วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง จังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้ง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
๑.วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง เดิมชื่อว่า วัดกลาง เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2423 เมื่อครั้งยังเป็นมณฑลภูเก็ตสันนิษฐานกันว่าเจ้าเมืองเป็นผู้สร้างและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2428 ซึ่งพระยารัษฎาฯ จะตัดถนนผ่านวัดโดยตัดจากซอยรมณีย์ออกถนนทุ่งคาแต่ท่านพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (เพรา) ท่านไม่ยอมเพราะจะต้องตัดตรงผ่านโบสถ์ด้วยถ้าตัดถนนผ่านวัดคราวนั้นธรณีสงฆ์อาจแคบกว่าที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ แต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จไปวัดมงคลนิมิตร ท่านพระครูวัดฉลองซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดและเป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิตร ทรงเห็นอุโบสถชำรุด ทรุดโทรมไปมากแล้วจึงโปรดเกล้าให้พระยาศรีสรราช จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2450 และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ทรงไทย โดยจัดกิจกรรมสำคัญของจังหวัดเสมอ อาทิ พิธีทำน้ำพิพัฒสัตยา การถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน การรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ในโอกาสเยี่ยมประชาชนจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. ๒๕๐๒


๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๗.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 7521 2196


๕.ช่องทางออนไลน์
เฟสบุคส์ วัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวง
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดกลาง พระอารามหลวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ที่ตั้ง 47 ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

๑.เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง และเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธ สัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ ที่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวกาฬสินธุ์ โดยมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ กวาดต้อนประชาชนชาวผู้ไทมาจากลาว ประเทศลาวมีบ่อคำแดงมากบริเวณสะหวันนะเขต มีคณะที่อพยพมาจากประเทศลาวไปอยู่ที่เมืองภูแล่นช้าง ซึ่งปัจจุบันคือตำบลนาขาม อำเภอนาดู จังหวัดกาพสินธุ์ และญาคูกิวซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ ได้นำทองแดงและทองคำที่ได้มาจากประเทศลาวเพื่อประกอบพิธีหล่อองค์พระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2353 โดยมีช่างจากล้านนาโบราณที่เชี่ยวชาญมาช่วยในการหล่อ แต่ว่าทองแดงไม่พอจึงกลับไปเอาทองแดงอีกครั้ง เมื่อหล่อองค์พระพุทธรูปเสร็จปรากฏว่าทองแดง ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของพระพุทธรูปนั้นทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้เกิดปฏิกิริยาออกชิเดชั่น เกิดเป็นสนิมสีดำ เกาะติดรอบพระพุทธรูป เมื่อชัดสนิมออกแล้วก็จะเห็นสีของทองแดงแต่เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ก็กลับมาเป็นสีดำเช่นเดิม ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า หลวงพ่อองค์ดำต่อมาได้มีการนำไปประดิบฐานที่วัดนาขาม และในสมัยพระยาชัยสุนทร(เก) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ องค์ที่ 11 ได้เดินทางไปตรวจราชการที่บ้านนาขาม แล้วได้พบเห็นหลวงพ่อองค์ดำที่วัดนาขาม เป็นพระที่มีลักษณะงดงาม จึงมีความต้องการที่จะนำไปประดิษฐานไว้ที่โฮงผู้ว่าฯ (จวนผู้ว่าฯ)และก็ได้เกิดเหตุอาเพศต่างๆมากมาย จึงได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดกลาง ปาฏิหาริย์ต่างๆ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๕.๓๐-๒๑.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม พระครูปัญญามัชฌิมานุกูล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง เบอร์ 09 8654 5789
๕.ช่องทางออนไลน์ มีเพจ:วัดกลางพระอารามหลวง, พระครูปัญญามัชฌิมานุกูล
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมชุมชนคุณธรรมบ้านดงยาง (ชมรมไทย-ลาวแง้วทองอน) จังหวัดสิงห์บุรี

ชุมชนคุณธรรมบ้านดงยาง (ชมรมไทย-ลาวแง้วทองเอน) ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 12 ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ใจกลางชุมชนมีคลองส่งน้ำของกรมชลประทานตัดผ่าน ทำให้ชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี สภาพบ้านเรือนมีทั้งในยุคอดีตและยุคปัจจุบัน การเดินทางเข้า-ออก จากชุมชนโดยรถยนต์ส่วนตัว (ไม่มีรถประจำทาง) ถนนในหมู่บ้านเป็นถนน 2 เลน สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้ รวม 15 หมู่บ้าน

ชุมชนคุณธรรมบ้านดงยาง เสน่ห์ของชุมชน คือ อัตลักษณ์ที่โดดเด่น รวม 5 ด้าน ได้แก่ การแต่งกาย ภาษา การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น และอาชีพจักสาน คนในชุมชนอยู่กันแบบญาติพี่น้อง ไม่มีการแบ่งกลุ่มแบ่งชนชั้น มีความรัก ความสามัคคี มีอัธยาศัยไมตรี และมีความเป็นเจ้าบ้านที่ดี ชุมชนจึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเข้าไปเยี่ยมชมเป็นประจำตลอดทั้งปี 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดดงยาง หมู่ที่ ๑๒ ตำบลทองเอน
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัดมีต้นยางอยู่จำนวนมาก จึงเรียกกันว่า “วัดดงยาง” แต่ต้นยางรุ่นเก่าได้หมดไปแล้ว ปัจจุบันเป็นต้นยางที่พระครูโสภิตกิติคุณ และชาวบ้านได้ช่วยกันปลูกขึ้นมา ภายในวัดมีปูชนียวัตถุ คือ วิหารหลวงพ่อใหญ่พระเนตรมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คนในชุมชนเคารพนับถือ

วัดกฤษณะ เวฬุพุทธาราม (วัดไผ่ดำ) หมู่ที่ 4 ตำบลทองเอน
วัดเป็นสถานที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยารูปทรงระฆังคว่ำที่ยังคงลักษณะสมบูรณ์กว่าเจดีย์องค์อื่น ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะพื้นเจดีย์เพื่อป้องกันการพังทลาย ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์ใหม่ เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๐ นอกจากนี้ยังมีต้นไผ่ดำซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด

วัดกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลทองเอน
วัดเป็นสถานที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะของเจดีย์เป็นอิฐมอญแดงโบราณ ทับซ้อนกันรูปทรงเจดีย์แบบเก่า บนยอดเจดีย์มีต้นจำปาคู่อายุกว่า 100 ปี

อาคาร 100 ปี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ชาวไทย-ลาวแง้ว ทองเอน
อาคาร 100 ปี ตั้งอยู่ภายในวัดดงยาง เป็นอาคารสำหรับจัดแสดงประวัติความเป็นมาของชาวลาวแง้วทองเอน ที่มาของชื่อตำบลทองเอน และเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวลาวแง้วทองเอน ตั้งแต่สมัยอดีต

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เกี่ยวกับการเปลี่ยนสายพันธุ์และการตัดแต่งกิ่งมะม่วง พร้อมทั้งจำหน่ายมะม่วงและมะม่วงน้ำปลาหวานเพื่อเป็นของฝาก

ไร่แสนสมบูรณ์ หมู่ที่ 9 ตำบลทองเอน

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา  โคกหนองนาโมเดล แหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมแบบครบวงจร ภายในไร่จัดให้มีกิจกรรมฐานเรียนรู้การทำนา จับปลา จับกุ้ง เลี้ยงเป็ด ฝึกทำไข่เค็มใบเตย พายเรือเก็บดอกบัว พับดอกบัว และรับประทานอาหารพื้นบ้านกลางทุ่ง

สวนคำภาหรรษา หมู่ที่ 10 ตำบลทองเอน
ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและไร่นาสวนผสม บนเนื้อที่ 8 ไร่ ที่มีทั้งบึงบัว  บ่อปลา
บ่อกบ นาข้าว แปลงผัก ผลไม้ และคอกแพะ

บ้านสวนเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 1 ตำบลทองเอนแหล่งเรียนรู้การทำสวนเกษตรอินทรีย์บนเนื้อที่ 4 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักประเภทไม้เลื้อยไว้ด้านบนมุ้ง สำหรับผักประเภทอื่น อาทิ สะเดา ขนุน มะม่วง ปลูกไว้ด้านล่าง รวมทั้งจัดทำน้ำหมักสมุนไพร จำนวน 12 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณในการนำไปใช้กับพืช และบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค
แหล่งเรียนรู้การทำสวนเกษตรอินทรีย์บนเนื้อที่ 4 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักประเภทไม้เลื้อยไว้ด้านบนมุ้ง สำหรับผักประเภทอื่น อาทิ สะเดา ขนุน มะม่วง ปลูกไว้ด้านล่าง รวมทั้งจัดทำน้ำหมักสมุนไพร จำนวน 12 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณในการนำไปใช้กับพืช และบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรค

สวนอินทผาลัม ทองเอน หมู่ที่ 7 ตำบลทองเอน
แหล่งศึกษาเรียนรู้การปลูกต้น อินทผาลัมพันธุ์บาฮี บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ และจำหน่ายผลอินทผาลัมเพื่อรับประทานและเป็นของฝาก
ไร่สิงห์เกษตร หมู่ที่ 7 ตำบลทองเอน
แหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน บนเนื้อที่ 25 ไร่ แบ่งเป็นโซนปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกดอกไม้ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร จุดพักรถ จุดถ่ายรูป และจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรจากชุมชนเพื่อเป็นของฝาก

บ้านสวนศิลป์ สุขดี หมู่ที่ 5 ตำบลทองเอน
สวนเกษตรผสมผสานและการสร้างงานศิลปะจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น การทำกระถางต้นไม้จากผ้าเช็ดหน้า กระถางต้นไม้จากแผงรังใส่ไข่ และทำพวงกุญแจจากเปลือกหอยขม 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การสร้างงานศิลปะจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
บ้านสวนศิลป์ สุขดี หมู่ที่ 5 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการสาธิตและร่วมทำกระถางต้นไม้จากผ้าเช็ดหน้า กระถางต้นไม้จากแผงรังใส่ไข่ และทำพวงกุญแจจากเปลือกหอยขม พร้อมทั้งสามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึก

การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเปลี่ยนสายพันธุ์มะม่วง และการตัดแต่งกิ่งมะม่วง

สวนมะม่วงสองเรา” หมู่ที่ 14 ตำบลทองเอนนักท่องเที่ยวที่มาชมสวนจะได้รู้จักมะม่วงสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งฟังการบรรยายวิธีการเปลี่ยนสายพันธุ์มะม่วง การตัดแต่งกิ่งมะม่วง รวมทั้งวิธีการทำน้ำปลาหวานสูตรเข้มข้นเพื่อทานกับมะม่วงที่เก็บจากต้นสด ๆ และซื้อกลับไปเป็นของฝาก

การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและการทำไร่นาสวนผสม

สวนคำภาหรรษา หมู่ที่ 10 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ฟังบรรยายเรื่อง องค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และชมไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งให้อาหารแพะ เรือพายเก็บดอกบัวขึ้นมาพับแล้วนำไปสักการะพระพุทธรูป

การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชา โคก หนอง นาโมเดล
ไร่แสนสมบูรณ์  หมู่ที่ 9 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้เข้าร่วมกิจกรรมฐานเรียนรู้อาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา จับปลา จับกุ้ง ฝึกการทำไข่เค็มกลิ่นใบเตย การพับดอกบัว พายเรือเก็บดอกบัวในบึง ชมบ่อเลี้ยงกบ ปลา เป็ด และแปลงผักสวนครัวและรับประทานอาหารพื้นบ้าน

การจัดทำผลิตภัณฑ์ จักสานบ้านทองเอน
กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานงอบไทย-ลาวแง้วทองเอน หมู่ที่ 1 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการสาธิต พร้อมทั้งฝึกหัดวิธีการจักสานงอบใบลาน และการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จักสานของชมรมไทย-ลาวเง้วทองเอน
การทำขนมหวานและแปรรูปอาหารจากผลไม้
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมหวานบ้านทองเอน หมู่ที่ 1 ตำบลทองเอน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการผลิตอาหารแปรรูปจากผลไม้ ชมการสาธิต และทดลองแปรรูปอาหารจากผลไม้ พร้อมทั้งซื้อสินค้าขนมหวานบ้านทองเอนกลับไปรับประทานและเป็นของฝาก