วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

ที่ตั้ง ถนนดำเนินเกษม ตำบลคลองกระแชงอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
๑.วัดมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ทาง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชร เดิมมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ วัดพระธาตุ, วัดหน้าพระธาตุ หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดมหาธาตุไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยทวารวดี – สุโขทัย มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี โดยพบหลักฐานสำคัญคือ ซากอิฐสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก และน่าจะเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ภายในพระวิหารของวัด ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ที่ผนังทุกด้านมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม และที่หน้าบัน ประดับด้วยลาย ปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ด้านหลังพระวิหารหลวง คือ พระปรางค์ 5 ยอด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้น ประดับกระจกสวยสดงดงาม
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม โทร. 0 3289 8375
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อาคารร้านค้าขายของฝาก ของที่ระลึก (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร) จังหวัดพิษณุโลก

ที่ตั้ง ภายในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (ด้านหลังวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช)
๑.อาคารร้านค้าขายของฝาก ของที่ระลึก (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร) ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช เป็นศูนย์รวมและจำหน่ายสินค้าของฝากของที่ระลึกจากทุกอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียง ภายในอาคารประกอบด้วยร้านจำหน่ายสินค้าอยู่มากมายกว่า ๒๐๐ ร้านให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชมและเลือกซื้อ นอกจากนี้บริเวณด้านข้างพระวิหารยังมีสถานที่ให้เช่าบูชาวัตถุมงคล
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง)
ผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป, หมี่ซั่ว, เมี่ยงกะปิ, ข้าวเกรียบ, มะขามคลุกหมูยอ, ยาสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์จากผ้า, ผลิตภัณฑ์จากไม้, ผลิตภัณฑ์กระเป๋า
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดเวลา ๐๖.๐๐ น. – ๑๘.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5525 8966
๕.ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม