พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
 ๑. พระธาตุพนม พระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ และผู้ที่เกิดปีวอก ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม เป็นพุทธเจดดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ(กระดูกส่วนพระอุระ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสนโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์และแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาแต่โบราณกาล มีรูปทรงสีเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน 53 เมตร ฉัตรทองคำสูง 4 เมตร รวมเป็น 57 เมตร พระธาตุพนมเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนม ตลอดทั้งชาวไทยและชาวลาว ว่ากันว่าหากใครได้มาสักการะพระธาตุพนมครบ ๗ ครั้ง จะถือว่าเป็น “ลูกพระธาตุ” เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตหรือแม้แต่การได้มากราบสักการะพระธาตุพนม ๑ ครั้ง ก็ถือเป็นมงคลแก่ชีวิตเชื่อกันว่าผู้ที่ได้มากราบสักการะจะได้รับอานิสงส์เพิ่มบุญบารมีและมีคนให้ความเคารพนับถือ งานนมัสการพระธาตุพนม จัดขึ้น วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 04.00 – 21.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
พระครูพนมปรีชากร 08 7948 2016
๕. ช่องทางออนไลน์
www.watthat.com
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระธาตุนคร วัดมหาธาตุ จังหวัดนครพนม

ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
๑. พระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำและของมีค่าต่างๆ ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงตามแบบพระธาตุพนม มีลวดลายอันวิจิตรบรรจงตระการตา สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2465 โดยมีงานนมัสการพระธาตุประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อานิสงส์ผู้ที่ได้รับกราบสักการะขอพรส่งผลให้เสริมสร้างบารมีและมีอำนาจวาสนาเป็นเจ้าคนนายคน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 19.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
พระครูกิตติสุตานุยุต 08 6579 7851
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook วัดมหาธาตุ นครพนม
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ทางจักรยานและวิวริมแม่น้ำโขง

๑.เส้นทางจักรยานเลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นเส้นทางคู่ขนายไปกับถนนสุนทรวิจิตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาปั่นจักรยาน หรือแม้แต่เดินชมทัศนียภาพอันสวยงามของจังหวัดนครพนม เยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านเก่า มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทั้ง ๑๑ แห่ง ได้แก่ อุโมงค์นาคราช วัดนักบุญอันนาหนองแสง พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการหลังเก่า หอนาฬิกาเวียดนามอนุสรณ์ วัดโอกาสศรีบัวบานประดิษฐานพระติ้วพระเทียม ลานพนมนาคา องค์พญาศรีสัตตนาคราช วัดโพธิ์ศรีประดิษฐานพระทอง พระพุทธรูปโบราณล้านช้าง วัดกลางประดิษฐานหลวงพ่อองค์ตื้อ หลวงปู่สังกัจจายณ์และหลวงพ่อแท่นลายดอก วัดมหาธาตุกราบสักการะพระธาตุนคร วัดพระอินทร์แปลง กราบสักการะหลวงพ่อพระอินทร์แปลง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดตลอดเวลา ทุกวัน
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เวลาเช้าและเย็นของทุกวัน
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี) ๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ปั่นจักรยาน ถนนคนเดินวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เทศบาลเมืองนครพนม 0 4251 2005
๗. ช่องทางออนไลน์
Facebook เทศบาลเมืองนครพนม
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พญาศรีสัตตนาคราช จังหวัดนครพนม

๑. พญาศรีสัตตนาคราช แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดนครพนม ประดิษฐานบนริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าสำนักงานป่าไม้ ถนนสุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ลักษณะองค์พญานาคทองเหลือง มีน้ำหนักรวม 9,000 กิโลกรัม เป็นรูปพญานาคขดหาง ๗ เศียร ประดิษฐานบนแทนฐานแปดเหลี่ยม กว้าง 6 เมตร สูงทั้งหมดรวมฐาน 15 เมตร สามารถพ่นน้ำได้ ซึ่งพี่น้องชาวไทยและลาวมีความเชื่อผูกพันอยู่กับองค์พญานาคผู้ดูแลปกปักษ์รักษาลุ่มน้ำโขง ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ใดได้กราบไหว้ขอพรอาจสัมฤทธิ์ผลและมีความเป็นสิริมงคล
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ผู้ที่มากราบสักการะขอพรได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นสถานที่โล่งแจ้ง
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ-
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เทศบาลเมืองนครพนม 0 4251 2005
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook เทศบาลเมืองนครพนม
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ศิลปาชีพ จังหวัดนครพนม

บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมลายลูกแก้ว
๒. ชื่อผู้ประกอบการ นางอรพิณ วะสาร
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมคราม ผ้าลายขอพระราชทาน ผ้าลายมุก
รายละเอียดความโดดเด่น ผ้าลายมุก เป็นผ้าประจำจังหวัดข้าราชการใส่ปฏิบัติงานวันอังคาร และผ้าลายขอพระราชทานเป็นผ้าที่ข้าราชการใส่ปฏิบัติงานวันศุกร์
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 – 18.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 
06 1562 6733
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook อรพิน ไหมไทย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองสังข์ จังหวัดนครพนม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองสังข์ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ๖ หมู่บ้าน หมู่ 1,2,7,8,10,11  มี ๑,๐๐๐ กว่าหลังคาเรือน เป็นชนเผ่าไทกะเลิง มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตนเองด้านภาษา การแต่งกาย  มีประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาตาม ฮีต ๑๒ คอง ๑๔  ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตามริมน้ำก่ำ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นทุ่งนา อาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพรอง การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักสวนครัว การทอผ้าลายโบราณที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน 

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองสังข์ เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี   มีที่พักโฮมสเตย์ที่ผ่านการรับรองจากกรมการท่องเที่ยว การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน คือการรำกลองตุ้ม อาหารพื้นถิ่น คือ หลามปลาช่อน ต้มส้มไก่บ้าน และผักนานาชนิดของชุมชนและของฝากจากชุมชน ที่โดดเด่นคือผ้าทอลายโบราณ ผ้าย้อมไม้มงคล ผ้ามุก ผ้าลายจกหีแข้ที่มีชื่อเสียงของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสระพังทอง
เป็นสถานที่ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

สวนสาธารณะดอนตาทอง
เป็นสวนสาธารณะใช้ในการจัดกิจกรรมของชุมชน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
เป็นสถานที่ในการเก็บรวบรวมของเก่า

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนสาธารณะหนองสังข์และดอนตาทอง
เป็นสวนสาธารณะใช้ในการจัดกิจกรรมของชุมชน

ธรรมชาติน้ำหนองสังข์โครงการพระราชดำริ
เป็นหนองน้ำสาธารณะโครงการพระราชดำริ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ
ส่งสหกรณ์โพนยางคำ อ.เมืองจ.สกลนคร  นายคนิล แสงโคตร บ้านเลขที่ 202 หมู่10 บ้านหนองสังข์

กลุ่มเพาะเห็ด
กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว   เห็ดฮังการี่เห็ดนางฟ้า  เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน นายพงษ์สิทธิ์ เขื้อตายา บ้านเลขที่ 4 หมู่ 8 บ้านหนองสังข์

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การนั่งซาเล้ง
สวนสาธารณะดอนตาทอง นักท่องเที่ยวสามารถนั่งซาเล้งในการเที่ยวชมชุมชน

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง
ศาลาประชาคมหมู่ที่ 1,7,10 บ้านนางหงษ์ อินทะวงศ์ บ้านหนองสังข์ ทอผ้าพื้นเมืองสีธรรมชาติ/ผ้ามุก ลายโบราณลายดอกมะส้าน/ลายจกหีแข้ (ผ้าสไบ,ผ้าคลุมไหล่) ย่ามสะพาย

การจักสาน
เลขที่ 120 หมู่ 1 นายเงิน แสนสามารถ จักสานไม้ไผ่ เช่น กระต่า,ข้อง,หวดนึ่งข้าว,สวิง,กระติบข้าว

การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
วัดสระพังทอง ฟ้อนกลองตุ้ม 12 ท่ารำ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาถ่อน จังหวัดนครพนม

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาถ่อน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกวน มีการแต่งกายและภาษาพูดเป็นของตนเอง มีอัธยาศัยไมตรีดี ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว อาชีพหลัก คือ ทำนา ว่างก็จะตีเหล็ก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน มีด พร้า จอบ เสียม เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 

มีการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าไทยกวน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดนครพนม มีภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทกวนที่ยังฝังรากลึกสืบเนื่องมาถึงสามอาชีพหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในชุมชนจนเกิดเป็นคำขวัญติดปากของคนท้องถิ่นว่า ‘เสร็จนา หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก’ ซึ่งหมายถึงการ ลงแขกดำนา ทอผ้า และตีเหล็กแบบโบราณ 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีมงคล
เป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมของชุมชนและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน

ศาลปู่ตาแสง
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ศาลปู่ตาแสง
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ

บ่อเกลือสินเธาว์
ชาวบ้านใช้ในการผลิตเกลือในการอุปโภคบริโภคในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บ่อเกลือสินเธาว์
ชาวบ้านใช้ในการผลิตเกลือในการอุปโภคบริโภคในชุมชน

สวนมะไฟ
สวนเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในชุมชน

รรมการท่องเที่ยว

ไหว้ขอพรศาลปู่ตาแสง
ศาลปู่ตาแสง การขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาถ่อนก่อนเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้าน

ชมโบราณสถานของวัด
วัดศรีมงคล เยี่ยมชมโบราณสถานของวัด

การตีมีดโบราณ
ปรีชาตีมีดเหล็กกล้านาถ่อน ชมการตีมีด พร้า และอุปกรณ์การเกษตร

บ่อเกลือสินเธาว์
บ่อเกลือสินเธาว์ ชมการต้มเกลือสินเธาว์แบบโบราณ

สปาเกลือ
ศูนย์วัฒนธรรมนาถ่อน นวดสปาเกลือผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ของชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม