วัดพระทอง จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
๑.เมื่อแรกที่พบ “หลวงพ่อพระผุด” บริเวณนั้นเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ในเช้าวันหนึ่งได้เกิดพายุร้าย มีฝนตกมากจนน้ำไหลท่วมทุ่งนาเสียหาย พัดพาต้นไม้โค่นล้มหักพังระเนระนาด พอฝนหยุดตกก็ได้มีเด็กชายลูกชาวนาคนหนึ่งจูงควายไปเลี้ยงกลางทุ่งนาแต่หากิ่งไม้ไม่เจอ เพราะต้องการหาที่ผูกเชือกสำหรับเลี้ยงควาย กิ่งไม้เล็กๆ ที่เคยผูกเป็นประจำก็ถูกกระแสน้ำพัดพาไปหมด สักพักเด็กชายก็เห็นสิ่งแปลกประหลาดสิ่งหนึ่งมีโคลนตมพอกอยู่ มีลักษณะเหมือนตอไม้ขนาดใหญ่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน เลยนำเชือกคล้องควายไปผูกไว้แล้วก็กลับมาบ้านพอเด็กถึงบ้าน เด็กชายคนนั้นก็เกิดอาการเป็นลมล้มชัก เสียชีวิตลงทันทีในตอนเช้าวันนั้นเอง พ่อแม่ก็จัดการกับศพเด็กชายแล้วออกไปดูควายที่ผูกไว้ พอไปถึงที่ที่เด็กชายผูกควายไว้ สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาก็คือเห็นควายนอนตายอยู่เป็นที่อัศจรรย์ และยิ่งเมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็เห็นเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง พวกเขาเกิดความรู้สึกกลัว รีบตัดเชือกผูกควายออกแล้วช่วยกันนำควายไปฝัง ตกดึกคืนนั้นพ่อของเด็กชายที่ตายก็ฝันว่ามีคนมาบอกว่า ที่เด็กชายและควายต้องตายนั้นเป็นเพราะเด็กชายได้นำเชือกควายไปผูกไว้กับ พระเกตุมาลา (ยอดเศียร) ขององค์พระพุทธรูป พ่อของเด็กชายตกใจตื่น รุ่งเช้าก็ชักชวนเพื่อนบ้านให้ไปยังที่ริมคลองซึ่งเด็กชายนำควายไปผูกไว้ ครั้นเมื่อเห็นวัตถุประหลาดนั้น ต่างคนต่างก็ช่วยกันเอาน้ำมาล้าง ขัดสีเอาโคลนตมที่ติดอยู่ออกจนหมด จนกระทั่งสามารถเห็นเป็นลักษณะเหมือนพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปเหลืองอร่ามเป็นทองคำ ชาวบ้านจึงแตกตื่นพากันมากราบไหว้บูชาสักการะกันเป็นจำนวนมาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐8.0๐ น. – ๑๗.0๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
07 627 4126
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค วัดพระทอง
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์/บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สะพานหิน จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง 52/1 ถนนนริศร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
๑.ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง หรือ อ๊ามสะพานหิน (คำว่า อ๊าม ภาษาจีนฮกเกี้ยน หมายถึง ศาลเจ้า) ได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2538 ตามพระประสงค์ของ พระแม่กิ้วเที้ยน เฮียนลื้อ เทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยพระจักรพรรดิเหลือง (ผ่านร่างประทับทรง) เพื่อที่จะสถิตและใช้เมตตาบารมี ปัดป้องภัยธรรมชาติที่จะเข้ามาสู่จังหวัดภูเก็ต ดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2539 โดยได้รับการอนุญาตการก่อสร้างจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตในสมัย นายเฉลิม พรหมเลิศ และ นายสมบูรณ์ คู่พงศกร เป็นประธานศาลเจ้า ดำเนินการให้มีการก่อสร้างศาลเจ้าแห่งนี้จนสำเร็จในปี พ.ศ.2541จากนั้นได้อัญเชิญองค์เทพกิ้วเที้ยนเลี่ยนลื้อ มาประดิษฐานในศาลเจ้า ในปี พ.ศ.2548 ได้อัญเชิญ ม่าจ้อโป้ มาจากเกาะเหมยโจ ประเทศจีน เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีเฉี้ยโห้ย (พิธีกรรมอัญเชิญไฟศักดิ์สิทธิ์ การอัญเชิญ ยกอ๋องซ่งเต่ มาเป็นประธานในพิธีกรรมต่างๆเช่น ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นต้น) ซึ่งทุกๆศาลเจ้าต้องมาประกอบพิธีที่สะพานหิน
อ๊ามแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยของจีน เมื่อร้อยปีก่อนได้มีการอัญเชิญเหี่ยวโห้ย (ไฟศักดิ์สิทธิ์) มาจากมณฑลกังไซ้ ประเทศจีนเพื่อมาประกอบพิธีถือศีลกินผักตามแบบฉบับเดิมของจีน ในมณฑลกังไซ้ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ องค์เทพกิ้ว เที้ยนเลี่ยนลื้อ เป็นเทพที่มีอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ สามารถปกป้อง คุ้มครองชาวภูเก็ต จากสิ่ง ชั่วร้าย และภัยอันตรายจากธรรมชาติ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐8.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๖2๑ 2196
๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุ๊ค ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สะพานหิน
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
๑.วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง เดิมชื่อว่า วัดกลาง เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2423 เมื่อครั้งยังเป็นมณฑลภูเก็ตสันนิษฐานกันว่าเจ้าเมืองเป็นผู้สร้างและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2428 ซึ่งพระยารัษฎาฯ จะตัดถนนผ่านวัดโดยตัดจากซอยรมณีย์ออกถนนทุ่งคาแต่ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) ท่านไม่ยอมเพราะจะต้องตัดตรงผ่านโบสถ์ด้วยถ้าตัดถนนผ่านวัดคราวนั้นธรณีสงฆ์อาจแคบกว่าที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ แต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จไปวัดมงคลนิมิตร ท่านพระครูวัดฉลองซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตร ทรงเห็นอุโบสถชำรุด ทรุดโทรมไปมากแล้วจึงโปรดเกล้าให้พระยาศรีสรราช จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2450 และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ทรงไทย โดยจัดกิจกรรมสำคัญของจังหวัดเสมอ อาทิ พิธีทำน้ำพิพัฒสัตยา การถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน การรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ในโอกาสเยี่ยมประชาชนจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. ๒๕๐๒


๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๗.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 7521 2196


๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุคส์ วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม (ในยาง) จังหวัดภูเก็ต

ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้คนให้ความสนใจ เช่น อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ซึ่งห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 1 กิโลเมตร และยังอยู่ใกล้กับวัดมงคลวราราม (วัดในยาง) ด้วย ทั้งนี้ยังมีตลาดปลาที่ชาวประมงพื้นบ้านนำมาจำหน่ายในช่วงเช้าที่หาดในยาง (ชาวบ้านเรียก ตลาดชิงปลา) เป็นสีสันอย่างหนึ่งของชาวในยางอีกด้วย

“ทุเรียนรสโอชา ขนมลารสดี ธรรมชาติมากมี ประเพณีสวดกลางบ้าน” วัดมงคลวราราม (ในยาง) มีองค์พ่อท่านหนังเสือประดิษฐานให้ได้เคารพบูชาขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล อีกทั้งมีวัฒนธรรมประเพณีมากมายที่สืบต่อกันมานับร้อยปี เช่น ประเพณีสวดกลางบ้าน ประเพณีชักพระ ตักบาตรเทโว มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ สิรินาถ (หาดในยาง) และเกาะปลิง

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พ่อท่านหนังเสือ หลวงพ่อหนังเสือเจ้าอาวาสรูปแรก เล่ากันว่า ท่านนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดเพียง ๓ ผืน เวลานั่งหรือนอนจะใช้หนังเสือปูก่อนเป็นประจำ ชาวบ้านจึงขานนามท่านว่า “หลวงพ่อหนังเสือ” เป็นผู้เคร่งครัดชำนาญในพุทธศาสตร์และวิทยาอาคม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พ่อท่านหนังเสือ หลวงพ่อหนังเสือเจ้าอาวาสรูปแรก เล่ากันว่า ท่านนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดเพียง ๓ ผืน เวลานั่งหรือนอนจะใช้หนังเสือปูก่อนเป็นประจำ ชาวบ้านจึงขานนามท่านว่า “หลวงพ่อหนังเสือ” เป็นผู้เคร่งครัดชำนาญในพุทธศาสตร์และวิทยาอาคม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง) ภูเก็ต หาดในยาง เป็นหาดที่เงียบสงบ และเป็นธรรมชาติ แตกต่างจากหาดอื่น ๆ ความโดดเด่นของหาดนี้อยู่ที่ น้ำทะเลใส หาดทรายสะอาด ใต้น้ำมีแนวปะการัง หอยทะเลหายาก เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล กับจักจั่นทะเล ร่มรื่นด้วยแนวต้นสน

เกาะปลิง ตั้งอยู่ในอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ หรือ หาดในยาง เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ มีธรรมชาติที่สวยงาม มีปะการังน้ำตื้น สัตว์ทะเลส่วนใหญ่ที่มักจะพบในบริเวณนี้ เช่น ปลาดาว ปลิงทะเล รวมถึง ลูกปลาหลากหลายชนิดที่อาศัยแนวปะการังน้ำตื้นเป็นที่อาศัย

หาดในทอน หาดในทอน เป็นอีกหนึ่งหาดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ไปทางทิศใต้ หาดในทอนเป็นอีกหนึ่งหาดที่มีเม็ดทรายขาวละเอียด บริเวณเหนือหาดมีทิวสนขึ้นสลับกันประปราย หาดในทอนนับเป็นอีกหนึ่งมุมสงบของหาดในเกาะภูเก็ต

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรทฤษฏีใหม่ของนายสมบัติ นางจำนง กิ่งรักษ์ หมู่ที่ ๓ ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตำบลสาคู ปลูกผักปลอดภัยสารพิษ ณ ศูนย์การเรียนรู้การเกษตร
การส่งเสริมสนับสนุนอาชีพการเกษตรของตำบลสาคูการจัดโครงการวันเกษตร มีแปลงนาสาธิตนาข้าวเป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรแก่เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่สนใจ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

จำหน่ายปลาสด ๆ จากชาวประมงท้องถิ่น ตลาดชิงปลา บริเวณตลาดชิงปลาในช่วงเช้าจะมีพ่อค้าแม่ค้ามาจำหน่ายมื้อเช้า ทั้งชา แฟ ขนมโบราณ ฯ นอกจากนั้นจะมีชาวบ้านบางส่วนจะมารอซื้อปลาสด ๆ จากชาวประมง ซึ่งจะเป็นสีสัน อย่างมาก เมื่อได้พบเห็นการชิงปลาของชาวบ้าน โดยจะมีนักท่องเที่ยวบางส่วนจะมาร่วมชิงปลาด้วย

ชมปะการังน้ำตื้น และสัตว์ทะเล เช่น ปลาดาว ปลิงทะเล รวมถึง ลูกปลาหลากหลายชนิดที่อาศัยแนวปะการังน้ำตื้นเป็นที่อาศัย เกาะปลิง ตั้งอยู่ในอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ หรือ หาดในยาง เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ มีธรรมชาติที่สวยงาม มีปะการังน้ำตื้น สัตว์ทะเลส่วนใหญ่ที่มักจะพบในบริเวณนี้ เช่น ปลาดาว ปลิงทะเล รวมถึง ลูกปลาหลากหลายชนิดที่อาศัยแนวปะการังน้ำตื้นเป็นที่อาศัย

กวนข้าวทิพย์ จตุก้อน ประเพณีกวนข้าวทิพย์ จตุก้อน เป็นขนมทิพย์ ในเดือน
เข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน รักบ้านเกิด และร่วมรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีของท้องถิ่น

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโสภณวนาราม จังหวัดภูเก็ต

วัดโสภณวนาราม หรือ วัดป่าคลอก เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ตําบลป่าคลอกโดยมีพระพุทธรูป แกะสลักด้วยไม้ นามว่า หลวงพ่อด้วน หรือ พ่อท่านด้วน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง วัดป่าคลอกมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สําคัญ อาทิ วันสารทเดือนสิบ สงกรานต์ พิธีอาบน้ำสงฆ์ ประเพณีเข้าพรรษา ออกพรรษา การหล่อ เทียนพรรษา ฯลฯ

วิถีชุมชนบ้านป่าคลอก ชาวบ้าน ม.๒ บ้านป่าคลอก รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมกันผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยนําทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาสร้างสรรค์ผลงาน ได้แก่ การปักเลื่อมผ้า ปาเต๊ะ กระเป๋า ผ้าบาติก อาหารพื้นถิ่นที่มีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่น เช่น หมีไท ขนมเปาล้าง ขนมจาก เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบล ป่าคลอก
แหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม สถานที่เก็บรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ทำมาหากิน ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าข้อมูลด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านตำบลป่าคลอก

หลวงพ่อด้วน หรือ พ่อท่านด้วน
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองวัดป่าคลอก

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

น้ำตกบางแป
เป็นน้ำตกอีกแห่งของจังหวัดภูเก็ต ที่มีลักษณะเป็นแอ่งชั้น ๆ ทอดลงมาตามชายเขาพระแทว เหมาะสำหรับพาครอบครัวไปผักผ่อน เปิดบริการทุกวัน

หาดท่าหลา
หาดท่าหลา เป็น หาดทรายสีขาวนวลทอดตัวยาวกว่า 600 เมตร แถมยังขึ้นชื่อว่าเป็นหาดทรายที่มีระบบนิเวศและธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในเรื่องของป่าชายเลน

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการคืนชะนีสู่ป่า มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่น้ำตกบางแป ต.ป่าคลอก เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ชะนี และผืนป่าอันเป็นถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเกษตรอินทรีย์ตำบลป่าคลอก เกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชผสมผสานหลากหลายในสวน เนื้อที่เช่าจากที่ราชพัสดุ 4 ไร่ เช่น ยอดหมุย ถั่วพูร้อยสาย เลี้ยงสัตว์ ปลาดุกในกระชัง ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง จนกลายเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ มากมาย

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลป่าคลอก เป็นศูนย์ผลิตพันธุ์กิ่งลำไยและมีสวนลำไยเป็นที่แรกในตำบลป่าคลอก ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากภาคเหนือและมีกาารผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ควบคุมศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ลากพระวันออกพรรษา เคลื่อนขบวนจากวัดโสภณวนาราม(วัดป่าคลอก)ไปยังหาดท่าหลา ร่วมกันลากเรือพระ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญ โดยชาวบ้านได้มีการอัญเชิญพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเรือพระ และจะเริ่มลากเรือพระออกจากวัด มีการตีกลองตะโพนไปตลอดทาง

การลอยเรือสะเดาะเคราะห์ หาดท่าหลา เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่าง ๆ ออกไปกับทะเล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม