เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก

ที่ตั้งบ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

๑. เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นโครงการในพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บกักและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบให้แก่พื้นที่เกษตรกร สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสลับกับความแห้งแล้งลงได้ ช่วยลดปัญหาดินเปรี้ยว น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล ยังเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปา และการปล่อยน้ำจากเขื่อนจะช่วยผลักดันน้ำเค็มที่จะรุกเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและแหล่ง แหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ราษฎรได้อีกทางหนึ่ง นอกจากการตอบสนองความต้องการใช้น้ำในภาคการเกษตรแล้ว เขื่อนขุนด่านปราการชลจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ ของจังหวัดนครนายกที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาชมความยิ่งใหญ่ของเขื่อนอีกด้วย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เวลาเปิด-ปิด เวลา 08.00-18.00 น. ของทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวได้ทุกเดือน แต่ช่วงฤดูฝนปริมาณน้ำในเขื่อนมาก จะมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนทำให้ได้ภาพบรรยากาศที่สวยงามมาก
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ( 1-๗ คน/1,500บาท ถ้า 8 คนขึ้นไป 200บาท/คน )
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ ล่องเรือเที่ยวน้ำตกช่องลม ช่วงฤดูฝน
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 3738 4334
๗.ช่องทางออนไลน์
Face book เขื่อนขุนด่านปราการชล
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก

๑. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ชื่อใหม่ว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพัฒนางานด้านชลประทานก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ พร้อมเปิดให้บริการประชาชนในเดือนมิถุนายน 2564 โดยเนื้อหาการจัดแสดงนิทรรศการถาวรในพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริเขื่อนขุนด่านปราการชล ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา รวมถึงพืช และน้ำ อันเป็นลักษณะโดยทั่วไปของจังหวัดนครนายกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันตลอดจนข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัดนครนายก รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดและสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีกด้วย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
สอบถามข้อมูล โทร. 08 5255 6749
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครนายกพระบรมชนกชลพัฒน์
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เกาะหวายโฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง 204 หมู่ที่ 1 หมู่บ้านเกาะหวาย, ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ๑.ประเภทของที่พัก โฮมสเตย์
๒.จำนวนห้อง 1 ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard 250-300 บาท
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพวน
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางสุรีย์ สะเภาทอง โทร. 08 5435 9632
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยพวยตำบลเกาะหวาย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมต้นแบบเที่ยวชุมชน ยลวิถี วัดฝั่งคลอง จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง เลขที่ 84 หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

๑. ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง มีพระครูวิริยานุโยค เจ้าอาวาสวัดฝั่งคลองเป็นผู้นำที่เข้มแข็งของชุมชน คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพวนซึ่งยังคงดำเนินชีวิตตามวิถีของชาวไทยพวน รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีความรู้รักสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มการแสดศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน กลุ่มอาหารพื้นบ้าน กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มมัคคุเทศก์ กลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวน และกลุ่มจิตอาสา ชุมชนคุณธรรมวัดฝั่งคลอง เป็นชุมชนชาวไทยพวน ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ อัตลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น คนในชุมชนมีการสื่อสารพูดจากันด้วยภาษาพวน การแต่งกายตามแบบไทยพวนและมีอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับแขกผู้มาเยือน การจัดเลี้ยงอาหารโตก ไทยพวน การแสดง ๓ ลำ ลำตัด ลำโทน ลำพวน การสืบสานประเพณีบุญทานข้าวจี่ – วิถีไทยพวน จัดพิธีกรรมสูตรเสื้อสูตรผ้า ในเทศกาลสงกรานต์ไทยพวน และมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน “มิวเซียม ปะพวนที่ปากพลี” เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีไทยพวนในอดีต
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
นักท่องเที่ยว 30 คนขึ้นไป
ครึ่งวัน ราคา 300-400 บาท
1 วัน ราคา 800-900 บาท
2 วัน ราคา 1,200-1,400บาท

๔. เบอร์โทรศัพท์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม