Warning: Constant WP_DEBUG already defined in /home2/cp962929/public_html/jk.tours/wp-config.php on line 41
ดอยขุมคำ Archives - JK.TOURS

ชุมชนคุณธรรมบ้านละอูบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

บ้านละอูบเป็นชุมชนชาติพันธุ์ละว้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากตั้งอยู่บนภูเขาสูงในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย มีวัฒนธรรมที่สืบทอดยาวนานมากว่า ๑๓๐ ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและนิยมการทำนาแบบขั้นบันได

บ้านละอูบเป็นชุมชนละว้าที่ยังคงดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่มีชื่อเสียง ภูมิทัศน์โดยรอบที่งดงาม มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ เที่ยวชมวิถีวัฒนธรรมละว้า การทอผ้ากี่เอว การตีมีด สักการะพระองค์ใหญ่ ชมภูมิทัศน์ ๓๖๐ องศา

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศาลหลักเมือง
บ้านละอูบมีศาลหลักเมือง เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ๓ หลังด้วยกันโดยแต่ละหลังจะมีฮญู่ หรือเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองตั้งอยู่ด้านหน้า และด้านหลังละ ๑ ต้น

พระองค์ใหญ่
“องค์พระใหญ่” (พระพุทธนิโรคันตรายนริศรจตุรุทิศประชานาถ
– พระพุทธรูปที่ป้องกันภยันตรายนานา เป็นที่พึ่งพาแก่ประชาชนผู้มากราบไว้บูชาจากทิศทั้งสี่) ประดิษฐานอยู่บนเนินจุดชมทิวทัศน์ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของหมู่บ้าน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ดอยขุมคำ
จุดชมทิวทัศน์ที่สามารถชมพื้นที่ปลูกพืชของชาวแม่ลาน้อย มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ไร่กาแฟบ้านละอูบ
ไร่กาแฟสายพันธุ์อาราบิกา ของชุมชนบ้านละอูบ ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของชุมชน

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมการสาธิตการตีเครื่องเงิน
โรงตีเงิน เป็นแหล่งเรียนรู้การตีเครื่องเงินบ้านละอูบ โดยบ้านละอูบได้มีการทำเครื่องเงินใช้มานานกว่า ๑๒๐ ปี ซึ่งเครื่องเงินมีความสำคัญในวิถีชีวิตชาวเลอเวือะ ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

ชมการสาธิตการตีเหล็ก
โรงตีเหล็ก เป็นแหล่งเรียนรู้ จำหน่ายและสั่งทำมีด รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ตีจากเหล็กหรือโลหะ

ชมการสาธิตการทอผ้า
กลุ่มทอผ้าศิลปาชีพ ผ้าทอละว้าบ้านละอูบ อีกหนึ่งภูมิปัญญาของชาวบ้านละอูบที่ยังคงวิถีดั้งเดิมในการทอผ้าเพื่อใช้สอย

ชมพระอาทิตย์ตกดินและสักการะพระองค์ใหญ่
จุดชมทิวทัศน์ ๓๖๐ องศา  อยู่บนจุดที่สูงสุดของหมู่บ้าน จุดชมวิวแห่งนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของหมู่บ้านที่สวยงามในมุม ๓๖๐ องศา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม