ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยพวน จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง 204 หมู่ที่ 1 หมู่บ้านเกาะหวาย, ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

๑.เรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตแบบวัฒนธรรมไทยพวน และสามารถพักค้างคืนที่ได้
๒.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางสุรีย์ สะเภาทอง โทร. 08 5435 9632
๓.ช่องทางออนไลน์
Facebook ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมไทยพวยตำบลเกาะหวาย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เฮือนฝ้าย ด้ายงาม จ.เชียงใหม่

ที่ตั้ง 145/2 หมู่3 ถนน เชียงใหม่-สันกำแพง สันกลาง สันกำแพง เชียงใหม่ 50130
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ เฮือนฝ้ายด้ายงาม
๒.ชื่อผู้ประกอบการคุณกุณฑลี ระพิพงษ์
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าฝ้ายทอมือ
รายละเอียดความโดดเด่น

ผ้าทอด้วยมือมีความผูกพัน เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตคนไทยมานานนับศตวรรษ ความเป็นมาในอดีต ได้ถูกบันทึกผ่านตั้งแต่การเตรียมเส้นใย การย้อมสี การออกลายผ้า ไปจนถึงการทอผ้า ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของชาวล้านนา
การทอผ้า เป็นศิลปะที่สร้างสรรค์จากมือ ผ่านการลองผิดลองถูก และฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ผ้าทอมือจึงทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์ และความสวยงามตราบจนทุกวันนี้
“เฮือนฝ้ายด้ายงาม” เลือกเส้นใยคุณภาพ กวัก ปั่น ย้อมสี ถักทอเป็นผืนผ้าที่มีคุณภาพ นำมาตัดเย็บโดยช่างฝีมือที่มีความประณีต ผสานกับการออกแบบในแนว ‘ล้านนาร่วมสมัย’
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันจันทร์-เสาร์ 08.30 – 17.30 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
053-960314
095-2924247
๖.ช่องทางออนไลน์
http://www.huanfai-daingam.com/
https://www.facebook.com/HuanfaiDaingame/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดถาวรชัยศิริ(วัดด้อแด้) จังหวัดชัยภูมิ

ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าหว้าน หมู่ ๔ ตำบลห้วยยางอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

๑. วัดถาวรชัยศิริ เดิมชื่อว่า วัดด้อแด้สายธารธรรม คำว่าด้อแด้เป็นภาษาถิ่นคอนสารแปลว่าสูงและสืบเนื่องจากทางเข้าหมู่บ้านมีจะต้นเสลี่ยงใหญ่และมีผึ้งไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่มีใครสามารถปีนเอาผึ้งได้เพราะต้นเสลี่ยงสูงมากซึ่งชาวบ้านจะพูดว่าสูงด้อแด้ คำว่าด้อแด้เป็นภาษาถิ่นคอนสารแปลว่าสูงและสืบเนื่องจากทางเข้าหมู่บ้านมีต้นจะเสลี่ยงใหญ่และมีผึ้งไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่มีใครสามารถปีนเอาผึ้งได้เพราะต้นเสลี่ยงสูงมากซึ่งชาวบ้านจะพูดว่าสูงด้อแด้ มีอุโบสถจตุรมุข และองค์หลวงพ่อใหญ่ตั้งอยู่บนหลังคาอุโบสถ กำแพงแก้วรอบอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ และมีรูปปั้นพญานาคสี่ตระกูลใหญ่ กุฎีสงฆ์ทรงไทยประยุกต์ มีลานธรรมกลางสวนป่าที่ร่มรื่น สงบ เป็นสัปปายะ ปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะอาดร่มรื่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่งดงามของเมืองคอนสาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ปราสาทสัจธรรม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ที่ตั้ง : เลขที่ 206/2 หมู่ที่ 5 ถนนพัทยา-นาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
๑. พิพิธภัณฑ์ปราสาทสัจธรรม ตั้งอยู่ที่แหลมราชเวช อ่าววงพระจันทร์ ตำบลนาเกลือ อำเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้แกะสลักทั้งหลังเป็นทรงไทยจตุรมุข ด้านล่างของฐานเป็นลักษณะฐานสิงห์ ห้องโถงและหน้าต่างเปิดให้ลมและแสงสว่างเข้าออกทั้ง 4 ด้าน ตกแต่งเป็นศิลปะแนวความคิดสมัยใหม่ที่ผสมผสานศิลปะอยุธยาตอนต้นจนถึงศิลปะรัตนโกสินทร์ เจ้าของโครงการและออกแบบโดยคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2524 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูความสำคัญของศาสนาปรัชญา ว่าเป็นสิ่งสำคัญค้ำจุนโลกในมิติด้านจิตวิญญาณและความศรัทธาอันแรงกล้าในงานศิลปะ ที่สื่อถึงจริยธรรม – วัฒนธรรมอันดีงามของการสอนมนุษย์สร้างความดีละเว้นความชั่ว พิพิธภัณฑ์ปราสาทสัจธรรม มีประติมากรรมไม้แกะสลักที่วิจิตรพิสดารอยู่แทบทุกจุดของปราสาท ที่บ่งบอกถึงหลัดธรรมคำสอนของพระพุทธศาสดา หลักสัจธรรม และวัฒนธรรมประเพณีในทุกห้อง ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้แล้ว ความประณีตและตวามสวยงามของประติมากรรมยังเป็นจุดถ่ายภาพที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 8.00 – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
คนไทยและต่างชาติ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 250 บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถามโทร. 0 3811 0656
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : Sanctuary of Truth museum
http://www.sanctuaryoftruthmuseum.com/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักรสานไม้ไผ่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ที่ตั้ง : ถนนอินทอาษา อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

๑. ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ : ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่
๒. ชื่อผู้ประกอบการ : นายคมกฤช บริบรูณ์
๓. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๕๒๑ เมื่อมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ได้มีโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ ที่มีความละเอียดอ่อน เเละประณีตสวยงาม เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานจักสานด้วยไม้ไผ่ โดยเฉพาะการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล ของชาวพนัสนิคม ต่อยอดสู่การแปรรูปและพัฒนาเครื่องจักสาน สู่ระดับการส่งออกต่างประเทศ
๔. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์ (หยุดวันอาทิตย์)
เวลาทำการ 08.00 น. – 17.00 น.
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม: ๐ ๓๘๔๖ ๑๓๑๓
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่
เว็บไซต์ : https://www.tbhc1978.com/th/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี

ที่ตั้ง เลขที่ ๘๔ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. ตลาดริมน้ำ 100 ปี (ตลาดบ้านใหม่) มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารอร่อย ขนมและของขบเคี้ยวนานาชนิด รวมถึงอาหารคาวหวานโบราณหลากหลายชนิด ชุมชนคุณธรรมตลาดบ้านใหม่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุมชนหนึ่งที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีระยะทางไม่ไกลประมาณ 90 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานคร และมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่มีความหลากหลาย มีทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางวัฒนธรรม ลักษณะภูมิประเทศที่น่าสนใจเพราะมีแม่น้ำบางปะกงและป่าไม้สมบูรณ์ ลักษณะเมืองวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่ายของชุมชนเก่าแก่ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อหลวงพ่อโสธรที่ศักดิ์สิทธิ์ วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งเหมาะแก่การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง จังหวัดฉะเชิงเทราถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์บ้านเรือนเก่า ที่สวยงามและมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีชีวิตชุชมชนที่มีเสน่ห์เฉพาะท้องถิ่น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนที่ตลาดบ้านใหม่ ซึ่งเป็นตลาดริมน้ำร้อยปี อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ข้าวห่อใบบัวครูลิน
2.2. กาแฟแป๊ะเอ๊ย
2.3. ร้านตำเคียงน้ำ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี จันทบุรี

ที่ตั้ง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑. ความโดดเด่น/ความสำคัญ (ระหว่าง 10 – 15 บรรทัด)
เดิมคือศาลากลางหลังเก่าของจังหวัดจันทบุรี ตัวอาคารหอจดหมายเหตุฯ ที่อายุร้อยกว่าปี แต่ยังสวยคลาสสิกข้ามกาลเวลา ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกและตะวันออก ช่องลม ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม ด้านในจัดแสดงเอกสารสำคัญๆ เช่น ทะเบียนรายชื่อ ภาพถ่าย จดหมายเหตุ ภาพยนตร์และสารคดีที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจันทบุรี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน 08.00-16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ

๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ 0 3938 8116-8
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/archives.chan
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
/ ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว – ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความงดงามอลังการของศิลปกรรมไทยในยุคแรกๆ ผลงานทาง ศิลปกรรมที่เป็นเลิศนี้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๓ แห่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ โบราณสถานที่น่าสนใจในเขตกำแพงเมือง ได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ สระมน ศาลพระอิศวร ในส่วนของโบราณสถานที่น่าสนใจในเขตโบราณสถานนอกเมือง หรือ เขตอรัญญิก ได้แก่ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระสิงห์ วัดช้างรอบ เป็นต้น
๒.วันเวลา เปิด/ปิด
ทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ น.- ๑๖.๓๐ น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่
ชาวไทย ๑๐ บาท
ชาวต่างชาติ ๓๐ บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ๐ ๕๕๗๑ ๑๙๒๑
สำนักงาน ททท. ๐ ๕๕๕๑ ๔๓๔๑-๓
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ทางลาด /ลานจอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบางสระเก้า จังหวัดจันทบุรี

ชุมชนสวรรค์บนดิน ถิ่นบางสระเก้า (ดินแดน ๓ น้ำ ๙ นา) เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นชุมชนเกษตรกรรม มีพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำที่เชื่อมสู่ทะเลป่าชายเลน โดยชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวข้องกับการทอเสื่อ ทำนา ทำสวนผลไม้ และการประมงพื้นบ้าน อย่างที่เรียก 3 น้ำ 9 นา คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย พร้อมทำนาข้าว นากก นาปอ นาบัว นาถั่ว นาข้าวโพด นามะพร้าว นามะนาว และนากุ้ง

คงเสน่ห์ด้วยวิถีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่มีเอกลักษณ์แบบดั้งเดิม นักท่องเที่ยวจะได้ไหว้พระขอพรหลวงพ่อเต่า นั่งซาเล้ง ตะลุยชุมชน ชมวิถีชีวิต 3 น้ำ 9 ลิ้มรสอาหาร ๕ หมู่ (บ้าน) ชมสาธิตและร่วมทำเสื่อกก   จันทบูร และการทำเหละ เดินชมตลาดสี่มุมเมรุ ตลาดที่ไม่กลัวความตาย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบางสระเก้า

ศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า

กิจกรรมของศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า

1. ส่งเสริมการปลูกกก ปลูกปอ จุดมุ่งหมายต้องการให้ลดต้นทุนการผลิตมีวัตถุดิบในพื้นที่เพียงพอ ส่งเสริมด้านเงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกและจัดเตรียม มีการคืนทุนสังคมของสมาชิก

2. รับซื้อและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน การรับซื้อจะรับซื้อเสื่อกกจากสมาชิกและแปรรูปวางจำหน่าย  โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ 

ตลาดสี่มุมเมรุ ตลาดพื้นบ้านที่มีในชุมชน เปิดทุกวันบริเวณสี่แยกมุมเมรุวัดบางสระเก้า สินค้าพื้นบ้าน เช่น กุ้งแห้ง กะปิ  ทุเรียนทอด  ปลา ปู กุ้ง สดจากทะเล ฯลฯ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ศูนย์เรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ บ้านปลา-ธนาคารปู หมู่ที่ ๕ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลบางสระเก้า โดยริเริ่มของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำด้วยการเสริมสร้างระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารของชุมชน และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

ป่าตะกาดใหญ่ พื้นที่ราว 150 ไร่ บริเวณหมู่ 4 ตำบลบางสระเก้า อันเป็นที่ตั้งของป่าตะกาดใหญ่ อุดมไปด้วยป่าไม้ชายเลนชนิดต่าง ๆ เช่น  โกงกาง  ขลู่  แสม ฝาด ฯลฯ  เป็นแหล่งอาหารแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์ให้อุดมสมบูรณ์

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนปันสุข สร้างชาติ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง วัดบางสระเก้า เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน มีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายคนในชุมชน รวมทั้งผู้ที่เดือดร้อน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำบุญตักบาตร หน้าวัดบางสระเก้า การทำบุญตักบาตร พระที่เดินบิณฑบาต ยามเช้า

ชมและร่วมสาธิตการทำเสื่อกก กลุ่มทอเสื่อกก นักท่องเที่ยวหรือผู้มาศึกษาดูงาน นอกจากจะได้ชมและเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเสื่อกก ยังสามารถร่วมทอเสื่อกกได้ด้วย

ชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมชุมชน ระบำทอเสื่อ

– องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า

– ลานวัฒนธรรม กิจกรรม ศุกร์สร้างสรรค์ ลานสามสุข เป็นการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงาน “ระบำทอเสื่อ”

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม