น้ำพุร้อนสมอทอง จังหวัดอุทัยธานี

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านสมอทอง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
๑. ตั้งอยู่ที่ บ้านสมอทอง ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคน ในโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว เป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติขนาดเล้กที่ผุดขึ้นมาผิวดิน มีความร้อนขนาดต้มไข่สุกได้ภายใน 5 นาที น้ำจะไหลผ่านช่องเขาไปรวมกับน้ำในลำห้วยคอกควาย ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้เป็นบ่อน้ำพุร้อน จุดชมทิวทัศน์และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดิน ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลทองหลางได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยว อาบน้ำแร่ แช่น้ำอุ่นเพื่อสุขภาพ และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถพักแรม และกางเต็นท์ที่บริเวณน้ำพุร้อนสมอทองได้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ช่วงเวลาที่เหมาะสม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ 
มี โปรดระบุ 20 บาท
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต.ทองหลาง อำเภอห้วยคต
โทรศัพท์ 0 5651 8155
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook อบต.ทองหลาง เว็ปไซต์ อบต.ทองหลาง
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ จุดบริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

จังหวัดอุทัยธานี

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จังหวัดหนองบัวลำภู

หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านค้อ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 39140
๑. อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียง เหนือตอนบน ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดอุดรธานี และตอนบนของจังหวัดขอนแก่น สภาพธรณีเป็นภูเขาหินทรายซึ่งมีชั้นของหินทรายอยู่ด้านบนระดับผิวดิน โดยมีชั้นของหินดินดาน หรือหินดินดานปนทรายเป็นฐาน ด้านล่างมีดินประเภทดินลูกรังและดินร่วนปนทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า ทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ และสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีเนื้อที่ประมาณ 201,250 ไร่ หรือ 322 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาติภูเก้า – ภูพานคำ มี ทัศนียภาพเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ จะเป็นจุดกลางของกลุ่มภูเขาสองเทือก คือ ภูเก้า และภูพานคำ กลุ่มภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเขื่อนมีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนอยู่ จำนวนมาก 9 ลูก คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูซัน ภูเปราะ ภูลวก และภูวัด จึงเรียกว่า “ภูเก้า” ส่วนภูพานคำอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเขื่อน เป็นแนวภูเขาที่เริ่มจากตัวเขื่อนทอดยาวไปทางทิศเหนือจนจดลำน้ำโขงที่หนองคาย ทั้งภูเก้า และ ภูพานคำ มีตำนานที่ชาวบ้านเล่าติดต่อกันมาเป็นเรื่องราวมากมาย เพราะเขตนี้เป็นเขตป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และมีสัตว์ป่านานาชนิดจำนวนมากดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ยังมีถ้ำที่สวยงามมากมาย
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 06.00 – 18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สิงหาคม – เมษายน
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
5.1 ศึกษาเส้นทางธรรมชาติภายในอุทยาน
5.2 กางเต็นท์พักแรม ณ ลานกางเต็นท์อุทยาน
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4295 6528, 08 1221 0764

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วนอุทยานป่าสนหนองคู จังหวัดสุรินทร์

ที่ตั้ง ตำบลทับทัน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
๑. วนอุทยานป่าสนหนองคู อยู่ที่บ้านหนองคู ตำบลทับทัน อำเภอสังขะ เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ไม้สนสองใบที่ถือว่าเป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดที่ขึ้นในที่ราบสูง เป็นโครงการร่วมระหว่างไทย-เดนมาร์ก มีเนื้อที่ 6,250 ไร่ มีลักษณะเด่นคือ เป็นสนสองใบที่ขึ้นในที่ราบแห่งเดียวในประเทศไทยที่ขึ้นอยู่ทั่วไปผสมกับป่าเต็งรัง และมีต้นยางที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ฯ ด้วย มีลักษณะเป็นเถาว์เลื้อยขึ้นตามต้นไม้ มีผลสีเหลืองออกลูกในราวเดือนเมษายน และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวสุรินทร์อีกแห่งหนึ่ง สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ กระรอก บ่าง กระต่าย นกกาเหว่า ผีเสื้อ เป็นต้น นอกจากนั้นทางวนอุทยานฯ ยังได้จัดทำ เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จะได้สัมผัสกับต้นสนขนาดใหญ่ด้วย
วนอุทยานป่าสนหนองคู เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศน์ภายในผืนป่าแห่งนี้ได้ทุกวัน อีกทั้งยังจัดสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาพักแรมกางเต็นท์ภายใต้ธรรมชาติอันงดงามได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดรับนักท่องเที่ยวทุกวัน เวลา 06.00 – 18.00 น.
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เที่ยวตลาดชุมชน สนสองใบ ตำบลทับทัน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
 0 4451 1362
๗.ช่องทางออนไลน์ –
8.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง 273 หมู่ 5 ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนรูปกรวยคว่ำสูง 2,275 เมตร จากระดับน้ำทะเล สูงเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศรองจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ โดยอยู่ในการดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีการศึกษาธรรมชาติและพักค้างแรม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ปิดพักฟื้นธรรมชาติตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 31 ตุลาคม ของทุกปี
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ค่าธรรมเนียมเข้าพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
● ผู้ใหญ่ 20 บาท/คน (อายุ 14 ปีขึ้นไป)
● เด็ก 10 บาท/คน (อายุ 4-13 ปี)
● ชาวต่างชาติ 200 บาท/คน
● ค่ามัดจำขยะ 500 บาท คน
● ค่าธรรมเนียมสถานที่กางเต็นท์ หลังละ 30 บาท/คน/คืน
● ค่าประกันชีวิต
อัตราค่าเช่าอุปกรณ์ในการพักแรม
● เต็นท์ 300 บาท/หลัง
● ถุงนอน 100 บาท/ถุง
● แผ่นรองนอน 50 บาท/อัน
● หม้อสนาม 60 บาท
● เตาแก๊ส 100 บาท/อัน
● แก๊สกระป๋อง 60 บาท/กระป๋อง
● กระเป๋าชุดขับถ่ายฉุกเฉินประมาณ 200 บาท/ชุด/คน
● ค่ามัดจำอุปกรณ์พักแรม 500 บาท
บริการจากชุมชน
● ค่าบริการรถรับจ้าง ไป-กลับ 480 บาท/คน (โดยสารได้จำนวน 5 คน)
● ค่าบริการคนนำทาง ไป-กลับ 120 บาท/คน (บริการนักท่องเที่ยวได้จำนวน 10 คน)
● ค่าบริการลูกหาบ ไป-กลับ 200 บาท/คน (บริการนักท่องเที่ยวได้จำนวน 5 คน)
*ลูกหาบ 1 คน ขนสัมภาระได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
มีการศึกษาธรรมชาติและพักค้างแรม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
โทร.0 5345 6623
๗.ช่องทางออนไลน์
https://m.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-1907831442777293/
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม