ร้านก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ฮ่องเต้ จังหวัดอุทัยธานี

ที่ตั้ง ถนนศรีน้ำซึม ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
๑. ต้นตำรับบะหมี่ไข่เส้นสดทำเองจากรุ่นสู่รุ่น ที่มีรสชาติและเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทำเส้นบะหมี่สดๆ ชามต่อชาม ตำนานบะหมี่นี้ เริ่มจากรุ่นเหล่ากงทำบะหมี่ขายอยู่เมืองจีน เป็นรุ่นที่ 1 จากนั้นรุ่นอากงอพยพมาเมืองไทย ขึ้นเรือมาที่อุทัยธานี ก็สืบต่องานบะหมี่ในเมืองไทยเป็นรุ่นที่ 2 ตั้งแต่ปี พศ.2430 เป็นที่รู้จักในอุทัยธานีชื่อ บะหมี่เจ๊กปอเคย (เจี่ยปอเคย) ต่อมารุ่นที่ 3 เป็นรุ่นเตี่ย เจี่ยตงชิว เป็นยุคที่เริ่มนำเครื่องจักรมาช่วยในการผลิต และเริ่มใช้ชื่อ บะหมี่ฮ่องเต้ แต่คนเก่าแก่ของอุทัยฯ ยังคงเรียกบะหมี่เจ๊กปอเคยและรุ่นที่ 4
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 บะหมี่เกี๊ยวหมูย่าง
2.2.บะหมี่ต้มยำไข่
2.3. เย็นตาโฟต้มยำ
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
10.00 -15.00 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
ร้านไพพรรณ โทร 0 5651 2512
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook ร้านบะหมี่ฮ่องเต้ อุทัยธานี

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

แก่นมะกรูด จังหวัดอุทัยธานี

ที่ตั้ง ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
๑. บ้านแก่นมะกรูด เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีชาวบ้านในพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง โดยรอบ ๆ หมู่บ้านมีภูเขาน้อยใหญ่โอบล้อมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนความสูงจากน้ำระดับทะเลประมาณ 700 เมตร จึงทำให้ที่นี่มีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ช่วงเวลาที่เหมาะสม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
หมายเลขโทรศัพท์ 0 5651 1297 ในวันเวลาราชการ
๖. ช่องทางออนไลน์
Facebook แก่นมะกรูด
๗. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ จุดบริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดอุโปสถาราม จังหวัดอุทัยธานี

ที่ตั้ง ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
๑. วัดอุโปสถาราม เดิมชื่อ “วัดโบสถ์มโนรมย์” ชาวบ้านเรียกว่า “วัดโบสถ์” เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรัง บนเกาะเทโพในเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี จากตลาดสด มีสะพานข้ามแม่น้ำไปยังวัดอุโบสถาราม ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์และวิหาร เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในโบสถ์เป็นภาพพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานฝีมือประณีตมาก
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00 น.- 18.00 น
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
วัดอุโปสถาราม 08 9565 5773
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook วัดอุโปสถาราม
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านสะนำ จังหวัดอุทัยธานี

บ้านสะนำเป็นหมู่บ้าน ซึ่งบรรพบุรุษของชาวสะนำ อพยพหนีภัยสงคราม ประมาณ พ.ศ. 2370     เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินและปลูกสร้างเรือนอยู่ ภาษาพูดของชาวสะนำเป็นภาษาลาวสำเนียงคล้ายคนลาวในนครเวียงจันทน์ บรรพบุรุษของคนบ้านสะนำ คือ นางสา  ซึ่งเป็นคนบ้านทัพคล้าย มีสามีชื่อ นายนำ มาอยู่ที่บ้านสะนำก่อน จึงนำมาเป็นชื่อบ้านว่า บ้านสานำ และเพี้ยนมาเป็น บ้านสะนำ ในเวลาต่อมา และเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมของชุมชนลาวครั่งที่ใหญ่ 

ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านสะนำ ประชาชนส่วนใหญ่มีเชื้อสาย ลาวเวียง มีวัฒนธรรมติดตามมา คือ วัฒนธรรมการแต่งกาย  วัฒนธรรมการกิน  ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความเชื่อความศรัทธา  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ตลาดซาวไฮ่
ตลาดซาวไฮ่ ตลาดเล็ก ๆ ที่น่ารักในอำเภอบ้านไร่ ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าทางการเกษตรของชาวบ้านที่รวมตัวกันนำสินค้าทางการเกษตรมาขาย และที่สำคัญเป็นการเกษตรแบบอินทรีย์ด้วย นอกจากนี้ยังมีงานคราฟต์ฝีมือของชาวอุทัยธานี ทั้งเสื้อผ้าย้อมคราม ผ้าไหม และเครื่องจักสานต่าง ๆ รวมไปถึงมีของกินพื้นบ้านอุทัยธานีที่หาทานได้ยากให้เราได้เลือกทานมากมาย เป็นตลาดเล็ก ๆ ที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ และเต็มไปด้วยรอยยิ้มของชาวบ้านที่รอคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ต้นไม้ยักษ์สะนำ (ต้นเชียง)
ต้นไม้ยักษ์ (ต้นเซียง) เป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 60 คนโอบ มีอายุประมาณ 400 – 500 ปี เป็นต้นไม้ใหญ่ยืนต้นท่ามกลางป่าหมาก (ชาวบ้านเรียกว่า ป่าหมากล้านต้น) และอยู่ทามกลางป่าสมุนไพรของชุมชน    ในอดีตถือเป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณของชุมชน ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ป่าหมาก
ป่าหมากล้านต้น ถือเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล มีหลายคน  เป็นเจ้าของแปลงป่าหมาก  เจ้าของหนึ่งคนถือครองคนละไร่ สองไร่ รวม ๆ ทั้งผืนแล้วมีขนาดประมาณกว่า 50 ไร่ ป่าหมากผืนนี้ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของชุมชนเป็นอย่างมาก ถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำผืนสุดท้ายของชุมชนอีกด้วย  ถูกล้อมรอบด้วยลำน้ำจาก  คลองกระเวน ซึ่งเป็นคลองที่เป็นต้นน้ำของลำน้ำกระเสียวไหลผ่าน และมีลำธารน้อย ไหลมาจากเขาปลายฌาน ไหลมาบรรจบล้อมรอบป่าหมากไว้ ถือเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ มีคุณค่าและความสำคัญต่อวิถีชีวิต ทั้งมนุษย์ พืช และสัตว์  ทางนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน ผืนป่าหมากแห่งนี้ เป็นแหล่งรวมพันธุ์ไม้สมุนไพรหายากหลายชนิด ที่เด่นชัดก็จะเป็น ต้นค้างคาวดำ  ฯลฯ หากใครเข้ามาในป่าหมากแห่งนี้จะได้รับความเย็นสบายทุกครั้ง เพราะความชุ่มชื้นของต้นหมากที่โอบอุ้มความเย็นไว้ให้    กับแผ่นดิน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ประเพณีแห่ค้างดอกไม้
ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไร่ และวัดบ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี การแห่ค้างดอกไม้ในช่วงวันสงกรานต์ ก็เพื่อสอนลูกหลานให้รู้จักการมีสัมมาคารวะ รู้จักการขอขมาและการให้อภัยซึ่งกันและกัน จะเรียกกันว่า “เป็นการอนุญาตบาปกรรม” กล่าวคือ การเล่นสงกรานต์มักจะมีการล่วงเกินพระสงฆ์ ล่วงเกินคนเฒ่าคนแก่ และล่วงเกินซึ่งกันและกัน ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดการเล่นสงกรานต์ในแต่ละวัน คนหนุ่มสาว ลูกเด็กเล็กแดง จะพากันไปเก็บดอกไม้ตามบ้านมาผูกให้เป็นพุ่มผูกติดกับคานหาบทรงคล้ายเจดีย์ และหามไปตามหมู่บ้าน เพื่อขออนุญาตบาปกรรมจากคนเฒ่าคนแก่หรือจากทุกคน และคนเฒ่าคนแก่หรือคนทั่วไป ก็จะอนุญาตบาปด้วยการหยาดน้ำไปที่ดอกไม้และก็จะนำดอกไม้ฝากไปด้วย จึงเรียกว่า “ค้างดอกไม้” เมื่อนำไปถึงวัดพระก็จะให้อนุญาตบาปกรรมแก่ญาติโยมด้วยการหยาดน้ำอีกครั้ง 

ปิดบ้าน
ศาลเจ้าบ้าน ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ ตำบลบ้านไร่นั้นทุกหมู่บ้านที่คนในชุมชนเป็นกลุ่ม “ลาวครั่ง” จะต้องทำพิธีปิดบ้านกันในช่วงขึ้น 15 ค่ำเดือนหก จนถึงแรม 5 ค่ำของทุกปี แต่จะไล่เรียงกันเลี้ยงปิดบ้าน ตามแต่ผู้ทำพิธีกรรมจะกำหนดวันของหมู่บ้านนั้น ๆ  มากน้อยขึ้นอยู่กับความพร้อมเพรียงของคนในชุมชน แต่ทั้งนี้ จะมีเพียงกลุ่มหมู่บ้านเดียวเท่านั้นที่ยังคงรักษารากเดิมไว้ได้อย่างน่าชื่นชมและยังคงความงดงามไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้สืบสานต่อได้จนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ “หมู่บ้านสะนำ” 

การแสดงรำ ผีนางด้ง
บ้านสะนำหมู่ที่ ๒ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี การเล่นผีนางด้งการเล่นผีนางด้งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของขนเผ่าลาวเวียงมาแต่โบราณจัดขึ้นระหว่างกลางเดือน ๖ ของทุก ๆ ปีผีนางด้งเป็นการเล่นเกี่ยวกับจิตวิญญาณและพืชพันธุ์ธัญญาหารโดยมีการเชิญวิญญาณผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วมาเข้าสิงเพื่อเล่น รำอย่างสนุกสนานเป็นการแสดงความกตัญญูต่อแม่โพสพ เคารพต่อเจ้าบ้าน และสิ่งศักดิ์ทั้งหลายมีความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ความสามัคคีมีความร่มเย็นเป็นสุขเจริญก้าวหน้า และประสบผลสำเร็จตลอดจนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายต่าง ๆ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม