ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองสังข์ จังหวัดนครพนม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองสังข์ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ๖ หมู่บ้าน หมู่ 1,2,7,8,10,11  มี ๑,๐๐๐ กว่าหลังคาเรือน เป็นชนเผ่าไทกะเลิง มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตนเองด้านภาษา การแต่งกาย  มีประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาตาม ฮีต ๑๒ คอง ๑๔  ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตามริมน้ำก่ำ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นทุ่งนา อาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพรอง การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักสวนครัว การทอผ้าลายโบราณที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน 

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองสังข์ เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี   มีที่พักโฮมสเตย์ที่ผ่านการรับรองจากกรมการท่องเที่ยว การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน คือการรำกลองตุ้ม อาหารพื้นถิ่น คือ หลามปลาช่อน ต้มส้มไก่บ้าน และผักนานาชนิดของชุมชนและของฝากจากชุมชน ที่โดดเด่นคือผ้าทอลายโบราณ ผ้าย้อมไม้มงคล ผ้ามุก ผ้าลายจกหีแข้ที่มีชื่อเสียงของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสระพังทอง
เป็นสถานที่ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

สวนสาธารณะดอนตาทอง
เป็นสวนสาธารณะใช้ในการจัดกิจกรรมของชุมชน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
เป็นสถานที่ในการเก็บรวบรวมของเก่า

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนสาธารณะหนองสังข์และดอนตาทอง
เป็นสวนสาธารณะใช้ในการจัดกิจกรรมของชุมชน

ธรรมชาติน้ำหนองสังข์โครงการพระราชดำริ
เป็นหนองน้ำสาธารณะโครงการพระราชดำริ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ
ส่งสหกรณ์โพนยางคำ อ.เมืองจ.สกลนคร  นายคนิล แสงโคตร บ้านเลขที่ 202 หมู่10 บ้านหนองสังข์

กลุ่มเพาะเห็ด
กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว   เห็ดฮังการี่เห็ดนางฟ้า  เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน นายพงษ์สิทธิ์ เขื้อตายา บ้านเลขที่ 4 หมู่ 8 บ้านหนองสังข์

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การนั่งซาเล้ง
สวนสาธารณะดอนตาทอง นักท่องเที่ยวสามารถนั่งซาเล้งในการเที่ยวชมชุมชน

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง
ศาลาประชาคมหมู่ที่ 1,7,10 บ้านนางหงษ์ อินทะวงศ์ บ้านหนองสังข์ ทอผ้าพื้นเมืองสีธรรมชาติ/ผ้ามุก ลายโบราณลายดอกมะส้าน/ลายจกหีแข้ (ผ้าสไบ,ผ้าคลุมไหล่) ย่ามสะพาย

การจักสาน
เลขที่ 120 หมู่ 1 นายเงิน แสนสามารถ จักสานไม้ไผ่ เช่น กระต่า,ข้อง,หวดนึ่งข้าว,สวิง,กระติบข้าว

การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
วัดสระพังทอง ฟ้อนกลองตุ้ม 12 ท่ารำ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดโพธาราม จังหวัดยโสธร

ชุมชนคุณธรรม วัดโพธาราม บ้านห้องแซง เป็นชุมชนชาวพุทธ วิถีผู้ไทที่มีความสุข ความดีงามมีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีความพร้อมในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ แบ่งปันความสุข สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวดุจญาติมิตร 

ชุมชนคุณธรรม วัดโพธาราม บ้านห้องแซง มีการอนุรักษ์สืบสานฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ และประเพณีปฏิบัติตามหลักศาสนา มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือภาษาผู้ไท อาหารพื้นถิ่น การทอผ้ามัดหมี่ภูไท คนในชุมชนแต่งกายด้วยผ้ามัดหมี่ภูไทที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดโพธาราม
เป็นแหล่งเรียนรู้ประจำชุมชน เป็นศูนย์กลาง ในการประกอบพิธีการทางศาสนา และกิจกรรมของชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้ วิถีวัฒนธรรมภูไทห้องแซง วัดป่าจันทรวนาราม

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชตำบลห้องแซง

ตลาดวัฒนธรรมวิถีถิ่น วิถีผู้ไท ตลาดต้องชม

ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า ย้อมสีธรรมชาติ

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ผ้ามัดหมี่บ้านห้องแซง (แม่พลอยฝ้ายภูไท)

เสากลางบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน

ภูถ้ำพระ

ภูร่มเย็นมโนธรรม (ภูตากแดด) หินสามก้อน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำบุญตักบาตร
หน้าบ้านพัก โฮมสเตย์ วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนได้มี ส่วนร่วมในการทำบุญตักบาตรตอนเช้า ณ บริเวณหน้าบ้านพักโฮมสเตย์ และบริเวณชุมชนฯ

การบายศรีสู่ขวัญ
วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม การบายศรีสู่ขวัญ  กิจกรรมพาแลง

ฐานเรียนรู้ การทำขันหมากเบ็ง
วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม การทำขันหมากเบ็ง บายศรี ดอกไม้ใบตอง ใบเตย

ฐานเรียนรู้ สมุนไพรพื้นบ้าน
วัดโพธาราม/วัดป่าจันทวนาราม เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน อาทิเช่น
-การทำลูกประคบ
-ยาต้มสมุนไพรโบราณ เป็นต้น

ฐานเรียนรู้ หมอลำ หมอแคน
วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม ชมและร่วมสนุกกับการแสดงของศิลปินผู้ไท (หมอลำ หมอแคน)

ฐานเรียนรู้ การจักสาน
วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม

ฐานเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน
วัดโพธาราม/วัดป่าจันทวนาราม การละเล่นพื้นบ้าน อาทิเช่น
-ม้าโยกเยก
-ดีดบักแต้ เป็นต้น

ฐานเรียนรู้การทอผ้า
วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม

ฐานเรียนรู้ลงโข่ง หรือ การลงข่วง
วัดโพธาราม/ วัดป่าจันทวนาราม การลงโข่ง หรือ การลงข่วง  เป็นบริเวณที่หนุ่มสาว มาพบปะพูดคุยกัน โดย  ฝ่ายหญิงปั่นฝ้าย ฝ่ายชายเป่าแคน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม