ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปเสื่อกก จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมวัดชัยประสิทธิ์ บ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ กกแพง
๒.ชื่อผู้ประกอบการ ชุมชนคุณธรรมวัดชัยประสิทธิ์
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ เสื่อกกบ้านแพง
เป็นลายพื้นไม่ย้อมสี ปัจจุบันมีการประยุกต์ทอเป็นลายต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ กระเป๋า
จากเดิมที่เคยทำกระเป๋าแบบสะพายข้างก็ได้มีการพัฒนาไปเป็นการทำกระเป๋าเป้ กระเป๋าถือ สวยงามทันสมัย ถูกใจทุกคน
๓.๓ ชื่อผลิตภัณฑ์ หมวก
หมวกทำจากกก ใช้วัสดุจากชุมชน สวยงาม ราคาถูก
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการตั้งแต่ เวลา 08.30 – 16.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ 09 3553 3163
๖.ช่องทางออนไลน์ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้การทอผ้า ชุมชนคุณธรรมบ้านโคกเครือ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง เลขที่ 29 หมู่ที่ 5 ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
๑.ชื่อยี่ห้อ/แบรนด์ ชุมชนคุณธรรมบ้านโคกเครือ
๒.ชื่อผู้ประกอบการ นางทองมา พิเอ้กา
๓.ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๓.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ ผ้าไทย (ผ้าฝ้าย ผ้าไหม)
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ ทอจากเส้นไหมเลี้ยงเอง ทอเอง รายละเอียดการมัดหมี่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ทอด้วยความประณีต
๓.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ ร่มผ้าขาวม้า
รายละเอียดความโดดเด่น สั้นๆ เป็นการต่อยอดผ้าขาวม้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ร่มสามารถกันแสงยูวีได้ สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
๓.๓ ชื่อผลิตภัณฑ์ ตะกร้าไม้ไผ่ ความโดดเด่น ไม้ไผ่เนื้อดีมีความแข็งแรง ราคาถูก
๔.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 17.00 น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ 09 3442 6725
๖.ช่องทางออนไลน์-

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่ ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ ให้แก่คนในชุมชน และผู้ที่สนใจ ทั้งนี้มีการปลูกผัก พืชอายุสั้น ผักปลอดสารพิษ เพื่อให้ชุมชนได้บริโภค ผลิตผลการเกษตร มีความปลอดภัย มีการแปรรูปอาหาร อีกทั้งมีการจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวชมสะพานไม้แกดำ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยของจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจมาศึกษาดูงานศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว เพื่อศึกษาข้อมูลในการทำการเกษตร เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาการทำการเกษตรของชุมชนตนเองต่อไป
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 18.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ ๐๘ ๓๓๓๙ ๓๔๗๐
๖.ช่องทางออนไลน์ –
๗.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ / จุดบริการนักท่องเที่ยว / ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

สะพานไม้แกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
๑.สะพานไม้แกดำ เป็นสะพานไม้ที่ทอดยาวไปยังอ่างเก็บน้ำหนองแกดำซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของอำเภอแกดำ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวกว่า 100 ปี ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ แต่ก่อนสะพานไม้นี่ทรุดโทรมาก ชาวอำเภอแกดำพร้อมด้วยกำลังทหาร ช่วยกันซ่อมแซมสะพานไม้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีความโดดเด่น มีความสวยงาม มีจุดชมวิว ถ่ายภาพ จุดเช็คอิน สำหรับนักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพ มีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการนักท่องเที่ยว อีกทั้งบริเวณใกล้เคียงมีร้านอาหาร และร้านกาแฟ บริการนักท่องเที่ยว ด้วย สะพานไม้แกดำ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ที่เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญของจังหวัดเป็นประจำทุกปี และกิจกรรมงานประเพณีต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ลอยกระทง บุญบั้งไฟ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวตลอดตั้งปี
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน 05.00 – 22.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
กิจกรรมเซิ้งกระโจม กิจกรรมพาแลง บายศรีสู่ขวัญ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ติดต่อสอบถามได้ที่ ๐๘ ๓๓๓๙ ๓๔๗๐
๗.ช่องทางออนไลน์
เพจ หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านหัวขัว
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระบรมธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ที่ตั้ง บ้านจำปาศรี หมู่ที่ 2 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
๑.เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมหาสารคาม ที่นักท่องเที่ยวมากรอบไหว้สักการะขอพร
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวทุกวัน
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม 0 4379 7129
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/phathatnadun/
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคูณ จังหวัดมหาสารคาม

ตั้งอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำมีแหล่งน้ำจากสระน้ำที่ขุดลอกขึ้นมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจ และอยู่ใกล้ตลาด ซึ่งในชุมชนได้ยึดหลักอาชีพเกษตรกรรม โดยได้น้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และอาชีพหลักอีกหนึ่งอย่าง คือ การจัดทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และเป็นสินค้าของฝากของระลึกของชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ มีการแปรรูปอาหารที่เป็นของสดให้สามารถอยู่ได้นาน และขายได้อีกทั้งรสชาติยังเป็นแบบดั้งเดิมสามารถทำขายและเป็นของฝากได้ 

ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ ได้สืบทอดภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัว แต่ละครอบครัวจะได้รับการจัดสรรพื้นที่ในการเพาะปลูก และนำผลผลิตไปขาย หรือมีพ่อค้ามารับที่สวน และปัจจุบันได้จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และได้พัฒนามาเป็นสินค้า OTOP/CPOT ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

โบสถ์โบราณทรงยวน มีหลวงพ่อเมตตาคันธาระ ขอพรให้อุดมสมบูรณ์ชีวิตสงบสุข
เป็นที่สร้างขึ้นในสมัยโบราณ อายุ 120 ปี สร้างโดยช่างชาวยวน มีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อทองนพคุณบรรจุในโบสถ์

หลวงพ่อทองนพคุณ อธิษฐานจิตเสี่ยงทายศักดิ์สิทธิ์นักแล พระพุทธรูปที่สำคัญและเป็นที่เคารพบูชามาแต่สมัย โบราญ อายุ 113 ปี

รุกขมรดก ต้นค้างคาวคู่ เป็นต้นค้างคาวที่มีอายุหลายร้อยปี อยู่บริเวณจวนเจ้าเมืองเก่า เท้าศรีสุวรรณวงษา
ต้นค้างคาวไม้อายุ ๑๐๐ ปี

จวนเจ้าเมืองเก่า เท้าศรีสุวรรณวงษา
พระศรีสุวรรณวงศา (จารเดช) เป็นคนตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ณ ที่ตรงนี้ตรงบริเวณต้นค้างคาวโนนปะหลาน จึงได้จัดตั้งเป็นอนุสรณ์เพื่อสักการะและระลึกถึง

พระธาตุอินทร์แปลง (สถานที่ใกล้เคียง) ห่างจากวัดทองนพคุณ 20 กิโลเมตร
ที่มาของชื่อสถานที่แห่งนี้ ท่านหลวงพ่อได้พาชาวบ้านสร้างพระธาตุแห่งนี้ขึ้นมา โดยองค์พระธาตุนั้นได้แรงบันดาลใจมาจาก ความศรัทธาต่อองค์พระธาตุชาวบ้านได้เข้ามาช่วยกันก่ออิฐถือปูนแต่ง เติมจนกลายเป็นเป็นพระธาตุอินแปลง

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ท่องเที่ยวโดยชุมชนและวิถีชีวิตคนในชุมชน การทำนา โดยใช้ควายในการไถนา
บ้านโนนสูง ต.ปะหลาน ชมวิถีชีวิตดั้งเดิม ขี่ควายชมทุ่ง

ดอนปู่ตา ศาลปูเจ้านันทเมฆ
บ้านโนนสูง ต.ปะหลาน ไหว้ดอนปู่ตา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน เป็นการบอกกล่าวว่ามีผู้มาเยือน ช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แหล่งเรียนรู้ทางเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง
ศึกษาการปลูกผัก การลดน้ำ และการตลาดในการจำหน่ายพืชผักสวนครัว และวิถีชีวิตแบบพอเพียง

ท่องเที่ยวโดยชุมชนและวิถีชีวิตคนในชุมชน การทำนา โดยใช้ควายในการไถนา และขี่ควายชมทุ่ง
ชมวิถีชีวิตดั้งเดิม ขี่ควายชมทุ่ง บ้านโนนสูง ต.ปะหลาน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

จำหน่ายของฝากของระลึกของชุมชน
ศูนย์จำหน่ายสินค้าวัดทองนพคุณ ร่วมทำอาหารของฝากของระลึก และนำมาจำหน่ายยังบริเวณศูนย์จำหน่ายสินค้าของวัดทองนพคุณ

ขนมศิลาอ่อน (ขนมเปียกปูน)
ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณ บ้านโนนสูง ต.ปะหลาน ชุมชนคุณธรรมวัดทองนพคุณร่วมกันทำขนมศิลาอ่อนเป็นของฝาก และของระลึกของชุมน และเป็นการสืบทอดของบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายายให้คงอยู่ สืบไป

ฟ้อนต้อนรับนักท่องเที่ยว และกิจกรรมร่วมสร้างความสามัคคี
ฟ้อนสตรีศรีพยัค วัดทองนพพคุณ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว จังหวัดมหาสารคาม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัว ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ  มีสะพานไม้แกดำ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอแกดำ  ซึ่งเป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่มีอายุราว ๖๐ – ๗๐ ปี เชื่อมระหว่างชุมชน บ้านหัวขัว และบ้านแกดำอาชีพหลักทำนาและอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่ายตามวิถี    ชนบทอีสาน ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่

ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวขัวมีความโดดเด่นในเรื่องของวิถีชีวิตที่เรียบง่าย วิถีของผู้คนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ     ติดกับอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ วิถีชีวิตการประกอบอาชีพจะมีอาชีพทำนาและการเกษตรเป็นหลัก ปลูกพืชผัก     ปลอดสารพิษ  โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  สะพานไม้แกดำ  เป็นสะพานไม้เก่าแก่อายุราว ๖๐-๗๐ ปี 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

จุด check in บริเวณสะพานไม้แกดำ
เป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่มีอายุราว ๖๐ – ๗๐ ปี เชื่อมระหว่างชุมชน บ้านหัวขัว และบ้านแกดำ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ร่วมวิถีชุมชน พิธีถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ณ วัดบ้านหัวขัว
การเดินบิณฑบาตของพระสงฆ์ สถานที่พักผ่อนและออกกำลังกาย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผักปลอดสาร
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ลงแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ เก็บผักมาปรุงอาหาร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงเซิ้งกระโจม สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่งดงาม
กระโจมต้อนรับนักท่องเที่ยว มีการละเล่นเซิ้งกระโจม เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน การละเล่นเซิ้งกระโจม นิยมเล่นกันในงานบุญประเพณี บุญบั้งไฟ (ฮีตเดือนหก) โดยจะแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้าน บนศรีษะสวมหมวกคล้ายรูปกระโจม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม