อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว จังหวัดระนอง

ที่ตั้ง 76/5 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
 ๑.น้ำตกหงาวเดิมคือ วนอุทยานน้ำตกหงาว อยู่ในท้องที่ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีแนวเขตตามแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาน้ำตกหงาว มีเนื้อที่ประมาณ 2.93 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดระนอง อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดระนองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 จนถึงปี พ.ศ. 2524 จึงได้โอนไปขึ้นกับกองอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแหลมสนมาเป็นผู้ควบคุมดูแลวนอุทยานน้ำตกหงาวอีกหน้าที่หนึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้มีการผนวกวนอุทยานน้ำตกหงาวเข้าเป็นเขตอุทยานแห่งชาติคลองเพราและเปลี่ยนชื่อมาเป็น “อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว” เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้วประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 417,500 ไร่
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 0๗.00 – ๑๘.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน เหมาะกับการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ทางเดินป่า เที่ยวน้ำตก ชมพรรณไม้ ดูนก/ดูผีเสื้อ/ส่องสัตว์ดูดาว อาบน้ำแร่
๖. ช่องทางออนไลน์ E-mail : ngaowaterfall@hotmail.com เว็บไซต์ สำนักงานอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว จังหวัดระนอง

ตำบลหงาวเกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านจากอำเภอกะเปอร์ และจังหวัดภูเก็ต คือมีชาวบ้านเชื้อสายจีน     ที่เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ต  กลุ่มใหญ่เข้ามาประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ บางส่วนก็เลี้ยงวัวไว้บริเวณเชิงเขา จึงเรียกทุ่งหญ้าเลี้ยงวัว เป็นภาษาจีนว่า “ทุ่งโหงว” แปลเป็นไทยว่า “ทุ่งวัวป่า” จากนั้นชาวบ้านและคนรุ่นหลังได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ “บ้านทุ่งหงาว”      สืบต่อกันมา

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพภูมิประเทศ มีทั้งที่ราบ ภูเขา และทะเล ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และหลากหลายทางธรรมชาติ และวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม มีวัดบ้านหงาวเป็นศูนย์รวมจิตใจ โดยเฉพาะ หลวงพ่อดีบุก “พระติปุกะพุทธมหาศากยมุนีศรีระณังค์” พระประธานในอุโบสถ มีประเพณีตักบาตรเทโว มีกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (ไม้โกงกาง)  การแสดงพื้นบ้าน “หงาวบ้านเรา” และมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในวัด  และแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่ การทำกะปิกุ้ง การทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

“หลวงพ่อดีบุก” พระประธานในอุโบสถวัดบ้าน หงาว “หลวงพ่อดีบุก”หรือ พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยแร่ดีบุก   ซึ่งเป็นโลหะธาตุหล่อองค์พระพุทธรูป อันมีนัยแห่งความดี หมายถึง  “ความ “ดี” ที่ “บุก”  เอาชนะความชั่ว” หรือ “ดี บุก ชั่ว”  แร่ดีบุกมีอยู่มากมายในจังหวัดระนอง จนได้ชื่อว่า “เมืองแร่นอง” และต่อมาเพี้ยนมาเป็น “ระนอง”ประกอบกับตำบลหงาวเป็นแหล่งแร่ดีบุก อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง การสร้างพระประธานในอุโบสถด้วยแร่ดีบุกทำให้คนรุ่นใหม่รู้จักแร่ดีบุก  องค์พระประธานนี้มีชื่อสามัญว่า “หลวงพ่อดีบุก” ส่วนชื่อที่เป็นทางการคือ “พระติปุ-กะพุทธมหาศากยมุนีศรีระณังค์” อันมีความหมาย ว่า“พระพุทธรูปดีบุกองค์ใหญ่เป็นสิริมงคลและศักดิ์ศรีของเมืองระนอง”

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช เฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช  ตำบลหงาว จังหวัดระนอง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงวัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งความเป็นอยู่ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป ภายในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มีวัตถุโบราณมากมาย ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตำบลหงาว

ภาพเขียนรอบอุโบสถ ที่ตั้ง 63/2 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 บริเวณรอบ ๆ อุโบสถ มีหินแกะสลักเป็นเรื่องเล่าของเมืองระนอง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวภูเขาหญ้า ภูเขาหญ้า ระนอง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง ระนอง เป็นภูเขาที่  ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นมีแต่ต้นหญ้า ปกคลุมแนวเขาที่ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ภูเขาที่เต็ม ไปด้วยหญ้าต่างสีต่างวันเวลาและเนินเขางดงาม ในช่วงฤดูแล้งภูเขาหญ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวยิ่งในช่วงในตกใหม่ ๆ อาจมีโอกาสได้เห็นสายหมอกฝนลอยไปมาอีกด้วย  จึงนิยมเรียกกันว่า “ภูเขาหญ้าสองสี” การชม ภูเขาหญ้านอกจากจะชมได้จากลานกว้างด้านล่างแล้ว ยังสามารถขึ้นไปชมวิวในมุมสูงมีทางราบเชิงเขา มีทางเดินเท้าสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นสู่บนสันเขาเพื่อชมทิวทัศน์โดยรอบ ซึ่งภูเขาแต่ละลูกไม่สูงมาก สามารถเดินเท้าขึ้นไปตามทางจากลูกนี้เดินต่อไปยังอีกลูกซึ่งเชื่อมต่อกัน

ศูนย์วิจัยทรัพยากร ป่าชายเลนที่ ๓ ๑๘๕ หมู่ ๔ ตำบลหงาว  อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ที่ตั้ง ๑๗๖/๕  ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โทร ๐ ๗๗๘๑ ๐๖๕๑

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติคลองเพรา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๑๗,๕๐๐ ไร่ หรือ ๖๖๘ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมที่ดินป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่อำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และที่ดินป่าทุ่งระยะ ป่านาสัก      ป่าเขาตังอา ป่าคลองโชน ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และ ป่าปากทรง อำเภอสวี อำเภอหลังสวน  และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ นับเป็นอุทยานฯ ลำดับที่ ๙๓ ของประเทศ

ยอดภูหงาวดาวดึงส์ มีบันไดขึ้นยอดภูหงาว จำนวน ๓๔๓ ขั้น บนยอดเขามีจุดชมวิวที่สวยงามมาก  โดยเฉพาะตอนเย็นจะมองเห็นพระอาทิตย์ตก และท้องฟ้าสวยงามมาก
ที่ตั้ง วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมือง  จังหวัดระนอง

วังมัจฉา ตั้งอยู่ในวัดบ้านหงาว ทางขึ้น ภูหงาวดาวดึงส์ วังมัจฉา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้แก่ปลาบึก ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลาดุกยักษ์ ปลาตะเพียน ปลานิล ฯลฯ และเป็นสถานที่ให้อาหารปลา ปล่อยปลา นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารให้ปลาได้ ราคาชุดละ 10 บาท

อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะระนอง ๑๙๒  หมู่ ๔ ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง โทร  ๐ ๗๗๘๑ ๓๘๔๐

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง / ศาสตร์พระราชา ตั้งอยู่เลขที่ 178/5 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง     จังหวัดระนอง ครอบครัวบ้านนายสุเทพ รอดคง ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม “โคก หนอง นา โมเดล”  มีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อใช้ประกอบอาหาร เช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง พริกไทย สามารถลดรายจ่ายจากการซื้อผักกินกว่าเดือนละ 1,000 บาท มีผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน และเหลือนำไปขายสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เดือนละ 2,000 – 3,000 บาท ส่วนครอบครัวที่อยู่ติดทะเลก็จะประกอบอาชีพทำการประมงชายฝั่ง หาปลา หาปู หากุ้งมาทำกะปิ ขายในตลาดหงาว สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ได้เงินมาเพื่อซื้อข้าวสาร ผักจากชาวสวน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำผ้ามัดย้อม ชื่อผู้ประกอบการ นางสุริยา ทิพย์บุญทอง ที่ตั้ง ๖๒/๑๗ หมู่ ๑    ตำบลหงาว อำเภอเมืองจังหวัดระนอง เบอร์โทรศัพท์  ๐๙ ๕๐๓๖ ๓๕๙๗, ๐๙ ๙๓๐๕ ๑๐๑๑ ในพื้นที่ตำบลหงาว มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลนเยอะ จึงเป็นพื้นที่ที่มีป่าโกงกางจำนวนมาก ผู้ประกอบการ จึงมีแนวคิดในการนำยางไม้โกงกางมาทำสีผ้ามัดย้อมจากไม้โกงกาง ได้แก่ ทำผ้าชิ้นสำหรับตัดชุดทำงาน ตัดเสื้อทั่วไป ทำกระเป๋า ผ้าปูโต๊ะ และผ้าเช็ดหน้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม