Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
จังหวัดสงขลา Archives - JK.TOURS

ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา

ที่ตั้งตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. ย่านเมืองเก่าสงขลา เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลา ที่มีประวัติความเป็นมาและมีอายุยืนยาวกว่า ๒๐๐ ปี จะเห็นได้จากความเก่าแก่ของตึก อาคาร และบ้านเรือนในบริเวณนี้ที่ยังคงอยู่ โดยจะมีถนนที่สำคัญ สามสายด้วยกัน คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และ ถนนนางงาม ถนนนครนอก จะเป็นถนนที่อยู่ติดกับฝั่งทะเลสาบ ในอดีตนั้น บริเวณนี้น่าจะเป็นท่าเทียบเรือเพื่อค้าขายและขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ เพราะสังเกตได้จาก โรงสีข้าวขนาดใหญ่ ที่ชาวสงขลาเรียกกันว่า โรงสีแดง ถนนนครใน ถนนที่อยู่ตรงกลาง มีสถานที่สำคัญ คือ บ้านนครใน พิพิธภัณฑ์แห่งการอนุรักษ์ ที่เป็นบ้านไม้จีนแบบโบราณและบ้านตึกสีขาว โดยภายในจะจัดแสดงของเก่าต่างๆไว้มากมาย ถนนนางงามจะเป็นร้านอาหารเก่าแก่ และการเพิ่มสีสันของตึก อาคารด้วย ภาพวาด Street Art ต่างๆ ที่สะท้อนถึงเรื่องราววิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนสงขลา
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๒.๑ เปิดให้เข้าเที่ยวชมทุกวัน
๒.๒ ทุกวันอาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนจะมีตลาดถนนคนเดิน
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๖ ๑๗๕๘ ๕๕๔๖
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ย่านเมืองเก่าสงขลา
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก 
ห้องน้ำ /ทางลาดที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว /ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เขาตังกวน จังหวัดสงขลา

ที่ตั้งถนนสุขุม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒,๐๐๐ ฟุต จากยอดเขาตังกวนนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ สิ่งสำคัญบนเขาเขาตังกวน คือ เจดีย์พระธาตุ หรือพระเจดีย์หลวง เป็นเจดีย์คู่เมืองสงขลาสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ และในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุในองค์พระเจดีย์ ประภาคาร สร้างขึ้นตามพระราช ดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ และแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ศาลาพระวิหารแดง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้สร้างเป็นพลับพลาที่ประทับ แต่ยังคงสร้างค้างอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจนสำเร็จในเวลาต่อมา แล้วยังทรงพระราชดำริให้สร้างบันไดนาคขึ้นจาก พลับพลา สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ การขึ้นเขาตังกวนสามารถขึ้นได้ ๒ ทาง คือ ขึ้นเขาตังกวนโดยลิฟท์ และเดินขึ้น ซึ่งทางขึ้นอยู่ฝั่งตรงกันข้ามด้านทิศตะวันตก
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าเที่ยวชมตลอดทั้งปี
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว
เปิดให้ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
นั่งลิฟท์ขึ้นเขาตังกวน
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๔๓๑ ๑๐๑๕
๗. ช่องทางออนไลน์
อีเมล์ :nfo@songkhlacity.go.th, songkhla.skcity@gmail.com
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ /ที่จอดรถ /จุดบริการนักท่องเที่ยว /ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงแรมบีพีสมิหลาบีทแอนด์รีสอร์ท

ที่ตั้ง เลขที่ ๘ ซอยราชดำเนิน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
๑. ประเภทของที่พัก โรงแรม
๒. จำนวนห้อง ๒๐๘ ห้อง
๓. ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก Standard Superior ห้องละ ๑,๕๐๐ บาท Suit ห้องละ ๕,๐๐๐ บาท
หรืออื่น ๆ junior suit ราคา ห้องละ ๒,๐๐๐ บาท
๔. สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
ลานจอดรถ /สระว่ายน้ำ
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๑๐๔๗ ๑๔๕๕
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : BP Samila Beach And Resort

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพะโคะ (เที่ยวชุมชน ยลวิถี) จังหวัดสงขลา

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๖ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
๑. วัดพะโคะหรือชื่อเป็นทางราชการว่าวัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่บนเขาพะโคะ หรือเขาพิพัทสิงห์ เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสนา โบราณคดี ศาสนา และเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ความสำคัญของวัดพะโคะ
๑) เคยใช้เป็นสถานที่กระทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
๒) เป็นที่ประดิษฐานพระเมาลิกเจดีย์ (พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ)
๓) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกว่า พระโคตมะ (พะโคะ)
๔) เป็นวัดที่มีความสำคัญเกี่ยวโยงกับประวัติหลวงปู่ทวด ที่หลวงปู่ทวดได้บูรณะวัดและพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ
๕) เป็นวัดที่มี่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดี มีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ และมีจิตรกรรมฝาผนังซึ่งเป็นภาพเขียนรุ่นใหม่ (พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙) เกี่ยวกับปริศนาธรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ ,ศาลาตัดสินความหรือวิหารที่เคยใช้ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,เจดีย์องค์เล็ก,พระพุทธรูปที่ระเบียงคต,ช้างล่อหัวที่ฐานพระเจดีย์,พระพุทธรูปทรงเครื่องทวดยายหฺมฺลี,รอยเท้าหลวงปู่ทวด ,บ่อน้ำซักจีวรหลวงปู่ทวด และลูกแก้วคู่บารมี เป็นต้น
กิจกรรม
– กราบนมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ทวด
– เยี่ยมชมโบราณสถาน /สถานที่สำคัญ
– สวดมนต์หมู่เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต
– สนทนาธรรมะกับเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุสงฆ์ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย รับวัตถุมงคล/ของที่ระลึก
– ถ่ายภาพเป็นทีระลึก หรือพักผ่อนตามอัธยาศัย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดดีหลวง จังหวัดสงขลา

ที่ตั้งหมู่ที่ ๒ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
๑. สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า วัดกดีหลวง วัดกุฎีหลวง หรือวัดหลวง คนเฒ่าคนแก่เรียกว่า วัดเจดีย์หลวง เพราะในสมัยก่อนมีเจดีย์ ๕ ยอด ขนาดใหญ่อยู่หน้าอุโบสถ วัดดีหลวงเป็นวัดที่หลวงปู่ทวดหรือสมเด็จเจ้าพะโคะได้เคยบวชเป็นสามเณร เรียน นะโม ก ข ขอมไทยอยู่กับพระอาจารย์จวง เจ้าอาวาสวัดดีหลวงในสมัยนั้น ถือได้ว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในคาบสมุทรสทิงพระ สิ่งสำคัญภายในวัด คือ
๑) เจดีย์ทิศ หรือเจดีย์ ๕ ยอด ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ
๒)เจดีย์หลังอุโบสถ เป็นเจดีย์ ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
๓) อุโบสถตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในอุโบสถมีพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย
นักโบราณคดีได้กำหนดอายุไว้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ ด้านหน้าพระประธานมีรูปจำลองหลวงปู่ทวด ๑ องค์ และรูปจำลองพระอธิการแก้ว พุทธมณี ๑ องค์ ๓) ศาลาโรงศพ เป็นศาลาไม้ทรงโถง สร้างขึ้นเนื่องในงานพีศพของพระอธิการแก้ว พุทธมณี อดีตเจ้าอาวาสวัดดีหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะสวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง กิจกรรม กราบนมัสการสถูปสมภาคจวง /กราบพระประธานในโบสถ์ /ถวายผ้าไตรดุจได้ร่วมบรรพชาอุปสมบท/สนทนาธรรมะกับเจ้าอาวาสหรือพระภิกษุสงฆ์ที่เจ้าอาวาสมอบหมายพร้อมรับวัตถุมงคลของที่ระลึก/เยี่ยมชมโบราณสถาน /สถานที่สำคัญ ถ่ายภาพเป็นทีระลึก หรือพักผ่อนตามอัธยาศัย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หาดมหาราช

ที่ตั้ง ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
๑. หาดมหาราช ตั้งชื่อตามสมัญญานามท้ายพระนามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า๑. หาดมหาราช ตั้งชื่อตามสมัญญานามท้ายพระนามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หรือพระปิยมหาราช เมื่อครั้งเสด็จพระพาสหัวเมืองใต้ทางชลมารคและเสด็จพระราชดำเนินขึ้นฝั่งที่ชายหาดมหาราชเพื่อทรงนมัสการพระมหาธาตุเจดีย์และพระพุทะไสยาสน์ (พ่อเฒ่านอน) พร้อมกับทรงเยี่ยมพสกนิกร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ หาดมหาราชตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอสทิงพระ เป็นหาดทรายยาวประมาณ ๓ กิโลเมตร มีการจัดบริเวณเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีที่พักและร้านอาหารให้บริการนักท่องเที่ยว หาดทรายขาวน้ำไม่ลึกมาก สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย มีการจัดแต่งเป็นที่พักผ่อน ที่ชมทิวทัศน์ ด้านหลังแนวหาดเป็นสวนหย่อมและเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หรือพระปิยมหาราช ประทับยืนหันพระพักออกสู่ทะเล
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าเที่ยวชมตลอดทั้งปี
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว
เปิดให้ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ ไม่มี
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร : ๐ ๗๔๓๙ ๗๑๔๕ ๐๖ ๑๒๐๗ ๙๐๔๐
โทรสาร : ๐ ๗๔๓๙ ๗๓๖๓
๗. ช่องทางออนไลน์
E-mail : info@sathingpra.go.th
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาดที่จอดรถ จุดบริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดพะโคะ จังหวัดสงขลา

ชุมชนวัดพะโคะ    เป็นชุมชนโบราณ   โดยปรากฏร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน  และเป็นชุมชนที่เกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระอริยะสงฆ์ชื่อดังที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ   ประกอบอาชีพทางการเกษตร  เช่น ทำนา  ทำน้ำตาลโตนด ทำไร่นาสวนผสม เลี้ยงสัตว์ รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป  

ชุมชนมีพืชเศรษฐกิจคือต้นตาลโตนดจำนวนมากที่สามารถนำมาสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน เช่น น้ำตาลแว่น,น้ำตาลผง น้ำตาลโตนดเหลว ขนมดู ขนมโก่ ซึ่งเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสงขลา สำหรับเป็นของฝากจากชุมชน  เป็นชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ทำให้นำมาจัดการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดพะโคะ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลชุมพลสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นวัดที่มีบทบาทสำคัญในสมัยที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ที่สทิงพระ เป็นศูนย์กลางการปกครองชุมชน และเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด คือเป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยจำพรรษาและบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพะโคะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุประดิษฐานอยู่มากมาย 

วัดดีหลวง ตั้งอยู่ที่ ๒ ตำบลดีหลวง  สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวด และเป็นสำนักเรียนใหญ่มาแต่โบราณ  เป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยบวชเป็นสามเณร และศึกษาวิชาต่าง ๆ ในวัดจนหมดสิ้นและเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านสถาปัตยกรรม   (หากได้มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดดีหลวงจะช่วยเสริมสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลต่อชีวิตในด้าน”ความเฉลียวฉลาด รอบรู้ และประสบความสำเร็จทางการศึกษา)

วัดต้นเลียบ วัดต้นเลียบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลดีหลวง  เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวด กล่าวคือ เป็นบ้านเกิดและเป็นสถานที่ฝังรกหลวงปู่ทวด มีต้นเลียบซึ่งมีอายุยืนยาวมานานมากกว่า ๕๐๐ กว่าปี ปัจจุบันยังยืนต้นเด่นตระหง่าน แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่วมเงาและความร่มรื่นอยู่ภายในวัดต้นเลียบ  ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์  และเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญกับประวัติหลวงปู่ทวด 

ที่พักสงฆ์นาเปล ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลชุมพล เป็นสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติหลวงปู่ทวด กล่าวคือ เป็นสถานที่ที่พญางูคายลูกแก้วคู่บารมีให้กับหลวงปู่ทวดขณะที่ยังเป็นทารก กล่าวขานกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันเป็นที่พักสงฆ์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติท้องทุ่งนาและต้นตาลโตนด มีการสร้างปติมากรรมปูนปั้นจำลองเหตุการณ์เมื่อครั้งพญางูคายลูกแก้วคู่บารมี (หากได้มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดต้นเลียบจะช่วยเสริมสร้างบุญบารมีและเป็นมงคลต่อชีวิตในด้าน “เลี้ยงลูกง่าย เป็นเด็กดี และสุขภาพแข็งแรง”)

โบราณสถานถ้ำเขาคูหา-ตระพังพระ

-โบราณสถานถ้ำเขาคูหาเป็นหลักฐาน ที่แสดงถึงความเป็นชุมชนเก่าแก่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ประมาณ ๑,๒๐๐ ปี มาแล้ว โดยการขุดเจาะหินหรือหน้าผาเข้าไปเป็นถ้ำ เพื่อใช้สถานที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๒ ถ้ำติดกัน ถ้ำที่ ๑ อยู่ทางด้านทิศเหนือถ้ำที่ ๒ อยู่ทางด้านทิศใต้

-โบราณสถานตระพังพระ เป็นสระน้ำขนาดใหญ่มีเกาะอยู่ตรงกลางตระพัง ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากตระพังพระนี้ไปใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ในถ้ำคูหา ต่อมาบริเวณเกาะกลางตระพังแห่งนี้ พุทธศาสนิกชนยังได้ใช้เป็นสถานที่อุปสมบทพระภิกษุที่เรียกว่า     “อุทกเสมา” ที่มีการกำหนดอาณาเขตไว้ว่า “ในการวักน้ำทั้งสี่ด้านต้องไม่ให้ถึงตลิ่งก็ถือว่าเป็นเขตทำสังฆกรรมได้” เพราะฉะนั้นสถานที่แห่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญของสองศาสนา 

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ตำบลชุมพล
ตั้งอยู่ที่วัดนางเหล้า หมู่ที่ ๔ ตำบลชุมพล จัดตั้งขึ้นตามโครงการ“ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช”ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา และเพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรวบรวมมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ในรูปของพิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นเพื่อให้เยาวชนและประชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักรักและหวงแหนในมรดกภูมิปัญญาของท้องถิ่น ภายในจัดแสดงวิถีชีวิตโหนดนา และพระราชประวัติพระมหากษัตริย์ราชวงจักรี และห้องสมุดสำหรับศึกษาค้นคว้า

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หรือ พิพิธภัณฑ์สมเด็จเจ้า  พะโคะ ตั้งอยู่ที่วัดพะโคะ หมู่ที่ ๖ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ จัดแสดงชีวประวัติประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดหรือสมเด็จเจ้าพะโคะทั้งหมด และเก็บรวบรวมวัตถุโบราณที่แสดงถึงวิถีชีวิตของประชาชนในคาบสมุทรสทิงพระ

กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลชุมพล  จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ ๓๐ คน มีภารกิจหลักในการแปรรูปน้ำตาลโตนดเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลแว่น ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ดาวราย” จนได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป ระดับ ๕ ดาวของจังหวัดสงขลา ภายในกลุ่มมีการจัดและสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำตาลแว่น น้ำตาลโตนดผง และผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนครูโรจน์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลชุมพล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ชมวิวและถ่ายรูป) ที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง ท้องทุ่งนาและทุ่งตาลโตนด เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตการทำน้ำตาลโตนด และการทำนาโดยจัดปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับฤดูกาลต่าง ๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติเพื่อให้มีการท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล รวมถึง ได้ร่วมกิจกรรมและสัมผัสวิถีชีวิตตามฤดูกาลต่าง ๆ การสัมผัสภูมิปัญญาพื้นบ้านต่าง ๆ   รวมถึงได้จัดให้มีอาหารและเครื่องดื่มไว้บริการ ด้วย

นายายเอิม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลชุมพล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ชมวิวและถ่ายรูป) ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติของท้องทุ่งนาและทุ่งตาลโตนด เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสธรรมชาติของท้องทุ่งนาและป่าตาลโตนด และอาหารพื้นบ้าน และเครื่องดื่มที่มีไว้บริการตลอดเวลา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนผู้ใหญ่เอ็ม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลชุมพล เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร ประเภทศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดทำสวนมะพร้าวที่ประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างในการทำสวน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะสวนมะพร้าวน้ำหอม สามารถสร้างรายได้ให้ตลอดปี จัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ได้ตลอดฤดูกาล (วิทยากร: นายอภิชาติ  ยุพยงค์)

สวนลุงโรจน์ (โคกหนำ หนองนกเภา) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลดีหลวง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร ประเภทไร่นาสวนผสม รวมถึงการทำนา และการทำสวนสมรม มีผลไม้ เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร กล้วย และพืชผักสวนครัว ต่าง ๆ เช่น มะเขือเทศ ฟักแฟง แตงโม ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ตามฤดูกาล ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสตลอดปี  โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตามฤดูกาล สามารถจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานได้ตลอดฤดูกาล (วิทยากร : นายโรจน์  คชสาร)

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การร่วมหยอดน้ำตาลแว่น กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกิจกรรมการกระบวนการทำน้ำตาลแว่น /ทำน้ำตาลผง ได้ที่กลุ่มกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ทุกขั้นตอน กระบวนการผลิต

การนั่งรถท้องถิ่นชมสถานที่ต่าง ๆ
-โบราณสถานถ้ำเขาคูหา-ตระพังพระ
– ที่พักสงฆ์นาเปล
– วัดต้นเลียบ
– วัดดีหลวง
– วัดพะโคะ นักท่องเที่ยวร่วมสนุกและตื่นเต้นกับการสัมผัสธรรมชาติกับกิจกรรมนั่งรถท้องถิ่นชมสถานที่ต่าง ๆ รอบ ๆ ชุมชนการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในชุมชน เช่น รถรางนำเที่ยว และรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง (ซาเล้ง)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า จังหวัดสงขลา

ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า ตั้งอยู่ชุมชนบ้านหัวนอนวัด ตั้งอยู่ริมคลองอู่ตะเภา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามปะปนกันไป ชาวบ้านประกอบอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่ อาชีพรับจ้างทั่วไป อาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกอ้อย เลี้ยงสัตว์ และอาชีพประมง บริเวณทะเลแถบบ้านแหลมโพธิ์

ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า มีวัดคูเต่าเป็นศูนย์รวมจิตใจ โบราณสถานที่สำคัญของวัดคูเต่า ได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง และศาลาท่าน้ำ “ศาลา ๑๐๐ ปี วัดคูเต่า” ภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดคูเต่า มีสะพานแขวนคูเต่า มีประเพณีการชักพระทางน้ำ ประเพณีการแข่งเรือ และเพลงเรือแหลมโพธิ์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดคูเต่า วัดคูเต่า  เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา ที่ยังคงอนุรักษ์ความเก่าแก่ของโบราณสถานไว้หลายจุดด้วยกัน  โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังพระเวสสันดรชาดกศาลาการเปรียญ หอระฆัง และศาลาท่าน้ำ ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี   

สะพานแขวนวัดคูเต่า เป็นสะพานแขวนที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๖   ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองอู่ตะเภาเชื่อมต่อระหว่าง​ ตำบล      แม่ทอม อำเภอบางกล่ำ กับ ตำบลคูเต่า​ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  มีอายุ ๑๐๔ ปี เป็นสะพานเชื่อม ๒ อำเภอ แห่งแรกของลุ่มน้ำ คลองอู่ตะเภา  ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดเช็คอินแห่งใหม่​ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

ตลาดนัดร้อยปี ตลาดนัดร้อยปี วัดคูเต่า ตั้งอยู่ในวัดคูเต่าจะเปิดเฉพาะวันพฤหัสบดีตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึง สาย ๆ ประมาณ สามโมงเช้า หรือ ๐๙.๐๐ น. ตลาดก็จะเริ่มวาย มีขายตั้งแต่สินค้าพื้นถิ่นไปจนถึงสินค้าต่างถิ่นทั่วไปที่พ่อค้าแม่ค้านำมาขายนับว่าเป็นตลาดพหุวัฒนธรรมเป็นศูนย์รวมสินค้าต่าง ๆ

พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำคลอง อู่ตะเภาตอนล่าง ตั้งอยู่ในวัดคูเต่า เป็นแหล่งรวบรวมและแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ผูกพันกับวิถีชีวิต ความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาตอนล่าง  

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คลองแหวะ เป็นสถานที่เช็คอิน ถ่ายรูป และชมทัศนียภาพทางธรรมชาติ  ส่องดูนกและดูความสวยงามของดอกบัวผุด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนปันสุข เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน

สวนลุงรมย์ เป็นแหล่งเรียนรู้ โคกหนองนา โมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่

         กิจกรรมการท่องเที่ยว

พายเรือคายัคชมธรรมชาติ คลองอู่ตะเภา แหล่งเรียนรู้ หมู่ที่ ๔ ชุมชนบ้านหัวนอนวัด พายเรือชมธรรมชาติคลองอู่ตะเภาถ่ายรูป 

พายเรือคายัคเก็บขยะในคลองอู่ตะเภา แหล่งเรียนรู้ หมู่ที่ ๔ ชุมชนบ้านหัวนอนวัน พายเรือเก็บขยะริมคลองเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในคลองอู่ตะเภา

กิจกรรมดำนาปลูกข้าว แหล่งเรียนรู้อาชีพทำนาหมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๓  และหมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ทอม สัมผัสกิจกรรมดำนาปลูกข้าวโดยเรียนรู้วิธีการตั้งแต่ต้นจนกระทั่งมีการเกี่ยวข้าว การจัดกิจกรรมจะจัดขึ้นตามฤดูกาล

กิจกรรมสานเตยปาหนัน กลุ่มวิสาหกิจจักสานเตยปาหนันตำบลแม่ทอม กิจกรรมเรียนรู้วิธีการจักสานจากเตยปาหนันร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจจักสานเตยปาหนันในตำบลแม่ทอม

กิจกรรมแปรรูปสมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า กิจกรรมที่ร่วมกับกลุ่มสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่าที่มาสาธิตวิธีการแปรรูปสมุนไพรให้มาเป็นผลิตภัณฑ์

กิจกรรมเรียนรู้ขั้นตอนการทำข้าวหลาม กลุ่มข้าวหลามตำบลแม่ทอม กิจกรรมเรียนรู้กระบวนการ/ขั้นตอนการทำข้าวหลามสัมผัสถึงวิธีการทำทุกขั้นตอนจนถึงการทดลองชิมรสชาติของข้าวหลามแม่ทอม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม