อมข้าราชบริพารร่วมเขียนด้วยตัวอักษรขอม
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี )
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่าโทร. 08 7196 4009 ,โทร. 08 9269 1385

๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัศโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาทและอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียงมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบศิลปวัตถุ โบราณวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย ในพุทธศักราช 2509 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2512 เป็นต้นมา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ชาวไทย 10 บาท/ชาวต่างประเทศ 50 บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 5640 5621
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี
E-mail : chainatmuni@hotmail.com
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระบรมธาตุ วรวิหาร จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

1. ความโดดเด่น/ความสำคัญ วัดพระบรมธาตุ วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมนามว่า “วัดพระธาตุ” หรือ “วัดหัวเมือง”เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ภายในวัดนี้มีเจดีย์พระบรมธาตุรูปแบบสถาปัตยกรรมอู่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่มีตำนานกล่าวว่าองค์พระเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตริย์แห่งอินเดีย ได้ให้พระสงฆ์มาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยโดยผ่านมาทางสุวรรณภูมินครปฐมจนถึงเมืองชัยนทและได้เห็นว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่เหมาะสมจึงได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่งไว้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ วรวิหาร โทร. 08 3623 0896
๕. ช่องทางออนไลน์-
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ทางลาด/ที่จอดรถ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง ตำบล อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

๑. กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อยได้นำแนวคิดโดยนำ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของปู่ย่าตายายที่นำไม้ไผ่มาสานเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแต่ประยุกต์เปลี่ยนมาสานด้วยผักตบชวาแทน นอกจากจะไม่ต้องลงทุนซื้อวัตถุดิบแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาวัชพืชในแม่น้ำ ได้ด้วย กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาบ้านอ้อย ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานภายใต้ในแนวความคิดที่เป็นธรรมชาติและสามารถเข้าได้ดีกับแฟชั่นของผู้หญิงสมัยใหม่โดยการพัฒนารูปแบบและสีสันให้ทันสมัยอยู่เสมอรวมทั้งการเอาใจใส่มาตราฐานการผลิตและความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองด้วยการสร้างสรรค์ลายสานที่ไม่เหมือนใคร ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ “บ้านอ้อย” ได้พัฒนาผลิตภํณฑ์ที่มีความหลากหลาย อาทิ กระเป๋า กล่องเอนกประสงค์ หมวก รองเท้า ถัง ใส่ของ โคมไฟโต๊ะ เก้าอี้ฯ และสามารถส่งออกได้ในหลายประเทศ
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง) ประเภท ของใช้ ของตกแต่ง
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดบริการตั้งแต่ เวลา 09.00 น. – 16.00 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร. 08 9536 3839
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงพักเก่าสรรพยา จังหวัดชัยนาท

หมู่ 4 ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

1. โรงพักเก่าสรรพยา เป็นอาคารโรงพักของตำรวจ สมัยรัชกาลที่ 5 และถือว่าเก่าแก่สุดในประเทศ ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว อาคารหลังดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ภายในชุมชนตลาดสรรพยา ซึ่งตามประวัติการจัดสร้างของรายการพัสดุของสถานีตำรวจภูธรสรรพยา ระบุว่าอาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444 ในสมัยของ พันตำรวจเอกพระยาสกลสรศิลป์ ผู้บังคับการมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งตรงกับสมัยของพระยาศรีสิทธิกรรม ดำรงตำแหน่งนายอำเภอสรรพยา โดยลักษณะอาคารเป็นอาคารทรงปั้นหยา ชั้นเดียวยกพื้นสูง มีมุกหน้า เสาเป็นไม้เต็ง ฝาอาคารเป็นไม้กระยาเลย พื้นทำจากไม้ตะแบก มุงด้วยกระเบื้องแบบโบราณ อาคารแห่งนี้ได้รางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๑ประเภทสถาบันและอาคารสาธารณะสถานีตำรวจภูธรอำเภอสรรพยา (โรงพักเก่า) จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันเทศบาลตำบลสรรพยา ชมรมฟื้นฟูตลาดเก่าสรรพยาและสถานีตำรวจภูธรสรรพยาปรับปรุงอาคารดังกล่าวใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสรรพยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เทศบาลตำบลสรรพยา โทร. 0 5649 9134
๕. ช่องทางออนไลน์-
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสรรพยาวัฒนราม จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 4 ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

๑. วัดสรรพยาวัฒนาราม มีข้อสันนิฐานว่าสร้างในปลายสมัย รัชกาลที่ 4 หรือประมาณ ปี พ.ศ. 2410 โดยเรียกชื่อวัดอยู่ 2 ชื่อด้วยกัน กล่าวคือ “วัดเสาธงหิน” และ “วัดวังหิน” ตามลำดับ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 8 ราวปีพุธศักราช 2484 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดสรรพยาวัฒนาราม
สิ่งสำคัญภายในวัด มีวิหารน้อยเป็นอาคารก่อิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวิหารเป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัวมีประติมากรรมปูนปั้นเรียกว่า “พระฉาย”หรือองค์พระพุทธเจ้าในท่าปางถวายเนตรประทับเงาบนหน้าผา เป็นพระอุเทสิกเจดีย์ให้คนเคารพ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 25 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางกราบ พระบรมศพประดิษฐาน ซึ่งหาชมได้ยากเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี )
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม เจ้าอาวาสวัดสรรพยาวัฒนาราม

โทร. 09 8763 2936

๕. ช่องทางออนไลน์ –

๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดมหาธาตู จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

๑. วัดมหาธาตุ เดิมเรียกว่า วัดหัวเมือง หรือวัดศรีษะเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยตอนหักโค้งไปทางทิศตะวันออก บางส่วนของวัดทางด้านหน้าขนานไปตามลำน้ำ สร้างขึ้นในพุทธศักราช 1897 สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งกรุงสุโขทัยและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสุโขทัยหน้าพระอุโบสถวัดมหาธาตุอาจจะใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองในสมัยนั้น เพราะแถบ บริเวณหน้าวัด ชาวบ้านยังคงเรียกว่า “หน้าพระลาน” นับเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสรรค์มาแต่อดีต มีหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าวัดมหาธาตุ เป็นวัดที่กษัตริย์ทรงสร้างสถาปัตยกรรมสำคัญ อาทิ พระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง พระอุโบสถ องค์พระธาตุเจดีย์ วิหาร เจดีย์ราย และหลวงพ่อหมอ หรือหลวงพ่อหลักเมืองกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอน 75 วันที่ 8 มีนาคม 2575
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ( ไม่มี )
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ โทร. 08 5052 5800
๕. ช่องทางออนไลน์-
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท

หมู่ 10 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

1. วัดพระแก้ว เป็นวัดที่สร้างสมัยเดียวกับวัดมหาธาตุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1900 มีสิ่งสำคัญภายในวัดดังนี้
– เจดีย์ เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย น. ณ ปากน้ำ (นายประยูร อุลุชาฎะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2535) ยกย่องให้เป็นราชินีแห่งเจดีย์ทั้งมวลในเอเชียอาคเนย์
– หลวงพ่อฉาย เป็นพระพุทธรูปศิลาแลงสีแดง อยู่ในวิหารด้านหน้าพระเจดีย์สี่เหลี่ยมวัดพระแก้ว กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าหลวงพ่อฉายมีอายุประมาณ 800 ปีล่วงมาแล้ว ด้านหลัง หลวงพ่อฉายมี “ทับหลัง” ซึ่งแกะสลักติดกับองค์พระ เป็นรูปช้างกลับหัวอยู่บนแท่น ส่วนบนสุดเป็นรูปพระอินทร์หรือพระศิวะกำลังหลั่งน้ำมนต์ มีทางน้ำมนต์ไหลถึงตัวช้างที่นอนหงายบนแท่น กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2578
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว โทร. 08 9270 5325
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม