อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ที่ตั้ง ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอเมืองศรีสัชนัลย จังหวัดสุโขทัย
๑.จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น ทำให้ทราบว่าพื้นที่บริเวณนี้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือราวพุทธศตวรรษที่ 9 จากนั้นได้มีการอาศัยต่อเนื่อง และพัฒนามาเป็นชุมชนร่วมสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่า “เมืองเชลียง” ตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง ต่อมาได้มีการย้ายศูนย์กลางของเมืองมาทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีการเรียกชื่อเมืองว่า “ศรีสัชนาลัย” เมืองศรีสัชนาลัยมีความสำคัญควบคู่กันมากับเมืองสุโขทัย โดยมีสถานะเป็นเมืองลูกหลวง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00 – 16.30
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
คนไทย 30 บาท
นักท่องเที่ยวต่างชาติ 150 บาท
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 5595 0714
๕.ช่องทางออนไลน์
http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/sisatchanalai/index.php/th/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา

ที่ตั้งตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
๑. จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรม ตลอดจนประวัติศาสตร์ โบราณคดี อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ การจัดแสดงใช้วัตถุของจริงประมาณ ๕๐,๐๐ ชิ้น นอกจากนี้ยังมี การผสมผสานกับสื่อหลากชนิด อาทิ หุ่นจำลอง เสียง ภาพ วิดีทัศน์ โดยแบ่งเป็นห้องต่างๆ ในอาคาร ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารนวมินทร์ ประกอบด้วย ห้องประวัติศาสตร์และชาติพันธุ,ห้องลูกปัดและเครื่องประดับ ,ห้องมีดและศาสตราวุธ ,ห้องอาชีพหลัก , ห้องเครื่องมือจับสัตว์, ห้องเครื่องปั้นดินเผา ,ห้องผ้าทอพื้นเมือง, กลุ่มอาคารหลังคาบลานอ ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว ,ห้อง ศิลปหัตถกรรม ,ห้องจัดการศึกษา, ห้องนันทนาการ, ห้องวัฒนธรรมเครื่องประทีป, ห้องวัฒนธรรมเครื่องแก้ว, กลุ่มอาคารหลังคาปั้นหยา ห้องวัฒนธรรมโลหะและโลหัช , ห้องการละเล่นพื้นบ้าน ,ห้องมุสลิมศึกษา ,ห้องเหรียญและเงินตรากลุ่มอาคารหลังคาจั่ว จัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวใต้,ห้องสามสมเด็จฯ เพื่อนเกลอและประเพณีการเกิดแบบโบราณ ,ห้องการเล่นของเด็กภาคใต้ ,ห้องการฝากตัวเข้าเรียนกับพระ การผูกเกลอ ห้องประเพณีการบวช ,ห้องความเชื่อโชคชะตาราศีและวัฒนธรรมการรักษาพยาบาล,ห้องประเพณีออกปากกินวาน ,ห้องประเพณีขึ้นเบญจา อาคารนวภูมินทร์ ห้องสงขลาศึกษา ,ห้องเอกสารท้องถิ่น ,ห้องวรรณกรรมท้องถิ่น ,ห้องพิพิธภัณฑ์ภาพ ,ห้องพิพิธภัณฑ์เสียง เป็นต้น
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ยกเว้นวันอังคาร) เวลา ๐๘.๓๐.-๑๗.๐๐ น.
*เฉพาะห้องเอกสารท้องถิ่น/ ห้องวรรณกรรมท้องถิ่น ห้องพิพิธภัณฑ์ภาพ และห้องพิพิธภัณฑ์เสียง เปิดให้บริการเฉพาะในวันและเวลาราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
นักเรียน ๑๐ บาท
นักศึกษา ๒๐ บาท
ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท
ต่างชาติ ๑๐๐ บาท
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทรศัพท์ : ๐ ๗๔๕๙ ๑๖๑๑, ๐๙ ๔๗๓๕ ๘๗๔๖
โทรสาร : ๐ ๗๔๕๙ ๑๖๑๙
๕. ช่องทางออนไลน์
เว็บไซต์ : http://www2.tsu.ac.th/org/ists/
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา

ที่ตั้ง 750 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
1. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เป็นสถานที่ได้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) กรุณามอบไว้ให้ นอกจากนั้นยังจัดแสดงโบราณวัตถุ ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี การขุดแต่ง บูรณะ โบราณสถาน รวมถึงสิ่งของที่ประชาชนได้มอบไว้ให้
2.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
3.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
คนไทย 20 บาท
ชาวต่างประเทศ 50 บาท
4.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4424 2958
5.ช่องทางออนไลน์
http://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/
อีเมล : mahaviravong_mu@yahoo.com
6.สิ่งอำนวยความสะดวก ( ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์เมือง เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก

ที่ตั้ง ถนนตากสิน ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
๑.จังหวัดตากได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองจังหวัดตาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา โดยปรับปรุงอาคารจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก(หลังเก่า) มาเป็นพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากอดีตสถานที่ดังกล่าวเคยเป็น “เรือนประทับ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเมืองตาก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ พิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงและรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ทรัพย์สินทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตากที่มีอยู่จำนวนมากและเก็บรักษาไว้กระจัดกระจายในสถานที่ต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เนื้อหาการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นบนจัดเป็นห้องแสดงพระราชกรณียกิจที่เป็นภาพถ่ายและโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่างๆ อาทิ ถ้วยชามกระเบื้อง พระพุทธรูป เป็นต้น ชั้นล่างจัดเป็นห้องแสดงสิ่งของมีค่าของจังหวัดตาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๕๕๐ ๘๗๓๓
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : พิพิธภัณฑ์เมืองเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จ.ชลบุรี

1. จากผลการศึกษาพบว่า โคกพนมดี เคยเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่สามารถสร้างเครื่องมือหิน (ขวานหินขัด หินลับ หินบด ค้อนหิน หินกรวดสำหรับขัดผิว ภาชนะและกำไลหิน) เครื่องมือที่ทำจากกระดูกสัตว์ เช่น ฉมวก เครื่องมือที่ทำจากหอย เช่น มีด สิ่ว เครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย และภาชนะดินเผาแบบเชือก ทาบ เป็นชุมชนที่อพยพ และเปลี่ยนแปลงมาจากสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งมักอาศัยอยู่ในที่สูงดำรงชีวิตด้วยการล่า สัตว์และแสวงหาอาหารจากธรรมชาติ ต่อมาอพยพลงมาอยู่ที่โคกพนมดี ซึ่งในครั้งนั้นเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อุดม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งจากป่าและทะเล มีผู้เสนอข้อคิดเห็นว่าเนินดินแห่งนี้เป็น Shell Mound สมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเซียอาคเนย์ต่อมาผู้คนเหล่านั้นก็เริ่มพัฒนาการดำรงชีวิต ด้วยการเพาะปลูกแบบเริ่มแรก ควบคู่กันไปกับการแสวงหาอาหารจากทะเล และล่าสัตว์ (กรมศิลปากร 2531, 296)
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดทุกวัน 9.00 – 16.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ – ไม่มี –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม- ไม่มี –
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook : วัดโคกพนมดี ท่าข้าม
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้ง ๑๒๐ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานประจำแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพื่อรวบรวม สงวนรักษา และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีภายในเขตจังหวัดกำแพงเพชร เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมท้องถิ่นของจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเน้นสื่อจัดแสดงให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์สัมผัสหน้าจอ หุ่นจำลอง เป็นต้น การจัดแสดงแบ่งเป็น ๓ อาคาร โดย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงเรื่องราวเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์ โดยแบ่งยุคสมัยเป็น ทวารวดี ลพบุรี ศรีวิชัย อาคารนิทรรศการ

-จัดแสดงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ อาคารนิทรรศการ
-จัดแสดงกำแพงเพชรในปัจจุบัน และชนกลุ่มน้อย
๒.วันเวลา เปิด/ปิด วันพุธ- วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ปิด วันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่
ชาวไทย ๒๐ บาท
ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ นักบวชคนพิการ ผู้สูงอายุ (เข้าชมฟรี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๙๗๓ ๘๐๑๓
๕.ช่องทางออนไลน์
www.//finearts.go.th/kamphaengphetmuseum
Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ทางลาด /ลานจอดรถ /ร้านอาหาร /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม