ขัวศิลปะ จ.เชียงราย

ที่ตั้ง สมาคมขัวศิลปะ 551 หมู่ 1 ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย
๑.จังหวัดเชียงราย ขัวศิลปะเกิดขึ้นจากการรวมตัวของศิลปินเชียงราย โดยผ่านการแสดงผลงานศิลปะและขับเคลื่อนงานด้านศิลปะร่วมกันตามลำดับ และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา กลุ่มศิลปินเชียงรายได้ก่อตั้งเป็นสมาคมศิลปินเชียงรายขึ้น เพื่อดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงรายอย่างต่อเนื่อง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มอบเงินทุนตั้งต้น 500,000 บาท สำหรับก่อตั้งกองทุนศิลปินเชียงราย เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการทำงานของศิลปินและการศึกษาของนักศึกษาศิลปะในจังหวัดเชียงราย โดยการเลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารกองทุน จากการประชุมของคณะกรรมการ มีความประสงค์ให้กองทุนศิลปินเชียงรายมีความงอกงามและยั่งยืน จึงจำเป็นต้องหารายได้ คณะกรรมการจึงมีมติว่าจะทำธุรกิจร่วมกัน โดยใช้ระบบการร่วมทุนในหมู่พี่น้องศิลปินและผู้ที่รักศิลปะทุกท่าน คณะกรรมการได้เลือกทำเลที่ตั้งของอาคารให้เช่าแห่งหนึ่งเพื่อลงทุนทำธุรกิจเพื่อส่วนรวม ตั้งชื่อโครงการว่า “ขัวศิลปะ” ซึ่งขัวในภาษาเหนือ แปลว่า สะพาน “ขัวศิลปะ” คือ สะพานที่จะเชื่อมศิลปะสู่สังคม ขัวศิลปะ ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ แต่คือองค์กรการศึกษา ที่ทำธุรกิจเล็กๆ เพื่อจะเลี้ยงดูตัวเอง คือบ้านของศิลปินที่เปิดประตูต้อนรับทุกท่าน ในพื้นที่ของขัวศิลปะ ผู้มาเยือนสามารถเยี่ยมชมนิทรรศการศิลปะ ซึ่งจัดเป็นประจำในส่วนของแกลลอรี นอกจากนี้ยังมีส่วนของร้านอาหาร “ร้านลองมาเต๊อะ” ไว้บริการ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ทุกวัน เวลา 10.00 – 19.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 8418 5431, 0 5316 6623
๕.ช่องทางออนไลน์
– เว็บไซต์: www.artbridgecr.com
– Facebook : https://www.facebook.com/ArtBridgeChiangRai/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว /ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์สตรีผ้าทอศรีดอนชัย จังหวัดเชียงราย

ที่ตั้ง ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย (ศูนย์สตรีผ้าทอศรีดอนชัย)
๒.ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่มสตรีผ้าทอศรีดอนชัย
ผู้ประสานงาน: นางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๙ ๑๘๗๕ ๕๘๓๔
๕.ช่องทางออนไลน์
line id: ๐๙๑๘๗๕๕๘๓๔
เฟซบุ๊ก: กลุ่มสตรีทอผ้าศรีดอนชัย

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหาร@นาตักเต่า จังหวัดเชียงราย

ที่ตั้ง ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

๑.ร้านอาหาร @นาตักเต่า ตั้งอยู่ตำบลศรีดอนชัย อำเภอ เชียงของ เชียงราย เป็นร้านอาหารไทลื้อประเภทข้าวซอยลื้อ น้ำเงี้ยว ส้มตำ และน้ำสมุนไพร
2.เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
– ข้าวซอยลื้อ
– ก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว
– ส้มตำน้ำปู
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๒๐๖๙ ๙๘๕๒
๕.ช่องทางออนไลน์
– Facebook : นาตักเต่า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดท่าข้ามศรีดอนชัย จังหวัดเชียงราย

ที่ตั้ง หมู่ ๗ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

๑.วัดท่าข้ามศรีดอนชัย ถือเป็นศูนย์รวมทางจิตใจและทุกมิติของชุมชน ภายในวัดมีศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ เพื่อการอนุรักษ์ในสิ่งที่กำลังจะสูญหายไปของ ชาติพันธุ์ไทลื้อ ซึ่งที่ผ่านมาในพื้นที่ตำบลศรีดอนชัย ได้ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของไทลื้อมาอย่างต่อเนื่องและใช้พื้นที่วัดจัดกิจกรรมหลายอย่าง เพื่อประชาสัมพันธ์ความเป็นไทลื้อ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เดินทางมาท่องเที่ยวชมวิถีชีวิต และพื้นที่ดังกล่าวขาดจุดศูนย์รวมในจุดเดียวเกี่ยวกับไทลื้อศรีดอนชัย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ – เปิดบริการทุกวัน
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายสมชาย วงศ์ชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๗ บ้านศรีดอนชัย ๐๘ ๙๕๖๐ ๑๙๐๘
๕.ช่องทางออนไลน์
ประชาสัมพันธ์ วัดท่าข้ามศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย
– YouTube :https://www.youtube.com/watch?v=7x6udvLt8bQ
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ /ทางลาด /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว /ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านสันทางหลวง จังหวัดเชียงราย

บ้านสันทางหลวง เป็นอีกหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และทางวัฒนธรรมมีจุดเด่นเกี่ยวกับ “วิถีชีวิต ชาวไทยอง” คนในชุมชนบ้านสันทางหลวงส่วนใหญ่ยังคงสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทยอง จนมีคำพูดติดปากของชาวสันทางหลวงว่า “กิ๋นอย่างยอง อู้อย่างยอง อยู่อย่างยอง”  

ชุมชนบ้านสันทางหลวง ร้อยละ ๙๐ เป็นชาวไทยอง มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยองที่โดดเด่น อาทิ อาหาร เครื่องแต่งกาย ภาษา วิถีชีวิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นคือการปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP, โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสันทางหลวง
เป็นศาสนสถานสำคัญของชุมชนและเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน

ฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชุมชนบ้านสันทางหลวง
ฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชุมชน จำนวน ๑๘ ฐาน เช่น กลุ่มผ้าทอมือ กลุ่มผ้าปัก กลุ่มหมอนดูดกลิ่น (หมอนใบชา) กลุ่มตุ๊กตา กลุ่มจักสานจิ๋ว กลุ่มลาบ กลุ่มข้าวแคบ กลุ่มดาวอินคา กลุ่มขนมพื้นบ้าน และกลุ่มระบายสีร่ม เป็นต้น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวธรรมชาติบ้านสันทางหลวง
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของชุมชนบ้านสันทางหลวง เป็น บรรยากาศทุ่งนาตามธรรมชาติ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานเยี่ยมชมและรับบรรยากาศแบบท้องทุ่งในยามเช้าตรู่หรือยามเย็น  เพื่อชมวิถีชีวิตของคนบ้านสันทางหลวง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้วิถีเกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านสันทางหลวง
ชุมชนคุณธรรมบ้านสันทางหลวง ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ปลอดภัย โดยมีโครงการ สำคัญร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริ คือ โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP, โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
ลานวัฒนธรรมลานขันโตก วิถีไท วิถียองสัมผัสวิถีวัฒนธรรมไทยอง และรับชมการแสดงที่ได้มีการนำเอาวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมในการทอผ้าของคนไทยองในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทอผ้า มาปรับประยุกต์ และออกแบบท่าฟ้อนตามยุคสมัยที่สื่อถึงขั้นตอนของการทอผ้าในสมัยก่อนของคนไทยอง นำมาแสดงร่วมกับดนตรีล้านนาผ่านทางท่วงท่าลีลาความอ่อนช้อยในการฟ้อนสาวไหม พร้อมกับรับประทานอาหารขันโตกตามแบบวัฒนธรรมไทยอง

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรมลานขันโตก วิถีไท วิถียอง การบายศรีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญ โดยกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนบ้านสันทางหลวง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานในการต้อนรับผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ให้เกียรตินักท่องเที่ยว/คณะศึกษาดูงานในการที่มาเยือน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง จังหวัดเชียงราย

ชุมชนคุณธรรมบ้านเมืองรวง ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. ๒๓๙๗  ผู้ที่ริเริ่มก่อสร้างหมู่บ้าน ครั้งแรกเป็นชาวลวง ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ชื่อหมู่บ้านว่าบ้าน “เมืองลวง” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีการเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากเมืองลวง เป็น “เมืองรวง” โดยได้ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

บ้านเมืองรวง เป็นชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ พระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน” ภายใต้มูลนิธิชัยพัฒนาของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชุมชนคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดท่าไคร้
เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างพร้อมเพรียง ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนนำประเพณีล้านนา “การฮ้องขวัญหรือเรียกขวัญ”  เป็นการต้อนรับและสร้างความสัมพันธ์ให้เกียรติ แก่ผู้มาเยือน

สถานปฏิบัติธรรม วัดพุทธมิ่งโมลี (พุทธสถานถ้ำพระพุทธมิ่งโมลีศรีแม่กรณ์)
เป็นสถานปฏิบัติธรรมที่มีสถาปัตยกรรมงานปั้นองค์พระพุทธรูป และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สวยงาม เป็นสถานที่ ที่สงบร่มรื่น เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่อมใส เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาตามประเพณี เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนชาวตำบลและตำบลใกล้เคียง 

ร้านกาแฟอาข่ามิโน
ร้านกาแฟอาข่ามิโน ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาวิธีการปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า หรือกาแฟอาข่า ที่ถูกยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของกาแฟ ที่มีเอกลักษณ์ของรสชาติเฉพาะตัว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้ลิ้มลองรสชาติของกาแฟสด ไปพร้อม ๆ กับชมทิวทัศน์โดยรอบ ที่สำคัญได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่าอาข่า โดยเฉพาะ “การโล้ชิงช้า” 

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

พุทธสถานถ้ำพระมิ่งโมลีศรีขุนกรณ์
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดพุทธมิ่งโมลี” โดยพุทธสถานแห่งนี้ นับเป็นสถานปฏิบัติธรรม ของคนในชุมชน มีจุดเด่น คือ การสร้างสถาปัตยกรรมแบบล้านนาตะวันออกที่งดงาม และวิจิตร ไม่ว่าจะเป็นงานปั้นองค์พระพุทธรูป ทั้งยังรายล้อมไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ให้ความสงบ ร่มเย็น เหมาะแก่การไปทำบุญและพักผ่อนกับการชมวิวแบบ 360 องศาไปพร้อม ๆ กัน

จุดชมวิว ๓๖๐ องศา บ้านเมืองรวง
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของชุมชนบ้านเมืองรวง คือ บรรยากาศทุ่งนา ตามธรรมชาติ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานเยี่ยมชมและรับบรรยากาศแบบท้องทุ่งในยามเช้าตรู่ หรือยามเย็น เพื่อชมวิถีชีวิตและรับบรรยากาศแบบธรรมชาติ บนท้องไร่ท้องนาในแบบวิถีชีวิตของคนบ้านเมืองรวง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้ เกษตรผสาน บ้านแม่ซ้อ
เป็นครัวเรือนต้นแบบ ในโครงการที่อยู่ภายใต้มูลนิธิชัยพัฒนาของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  นักท่องเที่ยวจะได้รับความรู้ โดยเฉพาะการทำเกษตรผสมผสานแบบปลอดสารพิษ การปลูกไม้ดอกไม้ผล พืชผักนานาชนิด การเลี้ยงไก่ในบริเวณบ้าน การปรุงดิน ที่สำคัญคือ การผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน”

ศูนย์เรียนรู้บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านสับปะรดสี
นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และเข้าถึงวิธีการปลูกสับปะรดสีซึ่งเป็นไม้ประดับที่มีความโดดเด่นทั้งด้านรูปลักษณ์ ความสวยงาม นอกจากนี้ ยังได้ชมความงามของไม้ดอกไม้ประดับที่หลากหลายอีกด้วย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญ
วัดท่าไคร้ บทบาทศาสนสถานในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มสูงอายุในชุมชนนำประเพณีล้านนา “การบายศรีสู่ขวัญหรือเรียกขวัญ” ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานในการต้อนรับผู้มาเยือนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกียรตินักท่องเที่ยว/คณะศึกษาดูงาน ในการที่มาเยือน

การบริการนักท่องเที่ยว
ชุมชนบ้านเมืองรวง มีร้านขายของชุมชน ลานวัฒนธรรมชุมชน การให้บริการรถรางเพื่อชมทัศนียภาพที่นั่งพักผ่อนบริเวณข้างๆ ป้ายบอกทาง และสัญลักษณ์ที่ช่วยให้ข้อมูลของชุมชน จักรยานสำหรับบริการ
นักท่องเที่ยว ห้องน้ำตามจุดต่างๆ โฮมสเตย์สำหรับผู้ที่ต้องการพักค้างคืน ร้านกาแฟสำหรับการพักผ่อนดื่มด่ำกับทัศนียภาพ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านศรีดอนชัย จังหวัดเชียงราย

ชุมชนบ้านศรีดอนชัย เป็นชาวไทลื้อเป็นส่วนใหญ่ มีความเป็นเอกลักษณ์หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นภาษาไทลื้อ ที่ใช้สื่อสารกัน การแต่งกายด้วยผ้าทอไทลื้อที่ทอเอง มีความประณีตสวยงาม อีกทั้งยังมีการละเล่น ความเชื่อ และพิธีกรรม ที่แตกต่างกับที่อื่น เช่น พิธีกำบ่อ พิธีสืบชะตา เป็นต้น

การแต่งกายของไทลื้อบ้านศรีดอนชัย แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ ที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก โดยตัวเสื้อผู้หญิงจะมีลักษณะเป็นเสื้อผ่าอก ป้ายเฉียงด้านหน้า เอวลอย แขนยาว สวมใส่กับผ้าซิ่นที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ ผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาว แล้วสวมทับด้วยเสื้อกั๊กที่ปักลวดลายสวยงาม 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดท่าข้ามศรีดอนชัย
ภายในวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ โดยวัดเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม อย่างหลากหลายและมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดท่าข้ามศรีดอนชัย เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวไทลื้อ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งรวมทุกอย่างเกี่ยวกับชาวไทลื้อไว้ในที่แห่งเดียว ตั้งแต่ความเป็นมา
ของไทลื้อและชีวิตที่น่าศึกษาจนถึงปัจจุบัน

เฮือนคำแพง
เฮือนคำแพง  มีบริการจัดขันโตกและการแสดงวัฒนธรรมไทลื้อ สามารถรองรับแขกได้ประมาณ ๒๐๐ ท่าน มีร้านค้าจำหน่ายผ้าทอไทลื้อจากช่างทอผ้าในชุมชน บ้านโบราณมีนิทรรศการของใช้และอุปกรณ์ทอผ้าโบราณของชุมชนบริเวณชั้นบนของบ้าน

พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ

ลักษณะอาคารเป็นเรือนสองชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ ภายในอาคารส่วนชั้นล่างจะมีห้องฉายภาพยนตร์และห้องนิทรรศการประวัติความเป็นมาของชาวไทลื้อ บ้านศรีดอนชัย ชั้นบนเป็นห้องแสดงนิทรรศการการทอผ้าโบราณมีอายุ ๑๐๐ ปี ของชาวไทลื้อ บ้านศรีดอนชัย ข่วงวัฒนธรรม เป็นลานกว้างสำหรับจัดแสดงทางวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทลื้อ กาด
และศิลปะการแสดงต่างๆ

บ้านร้อยปีแม่คำเอื้อย
เป็นสถาปัตยกรรมเฮือนไต แห่งลุ่มน้ำโขงสมัยกลาง มีอายุการสร้างกว่า ๑๐๐ ปี

ศูนย์สตรีผ้าทอศรีดอนชัย
ชาวบ้านรวมกลุ่มกันจัดทำผ้าทอไทลื้อแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นการดึงฝ้าย การย้อมฝ้าย การต่อฝ้าย และการปั่นฝ้าย ที่นี่มีเสื้อผ้าทอมากมาย และมีการสาธิตแสดงการทอผ้า

ศูนย์เรียนรู้ผ้าทอไทลื้อบ้านแม่ครู ดอกแก้ว ธีระโครต
มีความโดดเด่นโดยการนำฝ้ายมามัดหมี่และย้อมด้วยสีธรรมชาติ เกิดลวดลายที่มีความละเอียดประณีต ผ่านกระบวนการทอมือ สร้างลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ จากนั้นนำมาแปรรูปตัดเย็บตามต้องการ ครูดอกแก้ว ได้รับการเชิดชู จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ให้เป็น “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี ๒๕๕๗ เพื่อสืบสานงานหัตถกรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ และมีกระบวนการส่งต่อองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นสืบไป

ศูนย์เรียนรู้การจักสานงานไม้ไผ่
กลุ่มจักสานผู้สูงอายุชุมชนไทลื้อศรีดอนชัย เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2555 โดยมีแนวคิดว่ากลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนไทลื้อ น่าจะมีการรวมกลุ่มกัน จะได้ออกมาพบปะเพื่อนฝูง ไม่เหงา และเป็นการหารายได้เสริมยามว่างจากไร่นา จึงได้รวมตัวกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้ง 4 หมู่บ้าน ที่มีความรู้เรื่องการ จักสาน งานช่างไม้ ร่วมจัดตั้ง “กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ” ดังกล่าวขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวนกว่า 10 คน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนสาธารณะหนองรงค์
หนองรงค์เป็นสวนสาธารณะชุมชนศรีดอนชัย อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติของชุมชนวัดท่าข้ามศรีดอนชัย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ที่นาจัดสรรชุมชนบ้านศรีดอนชัย
การจัดสรรที่ดินทำกินของชุมชนบ้านศรีดอนชัย กว่า 300 ไร่ (ครอบครัวละ 1 ไร่) เพื่อใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ยืนต้น เช่น ส้ม โกโก้ มะละกอ ฝักเชียงดา พริก ข้าวโพด ฯลฯ และเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ฯลฯ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

งานมหาบุญจุลกฐินถิ่นไทลื้อศรีดอนชัย
วัดท่าข้ามศรีดอนชัย งานมหาบุญจุลกฐินถิ่นไทลื้อ ทั้ง 3 วาระ คือ วาระที่หนึ่ง งานปลูกต้นฝ่ายจัยยะมงคล
จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม วาระที่สอง งานกล่อมฝ้ายจัยยะมงคล จัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม
วาระที่สาม งานทอผ้าทันใจ งานถวายผ้ามหาบุญจุลกฐินถิ่นไทลื้อจัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคม

กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้กระบวนการผ้าทอไทลื้อศรีดอนชัย จากเมล็ดฝ้ายสู่ผ้าทอที่วิจิตงดงาม
ศูนย์เรียนรู้ผ้าทอไทลื้อบ้าน แม่ครูดอกแก้ว ธีระโครต มีความโดดเด่นโดยการนำฝ้ายมามัดหมี่และย้อมด้วยสีธรรมชาติ เกิดลวดลาย ที่มีความละเอียดประณีต ผ่านกระบวนการทอมือ สร้างลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ จากนั้นนำมาแปรรูปตัดเย็บตามต้องการ ครูดอกแก้ว ได้รับการเชิดชูจาก ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ให้เป็น “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี ๒๕๕๗ เพื่อสืบสานงานหัตถกรรมในท้องถิ่นให้คงอยู่ และมีกระบวนการส่งต่อองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นสืบไป

กิจกรรมโฮมสเตย์ สัมผัสวิถีวัฒนธรรมไทลื้อ

กลุ่มโฮมสเตย์ชุมชนวัดท่าข้ามศรีดอนชัย กิจกรรมประกอบด้วยต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว หรือคณะศึกษาดูงาน พร้อมรับฟังการบรรยาย พักโฮมสเตย์ สัมผัสวิถีวัฒนธรรมไทลื้อ และเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนและช้อปผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ ของชุมชนได้ตลอดทุกวัน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม