ชุมชนคุณธรรมบ้านภูมิโปน จังหวัดสุรินทร์

เป็นชุมชนที่มีปราสาทเก่าแก่ที่มีอารยธรรมของ “ขอม” บริเวณปราสาทปรากฏร่องรอยการทำชลประทานในสมัยโบราณ คือ มีน้ำสองชั้น เป็นลักษณะคันดินล้อมรอบน้ำ และรอบคันดิน ซึ่งเป็นภูมิศาสตร์ที่หลงเหลือไว้ให้เห็น คำว่า “ภูมิโปน” มาจากภาษาเขมร “ปูม” ซึ่งแปลว่าแผ่นดินหรือสถานที่ และ คำว่า “โปน” มาจากคำว่า “ปูน” แปลว่าหลบซ่อน จากความหมายของชื่อก็มีความสัมพันธ์กับตำนานท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้คือ ตำนานเรื่อง “เนียงด็อฮธม” ซึ่งแปลว่า “นางนมใหญ่” 

ชุมชนคุณธรรมบ้านภูมิโปน ผู้คนมีความโอบอ้อมอารี พร้อมทั้งยินดีต้อนรับผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมเยือนภายในชุมชนด้วยความเป็นมิตรตลอดเวลา ชุมชนมีอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด ทั้งเรื่องการแต่งกาย ภาษา อาหาร การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ปราสาท ภูมิโปน
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วย โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาท แบบศิลปะเขมร ที่มีอายุเก่าที่สุด ในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13
ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ ยังมีท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

พิพิธภัณฑ์โรงเรียนดมวิทยาคาร
พิพิธภัณฑ์โรงเรียนดม วิทยาคาร จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์โดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในบริเวณใกล้เคียง เช่น บ้านภูมิโปน บ้านดม ในการบริจาควัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดแสดง

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สระน้ำโบราณ
เป็นลักษณะคูกำแพงเมือง เขื่อนดินโบราณ และสระน้ำ โดยเฉพาะน้ำเป็นระบบชลประทานที่ถูกออกแบบมา มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สระลำเจียก สระตา สระกนาล สระตราว และสระปรือ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงสวนมะนาว คุณสุจิน ยวนจิต
เป็นสวนมะนาวที่ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ ซึ่งเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่ต้องการให้มะนาวสามารถออกลูกนอกฤดู และง่ายต่อการจัดการ เนื่องจากการปลูกในบ่อซีเมนต์สามารถปลูกให้มีขนาดทรงพุ่มเท่ากับการปลูก ใน แปลงดินได้ และง่ายต่อการงดน้ำ   เพื่อบังคับให้ออกลูก นอกฤดู

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน เป็นกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน โดยใช้บายศรี ข้าวตอก

ร่วมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เช่น เรือมอันเร
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน   เรือม แปลว่า “รำ” ลู้ด แปลว่า “กระโดดหรือเต้น” อันเร แปลว่า “สาก” ฉะนั้นคำว่า เรือมอันเร หรือ ลู้ดอันเร แปลว่า “รำสาก” หรือ “เต้นสาก” เรือมอันเรหรือ ลูดอันเร เป็นการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรจังหวัดสุรินทร์ที่เล่นกันในเดือนห้า(แคแจด) ซึ่งถือเป็นวันพักผ่อนประจำปี

ปั่นจักรยาน/ นั่งรถซาเล้ง
บริเวณชุมชนบ้านภูมิโปน กิจกรรมปั่นจักรยาน/นั่งรถซาเล้ง ตามเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน

ร่วมรับประกอบอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)
ลานวัฒนธรรม ปราสาทภูมิโปน /สุจินโฮมสเตย์ ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านอันแสนอร่อย กบยัดไส้ ไก่อบสมุนไพร น้ำพริกแคบหมู ขนมปะการันเจก ขนมเนียล

งานฝีมือ/งานประดิษฐ์
ฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์   ผ้าไหม ณ บ้าน นาง รัตติยา จินดาวงษ์ รวมทำงานฝีมือ /งานประดิษฐ์ เช่น การปักกระเป๋าใส่แก้ว
ฐานการเรียนรู้งานจักสาน การสานตั๊กแตนจากใบลาน ใบมะพร้าว และสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดดงกลาง (บ้านดงกลาง) จังหวัดพิจิตร

ชุมชนบ้านดงกลาง แต่เดิมมีสภาพเป็นป่า ต่อมาได้มีชาวบ้านเข้ามาบุกร้างสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณลำคลองเมืองเก่าหรือที่เรียกกันว่า “คลองข้าวตอก” มีวัดดงกลางเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สามัคคี มีความปลอดภัยพร้อมสำหรับผู้มาท่องเที่ยวเยี่ยมเยือน 

มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ มีกิจกรรมตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอกทุกวันอาทิตย์ ตลาดชุมชนคุณธรรมทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ชาวบ้านจะนำพืชผัก ไม้ผลที่ปลูกไว้มาจำหน่าย แลกเปลี่ยนกัน มีวิถีเกษตรปลูกพืชผักไว้ริมรั้ว การทำนาแบบอนุรักษ์ มีประเพณีลอยกระทง ลาวา สายธาราดงกลาง” ทำจากกะลาเพื่ออนุรักษ์น้ำ และลำคลอง

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดดงกลาง
– กิจกรรมตักบาตรทางน้ำทุกวันอาทิตย์
– งานประเพณีลอยกระทงลาวา สายธาราดงกลาง

บ้านเรือนไทยเก่าแก่
– มีสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นท้องถิ่น

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

รุกขมรดก ต้นสะตือยักษ์
ชมรุกขมรดกของแผ่นดิน ต้นสะตือยักษ์ อายุกว่า 200 ปี

คลองข้าวตอก
เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนชุมชนบ้านดงกลาง มีกิจกรรมตักบาตรทางน้ำ ประเพณีลอยกระทงลาวาสายธาราดงกลาง

บึงอ้ายจ๋อ
บึงน้ำขนาดใหญ่ สามารถปั่นจักรยานรอบบึง ชมพระอาทิตย์ตกดิน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ตลาดชุมชนคุณธรรม วัดดงกลาง ริมคลองข้าวตอก
ตลาดตั้งอยู่ที่ชุมชนคุณธรรม วัดดงกลาง ริมคลองข้าวตอก ทุกวันเสาร์ –อาทิตย์ ชาวบ้านจะนำพืชผักผลไม้ที่ปลูกไว้มาจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกัน มีอาหารพื้นถิ่น ขนมไทยโบราณ

ศูนย์การเรียนรู้การประดิษฐ์ดอกไม้จากดินไทย
ชมการสาธิตและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปั้นดินไทย

นาบัว
ชมความสวยงามตามธรรมชาติของนาบัว

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง และจุดรับซื้อผัก ผลไม้ชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้น้ำส้มควันไม้
สาธิตการทำน้ำส้มควันไม้และการเรียงฟืนที่สวยงาม

กลุ่มจักสาน
ชมการสาธิตและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอกทุกวันอาทิตย์
วัดดงกลาง จุดเด่นของบ้านดงกลางคือการตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอก

เที่ยวชมตลาดชุมชนคุณธรรม
วัดดงกลาง อาหารพื้นบ้าน แกงบอน แกงหยวก แกงขี้เหล็ก น้ำพริกปลาดุกย่าง น้ำพริกกะปิชะอมทอด เย็นตาโฟแห้ง และหมูจุ่มป้าแจ๋ว ขนมไทยแม่บัวขาว กระยาสารทบ้านดงกลาง กล้วยทอดเบรกแตกแม่สว่าง กล้วยม้วนแม่ยุพิน/แม่อารีย์ ข้าวหลามดงกลาง  ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะยงชิด ส้มโอ ผักปลอดสารพิษ เช่น ชะอมไร้หนาม

กิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชุมชน
กราบนมัสการหลวงพ่อปุ่น หลวงพ่อเตียง ชมวิถีชุมชน ชมรุกขมรดกของแผ่นดินต้นสะตือยักษ์ อายุกว่า 200 ปี ชมพระอาทิตย์ตกดินที่บึงอ้ายจ๋อ

กิจกรรมชมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ชมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฝึกทำน้ำฟักข้าว  เรียนรู้การทำน้ำส้มควันไม้ (การเรียงไม้ฟืนที่สวยงาม)

กิจกรรมรำวงเพื่อสุขภาพ กลองยาว
นักท่องเที่ยวสามารถชมและร่วมกิจกรรมได้

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม