พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา

๑.เยี่ยมชมตำหนักกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ซึ่งปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลปราจีน และกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล ผู้ทรงพระปรีชาชาญในวิชาการปกครองก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง และตำหนักแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ถึง 2 ครั้ง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน เวลา 07.00 – 1๗.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐๙ ๘๕๓๑ ๖๕๑๙
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.chachoengsaomuseum.com/?page=home
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี จันทบุรี

ที่ตั้ง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ (ระหว่าง 10 – 15 บรรทัด)
เดิมคือศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดจันทบุรี ตัวอาคารหอจดหมายเหตุฯ ที่อายุร้อยกว่าปี แต่ยังสวยคลาสสิกข้ามกาลเวลา ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกและตะวันออก ช่องลม ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม ด้านในจัดแสดงเอกสารสำคัญๆ เช่น ทะเบียนรายชื่อ ภาพถ่าย จดหมายเหตุ ภาพยนตร์และสารคดีที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจันทบุรี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 08.00-16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ

๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 0 3938 8116-8
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/archives.chan
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว – ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เมืองโบราณโนนเมือง จังหวัดขอนแก่น

ที่ตั้ง : บ้านโนนเมือง หมู่ ๔ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

๑. เมืองโบราณโนนเมือง เล่าสืบต่อกันมาว่าที่เนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้นเป็นเมืองโบราณ ลักษณะเป็นเนินดินรูปไข่ มีพื้นที่ประมาณ ๑๗๐ ไร่ ล้อมรอบด้วยคูเมือง ๒ ชั้น เมื่อนักโบราณคดีเข้าไปสํารวจพบใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดีปักอยู่ในเมือง และพื้นที่โดยรอบมีเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนเนินดิน เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดงชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบในชั้นดินสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ไม่พบหลักฐานของการฝังศพ สันนิษฐานว่าเมื่อพุทธศาสนาเผยแพร่มาสู่โนนเมือง ประเพณีการฝังศพจึงเปลี่ยนไป ยิ่งขุดชั้นดินลึกลงไปยิ่งพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เมืองโบราณแห่งนี้เคยมีชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ตอนปลาย) พบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว ๒,๕๐๐ ปี ผู้คนสมัยนี้มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ มีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมศพด้วย เช่น หม้อและภาชนะดินเผา มีทั้งลายเขียนสีลายขูดขีดและลายเชือกทาบ รวมทั้งกําไลสัมฤทธิ์ กําไลกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการค้นพบเครื่องมือเหล็กประเภทจอบ เคียวและกระดูกของสัตว์ต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด ทําให้ทราบว่าผู้คนที่นี่ดํารงชีวิตด้วยการทําเกษตรกรรม มีผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่เรื่อยมาจนถึงสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗) และทิ้งร้างไปในที่สุด ปัจจุบันเมืองโบราณโนนเมืองได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงร่องรอยโบราณคดีหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยมีอาคารศูนย์ข้อมูลที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณโนนเมือง
สิ่งที่น่าสนใจ : ใบเสมาหินทรายศิลปะทวาราวดี ,โครงกระดูกมนุษย์ อายุราว ๒,๕๐๐ ปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๔๓๓๑ ๓๔๔๖
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๘.
๖ .สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้า / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมฯ “เที่ยวชุมชนยลวิถี” วัดพระบรมธาตุ ( พระอารามหลวง) จังหวัดกำแพงเพชร

ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ ๖๐๐ กว่าปีที่แล้ว (ยุคสุโขทัย) ดินแดนบริเวณนี้ มีชื่อว่า “นครชุม” และวัดแห่งนี้ก็เป็น พระอารามหลวงประจำเมืองนครชุมมาแต่สมัยนั้น จากข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ ๓ (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียารามเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๐ ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “พระบรมธาตุเจดีย์” เป็นเจดีย์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ๙ องค์อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่าเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูก เมื่อ พ.ศ.๑๙๐๐ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ ๙ คน นอกจากนี้ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญมากมาย ได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุโบสถหลังเก่า พระวิหาร วิหารพระนอน ศาลาเรือนไทย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชนอีกด้วย โดยในปัจจุบันนี้จะมีกิจกรรม สวดมนต์ธรรมจักรซันเดย์ ในทุกวันอาทิตย์ที่ลานองค์พระธาตุ เวลา ๑๘.๐๐ น. ๒.วันเวลา เปิด/ปิด ทุกวัน ๐๙.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๗๘๕ ๓๘๒๖
๕.ช่องทางออนไลน์ Facebook : วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ที่จอดรถ /ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้ง ๑๒๐ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพื่อรวบรวม สงวนรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมท้องถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเน้นสื่อจัดแสดงให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์สัมผัสหน้าจอ หุ่นจำลอง เป็นต้น การจัดแสดงแบ่งเป็น ๓ อาคาร โดย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงเรื่องราวเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์ โดยแบ่งยุคสมัยเป็น ทวารวดี ลพบุรี ศรีวิชัย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ อาคารนิทรรศการ
-จัดแสดงกำแพงเพชรในปัจจุบัน และชนกลุ่มน้อย
๒.วันเวลา เปิด/ปิด วันพุธ- วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ปิด วันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่
ชาวไทย ๒๐ บาท
ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ นักบวชคนพิการ ผู้สูงอายุ (เข้าชมฟรี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๙๗๓ ๘๐๑๓
๕.ช่องทางออนไลน์
www.//finearts.go.th/kamphaengphetmuseum
Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ทางลาด /ลานจอดรถ /ร้านอาหาร /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม