
จากประวัติความเป็นมา เชื่อว่าชุมชนมีเชื้อสายของลาวหลวงพระบาง ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือน ๑๒๕ ครัวเรือน (ข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๖๒) ประชากรทั้งหมด ๔๗๗ คน ส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๙ นับถือพุทธศาสนา
มีการแต่งกายและภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทภู มีการสืบสานบุญประเพณีวันธรรมสวนะโดยจัดกิจกรรมตักบาตรวันเดียวสองจังหวัด (อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น) บริเวณขัวพี่เมืองน้อง ตลอดจนได้ฟื้นฟูประเพณีตรุษไทภูผาม่าน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๔ หรือบุญเดือนสี่
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์
วิหารหลวงปู่ลี
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน
ต้นเฉลียงทอง
มีอายุเกือบ ๓๐๐ ปี ได้รับการยกย่องให้เป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๒

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
รอเวลาตามนัด คือ ราว ๑๗.๓๐ น. รอคอยการบินออกจากถ้ำยามโพล้เพล้ของ “ค้างคาว” นับล้าน ๆ ตัว บินเป็นสายยาวสุดสายตา สมฉายา “มังกรแห่งภูผาม่าน” เป็นริ้ว เป็นสาย ต่อเนื่องนานราวกว่า ๔๐ นาที ถือว่าเป็นอะเมซิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้พองฟูในอารมณ์ สุขใจแบบบอกไม่ถูก

น้ำผุดตาดเต่า
น้ำผุดธรรมชาติสีเขียวมรกตในลำห้วย ร่มรื่น ได้บรรยายกาศแบบ ชิล ชิล

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรัพย์สมบูรณ์
แหล่งเรียนรู้การทำสมุนไพรแปรรูป เป็นความสามัคคีขยันของสมาชิก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปขายทั่วประเทศ เช่น ฟ้าทะลายโจร หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ ทำยอดขายเกินกว่าสิบล้านบาท
กิจกรรมการท่องเที่ยว
ตักบาตรขัวพี่น้องสองจังหวัด
ขัวพี่น้องสองจังหวัด (ขอนแก่น-ชัยภูมิ) เป็นการตักบาตรวันเดียวสองจังหวัด (อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น กับ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ) บริเวณสะพานพี่เมืองน้องซึ่งเป็นการสืบสานบุญประเพณีทุกวันธรรมสวนะ
ปั่นจักรยานเยี่ยมชมวิถีชุมชน
ชุมชนคุณธรรมฯ วัดเฉลียงทอง ปั่น ปั่น เยี่ยมชมชุมชน มองไกลออกไปด้านข้างพบภูเขาทรง คล้ายมิติสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ว่า “ภูผาม่าน” หมายถึง ลักษณะของภูเขาทรงคล้ายผ้าม่าน


ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม