พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ตั้ง ๘๕๙ ถนนอินใจมี ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล เป็นสถานที่รวบรวมเรื่องราวประวัติ ของเมืองลับแล มีถ้ำเมืองลับแล ภายในมีวิถีชีวิตของชุมชนเมือง ลับแล และสวนสมุนไพร มีตลาดวันวาน อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย CPOT และ CCPOT มีจุดเช็ดอิน
ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล มีศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช กระทรวงวัฒนธรรม อยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ซึ่งเป็นเรือนไม้ที่จัดแสดงนิทรรศการพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๙ และประวัติของพระศรีพนมมาศ และบุคคลสำคัญของอำเภอลับแล ตลอดจนขนบธรรมเนียมการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองลับแล ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม งานประชาสัมพันธ์เทศบาลศรีพนมมาศ เมืองลับแล
เบอร์โทรศัพท์ 0 5543 1076
ศูนย์การท่องเที่ยวชุมชนเมืองลับแล
น.ส.สุขุมาภรณ์ น้อยศรี เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๓๙๕๖ ๑๙๗๔
๕.ช่องทางออนไลน์ https://www.facebook.com/PRsriphanommas
Facebook : งานประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ – เมืองลับแล
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร

จังหวัดอุตรดิตถ์

เมืองโบราณดงละคร จังหวัดนครนายก

ที่ตั้ง หมู่ 5 ตำบลดงละคร อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
๑. เมืองดงละคร เคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-เมืองโบราณดงละคร เดิมเรียกว่า “เมืองลับแล” เป็นสถานที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวาราวดีและขอม เนินดินดงละครหรือดงใหญ่มีพื้นที่ 6 ตารางกิโลเมตร ภายในมีเมืองโบราณหรือดงเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่ อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันตกของเนินดิน มีคันดินเป็นกำแพง 2 ชั้นเรียกว่า “สันคูเมือง” และมีคูน้ำล้อมรอบภายในเมืองน่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของชนชั้นปกครอง ส่วนประชาชนตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ในบริเวณที่ลุ่มรอบเมืองความรุ่งเรืองแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเริ่มพุทธศตวรรษที่ 14-16 เป็นวัฒนธรรมแบบทวาราวดี ช่วงที่สองพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นวัฒนธรรมขอม และวัฒนธรรมก่อนอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 19 ชาวบ้านดงละครคงจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานตามลำน้ำสายหลักในจังหวัดนครนายก สันนิษฐานว่าน่าจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองศรีมโหสถที่จังหวัดปราจีนบุรีเพราะเมืองทั้งสองอยู่ห่างกันเพียง 55 กิโลเมตร โบราณวัตถุที่ค้นพบ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผา ภาชนะเคลือบสีฟ้า ลูกปัด แก้วลูกปัดหิน เบี้ยดินเผาแผ่นตะกั่วตุ้มหูแหวนและกำไลสัมฤทธิ์แผ่นทองคำ เศียรพระพุทธรูปกะไหล่ทอง และสถูปศิลาแลง ตามตำนานกล่าวว่า “เมืองโบราณดงละคร” เคยเป็นเมืองของราชินีขอมซึ่งเป็นที่รโหฐาน และบริเวณเมืองมีต้นไม้สูงขึ้นอยู่ทั่วไปหากคนนอกเข้าไปแล้วจะหาทางออกไม่ได้ในวันโกน และวันพระจะได้ยินเสียงกระจับปี่ ซอ ปี่พาทย์มโหรีขับกล่อมคล้ายกับมีการเล่นละครในวังจึงเรียกกันว่า “ดงละคร” หรือคำว่า “ดงละคร” อาจเพี้ยนมาจาก “ดงนคร” ก็ได้ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เมืองโบราณดงละครเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล มีวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งในเรื่องของการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมในแต่ละชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน การประกอบอาชีพเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดเด่นในการที่จะสร้าง และพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองน่าอยู่เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนลับแล ผ้าทอลับแล ย่ามลับแล ข้าวแคบ ข้าวพันผัก เส้นขนมจีนทอด และไม้กวาดตองกง เป็นต้น 

ชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล ดำรงรักษาวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อยู่อย่างพอเพียงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นไว้อย่างเข้มแข็ง มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีนักเล่าเรื่องของชุมชนเมืองลับแลให้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว มีศิลปะการแสดง รำกลองยาว ของกินพื้นถิ่น ได้แก่ ข้าวแคบ ข้าวพันผัก หมี่พัน เส้นขนมจีนทอด ลอดช่อง และผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนลับแล ผ้าทอลับแล ย่ามลับแล ข้าวแคบ ข้าวพันผัก เส้นขนมจีนทอด ไม้กวาดตองกง สำหรับซื้อเป็นของฝากจากชุมชนคุณธรรมเมืองลับแล

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช
พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ตั้งอยู่บริเวณซุ้มประตูเมืองลับแลเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชองชาวลับแล

ตลาดถนนวันวานเมือง ลับแล
ตั้งอยู่บริเวณถนนวันวานในพื้นที่บริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล ตำบลศรีพนมมาศ เปิดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. จนถึง ๒๑.๐๐ น. จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารพื้นบ้าน

วัดม่อนปรางค์
เป็นวัดเก่าแก่ มีวิหาร คาดว่าสร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลายอุโบสถ มีใบเสมาทำด้วยหินชนวนอยู่รอบทั้ง 8 ทิศ ผนังเปิดโล่ง ไม่มีหน้าต่าง และไม่มีประตู ตามแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านผสมล้านนา เรียกว่า อุโบสถปัจจันตะประเทศ(อุโบสถชายแดน) มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ มีอายุอยู่ราวกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวชุมชนเมืองลับแล
เที่ยวชมวิววิถีชีวิตชาวลับแลยามเช้าที่ตลาดสดแวะ ช้อป ชิม และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก       
  -ชมวิวทิวทัศน์บริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองลับแล และตลาดวันวาน

วิถีชีวิตการทำหอมลับแล
ชมวิถีชีวิตการทำหอมเป็นพืชเศรษฐกิจทำรายได้ให้กับชาวลับแล บรรยากาศยามเช้าที่สวยงามตามธรรมชาติ

อุโมงค์ดอกลีลาวดี
ปั่นจักรยานชมอุโมงค์ดอกลีลาวดี อุโมงค์ดอกไม้ที่สร้างจากธรรมชาติที่มีความ สวยงาม บรรยากาศร่มรื่น ณ บริเวณวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนหอมเมืองลับแล
สวนเกษตรอินทรีย์การปลูกหอมเมืองลับแลเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับชาวลับแลเป็นส่วนมาก 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การปั่นจักรยานชมวิถีเมืองลับแล เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ลดภาวะโลกร้อน
๑) พิพิธภัณฑ์เมืองลับแล
๒) วิถีชีวิตตลาดสดยามเช้า
๓) วัดเสาหิน
๔) วัดม่อนปรางค์
๕) วัดป่ายาง
๖) วัดดอนไชย ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
๗) ซุ้มลีลาวดี วัดม่อนปรางค์
๘) กลุ่มอาชีพการทำข้าวแคบ
๙) การทำผักดอง
๑๐) การทอผ้าซิ่นตีนจก
๑๑) การทำไม้กวาดตองกง
๑๒) บ้านเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์
-นักท่องเที่ยวได้รับการต้อนรับจากนักเล่าเรื่องของชุมชนนำชมประวัติความเป็นมา และวิถีชีวิตของชาวลับแล นิทรรศการเล่าเรื่องตลาดวันวานและการสาธิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ชมทิวทัศน์ รูปปั้นปฏิมากรรมสัญลักษณ์เมืองแม่หม้าย และปั่นจักรยานไปท่องเที่ยวในชุมชน
-ชมบรรยากาศยามเช้าที่ตลาดสดภาพวาดแสดงวิถีชีวิตชาวลับแล
-ชมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน
-ชมซุ้มลีลาวดี วัดม่อนปรางค์ ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
-การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นและอาหารพื้นบ้านวัฒนธรรมการกินจากถนนสายวัฒนธรรมกลุ่มอาชีพการทำข้าวแคบ การทำผักดอง สาธิตการ ทอผ้าซิ่นตีนจก สาธิตการทำไม้กวาดตองกง
-ชมวัฒนธรรมบ้านเรือนไทย ๑๐๐ ปี และเชื่อมโยงไปเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม