ประสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
 ๑.ปราสาทหินเมืองต่ำเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ตามคติศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตั้งอยู่ ณ พื้นราบเบื้องล่างของเขาพนมรุ้งและน่าจะเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับปราสาทพนมรุ้ง เห็นได้จากปราสาททั้งสองแห่งอยู่ใกล้กัน ลักษณะสถาปัตยกรรมด้านในของปราสาทเมืองต่ำนั้นได้รับการก่อสร้างด้วยฝีมือช่างในระดับช่างหลวง ไม่ด้อยกว่าปราสาทพนมรุ้งเลย ชื่อของปราสาทเมืองต่ำเป็นชื่อที่เข้าใจกันว่ามาเรียกกันในภายหลัง คือเปรียบเทียบกับเมืองสูงอย่างพนมรุ้งก็เป็นได้ เพราะคำว่า “เมืองต่ำ” หมายถึงพื้นที่ต่ำ หรือพื้นที่ราบ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกันก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบๆ ยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองนั้นมีซุ้มประตูก่อด้วยหินทรายอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน หรือมีอายุการก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ปี ศาสนสถานแห่งนี้ถูกทิ้งร้างไปในช่วงหนึ่งเป็นระยะเวลายาวนานโดยเฉพาะหลังจากที่อาณาจักรกัมพูชาเสื่อมถอยลงในปลายพุทธศตวรรษที่ 18
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 นาฬิกา ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (20บาท)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 4466 6251
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.bankokmuang.in.th
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง บ้านดอนหนองแหน ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
๑.ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เป็นโบราณสถานเนื่องในอิทธิพลอารยธรรมเขมรโบราณที่มีความงดงาม และมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะ หนึ่งในสามเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู (ตรีมูรติ) ลัทธิไศวะนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล กลุ่มอาคารบนยอดเขามีการก่อสร้างหลายยุคสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 – 18 มีปราสาทประธาน เป็นสถาปัตยกรรมหลักที่สำคัญที่สุด ชื่อ “พนมรุ้ง” มาจากภาษาเขมรว่า “วนํรุง” แปลว่า ภูเขาอันกว้างใหญ่ โดยคำนี้ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกอักษรขอมพบที่ปราสาทพนมรุ้ง
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
07.00 – 18.00 นาฬิกา ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (20บาท)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 4466 6251
๕. ช่องทางออนไลน์
http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phanomrung
https://www.facebook.com/Ensemble.of.Phanom.Rung
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
 ๑. พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑ เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจ ที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และมหาจักรีบรมราชวงค์ โดยประวัติมีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชกรุงธนบุรี พระยานางรองคบคิดเป็นกบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เมื่อยังดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบ และรวบรวม ผู้คนตั้งเมืองขึ้น เรียกว่า “เมืองแปะ” แต่งตั้งบุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็น บุรีรัมย์ ต่อมา ประชาชนชาวบุรีรัมย์ร่วมกันบริจาค ร่วมกันสร้าง และติดตั้ง ไฟฉัตร 9 ชั้น 360 ต้น ถวายเนื่องในวันจักรี พุทธศักราช 2564 ส่งผลให้เกิด เป็นทัศนียภาพใหม่ และเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ


๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใกล้ภูเขาไฟปลายบัด มีชาติพันธุ์ไท – ลาว และ ไท – เขมร ที่มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยมีโบราณสถานเป็นทุนทางวัฒนธรรม อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทเขาปลายบัด กุฏิฤาษี และสามารถเชื่อมโยงไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ด้วยระยะทางเพียง 8 กิโลเมตร

ตามรอยอารยธรรมขอมทวารวดีสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เที่ยวชมโบราณสถานอายุกว่า 1,400 ปี รอบ ๆ ชุมชน เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม สินค้าภูมิปัญญา อาทิ ผ้าไหมลายผักกูด  ผ้าหมักโคลนบารายพันปี ข้าวภูเขาไฟเขาปลายบัด เสื่อกกยกลาย สมุนไพรเขาปลายบัด พร้อมที่พักมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทที่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ตามคติศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ปี

กุฏิฤาษี
อโรคยศาลในพุทธศาสนามหายา สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ครอบคลุม เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา

ปราสาทเขาปลายบัด 1
ศาสนสถานที่สร้างในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นศิลปะเขมรแบบคลัง -บาปวน

ปราสาทเขาปลายบัด 2
ศาสนสถานตั้งอยู่บนสันเขาตามความเชื่อศาสนาฮินดู มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ในรัชกาลของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ปัจจุบันพังทลายเหลือเพียงผนังด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เนื่องจากถูกนักล่าของเก่าระเบิดทำลาย เพื่อขุดหาโบราณวัตถุ

ตลาดโบราณ
ตลาดชุมชน จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชน เปิดจำหน่ายทุกวันช่วงเช้าและเย็น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ภูเขาไฟปลายบัด
ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  ปากปล่อง มีลักษณะเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก สูง 289 เมตร จากระดับนน้ำทะเลปานกลาง มีปราสาทตั้งอยู่ 2 หลัง ได้แก่ ปราสาทปลายบัด 1 และปลายบัด 2 อยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร 

บารายเมืองต่ำ
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณเหนือตัวปราสาทเมืองต่ำ สร้างขึ้นในสมัยเดียวกับปราสาทเมืองต่ำ คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 เป็น สถานที่กักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในสาธารณูปโภคในสมัยนั้น 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

องุ่นภูเขาไฟ
ไร่องุ่นออแกนิค ตั้งอยู่เชิงเขาปลายบัด เปิดให้ชมระหว่างเดือนธันวาคม – เมษายน หรือจนกว่าองุ่นจะหมด 

239 ฟาร์มปูนา
ฟาร์มปูนาที่ได้นำระบบน้ำใต้ดินมาช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมที่เชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลเกิดความสวัสดิ์ดีกับผู้รับขวัญ โดยพราหมณ์จะใช้ภาษาอีสาน เป็นบทนำกล่าว 

การแสดงพื้นบ้าน
ลานวัฒนธรรม แสดงพื้นบ้านชุด เมืองต่ำระบำขอม เป็นชุดการแสดงที่จัดเตรียมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 

ปั่นจักรยาน
รอบบริเวณชุมชน ปั่นจักรยาน ชมบายรายเมืองต่ำ กุฏิฤาษี ปราสาทเมืองต่ำ ทัศนียภาพรอบชุมชน เช็คอินที่จุดชมวิวต้นตาลคู่ อุโมงค์ต้นไม้ สะพานขอม

ตักบาตร
หน้าตลาดโบราณ ทำบุญตักบาตร ตอนเช้า หน้าตลาด 

ย้อมผ้าหมักโคลนบารายพันปี
กลุ่มผ้าหมักโคลน หมู่ 15 เรียนรู้และทดลองย้อมผ้าแบบโบราณ ด้วยการหมักโคลนจากบารายกุฎิฤาษี

ทอเสื่อกก
กลุ่มเสื่อกกคนพิการ เรียนรู้ขั้นตอนการทอเสื่อกก และทดลองทอเสื่อกก 

ทอผ้า
กลุ่มทอผ้า บ้านโคกเมือง เรียนรู้และทดลองทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม