ที่ทำการประภาคารแหลมงอบ สุดแผ่นดินตะวันออก

ที่ตั้ง ประภาคารแหลมงอบ ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 23120
๑.จุดเด่นและเป็น Landmark สำคัญของชุมชนนี้ อำเภอแหลมงอบเป็นเขตสิ้นสุดฝั่งตะวันออก เป็นสถานที่ตั้งประภาคารแหลมงอบ ที่มีผู้คนมาเช็คอินถ่ายรูปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกับประภาคารเอง หรือว่ากับป้ายสุดเขตตะวันออก เพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าท่านมาถึงจุดสิ้นสุดเขตของภาคตะวันออกแล้วนั่นเอง ในบริเวณนี้มีอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ให้ท่านที่มาเยือนได้สักการบูชา และยังมีจุดถ่ายรูปสวย ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Street Art ที่มีสีสันลวดลายอยู่บนตัวตึก บนพื้นในบริเวณลานจอดรถ หรือว่าสติอาร์ตที่เป็นเรื่องราวร้านข้าวมันไก่ที่อยู่บนผนังตึกสัญลักษณ์เมืองตราด ตัวอักษรภาษาอังกฤษชื่อจังหวัด “ TRAT ” ในบริเวณนี้ยามกลางวันก็จะมีร้านขายของฝากของทะเลตากแห้ง แต่พอตกเย็นก็จะมีร้านอาหารเล็ก ๆ มาเปิดซุ้มขายโดยจะมีเสื่อและโต๊ะญี่ปุ่นไว้ให้บริการลูกค้าที่มาทานอาหารได้นั่งทานอาหารกันยามเย็น อากาศดีมากเลย ทานอาหารไป ชมทะเลไป ดูพระอาทิตย์ตกดินไป ช่างเป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน 06.00-21.00 น. 
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เที่ยวได้ตลอดปี 
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
-ชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เป็นภาพที่ไม่เคยซ้ำกันสักวัน 
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๗.ช่องทางออนไลน์ – 
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง จังหวัดตราด

ที่ตั้ง อนุสรณ์สถาน ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 23120
๑.อนุสรณ์สถานวันวีรกรรมทหารเรือไทยในยุทธนาวีที่เกาะช้าง วันที่ 17 มกราคม 2484 เป็นวันที่มีการรบทางเรือระหว่างไทยกับฝรั่งเศส อันนับเป็นยุทธนาวีครั้งสำคัญยิ่งของกองทัพเรือไทยเท่าที่ได้เคยมีมาในอดีต กองทัพเรือจึงได้ถือเอาวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็นวันสดุดีวีรชนกองทัพเรือ เพื่อแสดงความเคารพและรำลึกถึงวีรกรรมของทหารหาญแห่งราชนาวีไทยทั้ง 36 นาย ที่ได้สละชีพเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทยเอาไว้จวบจนปัจจุบัน ในครั้งนั้น ฝรั่งเศสส่งกำลังเข้ารุกล้ำน่านน้ำไทยบริเวณเกาะช้าง รวมทั้งสิ้น 7 ลำ ขณะที่กองทัพไทย มีกำลังรบเพียง 3 ลำ คือ เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงสงขลา และเรือหลวงชลบุรี เราจึงเสียเปรียบในด้านกำลังรบอย่างไม่อาจจะเทียบกันได้ แต่บรรพบุรุษทหารเรือของเรายังคงมีขวัญและกำลังใจที่ดี และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญตราบจนเรือหลวงของไทยทั้ง 3 ลำ ต้องจมลงสู่อ้อมกอดแห่งท้องทะเลตราดพร้อมกับนายทหารและทหารประจำเรือที่เสียชีวิตไปถึง 36 นาย อนุสรณ์สถานยุทธนาวีฯ ตั้งอยู่บริเวณชายทะเลแหลมงอบ เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง รอบ ๆ บริเวณและอาคารพิพิธภัณฑ์ตกแต่งคล้ายเรือรบ ด้านในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส

๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 
3.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 06 1540 7874 
๕.ช่องทางออนไลน์ – 
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

จวนเรซิดังกัมปอร์ต จังหวัดตราด

ที่ตั้ง 198 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
๑.ตามบันทึกช่วยจำของหลวงสาครคชเขตต์ (ประทวน สาคริกานนท์) ซึ่งเป็นอดีตนายอำเภอเกาะช้าง และอำเภอบางพระ ระหว่าง พ.ศ.2453-2464 กล่าวว่าอาคารจวนเรซิดังฯ ใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงฝรั่งเศส ผู้ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด ระหว่าง พ.ศ. 2447-2450 ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2436-2446 ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรี ไทยต้องเอาดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง คือหลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร และจำปาศักดิ์ ไปแลกเปลี่ยน แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนตัวจากจันทบุรีก็หันมายึดเมืองตราดอีก ต่อมาฝรั่งเศสได้คืนเมืองตราดให้แก่ไทย โดยฝ่ายไทยต้องยกเลิกดินแดนส่วนนอก คือ เมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง และเมืองศรีโสภณ เป็นการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ พ.ศ. 2450-2471 อาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นที่พักผู้ว่าราชการเมืองตราดตลอดมา โบราณสถานแห่งนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงพระมหากรุณาธิคุณในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และความเสียสละของบรรพบุรุษที่ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะทุกวิถีทาง บางคราวยอมสละแม้ชีวิตที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน และในปัจจุบัน ไทยกับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (พักเที่ยงเวลา 12.00 – 13.00 น.) หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 3959 7259
๕.ช่องทางออนไลน์ – 
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านธรรมชาติล่าง จังหวัดตราด

ชุมชนคุณธรรมบ้านธรรมชาติล่าง ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ เกิดจากการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในหมู่บ้านและตำบลที่มองเห็นโอกาสสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน จากการเห็นเหตุการณ์รถติดยาวและนักท่องเที่ยวรอขึ้นเรือเฟอร์รี่เพื่อข้ามไปเกาะช้างเป็นเวลานานในช่วงเทศกาลวันหยุด

มีที่พักโฮมสเตย์ที่มีมาตรฐาน ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการที่พักโรงแรมในพื้นที่ 3 แห่งซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในบรรยากาศติดริมทะเล มีศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ทั้งละครเท่งกุ๊ก และแม่ไม้มวยไทย  ที่เตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีกิจกรรมทำผ้ามัดย้อม 3 ป่า จากสีธรรมชาติที่นอกจากจะเป็นกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำแล้ว ยังเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น เป็นของฝากของที่ระลึกได้อีกด้วย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ฐานเรียนรู้การทำผ้ามัดย้อม
“มัดย้อม 3 ป่า” เทคนิคการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีจากพืชพรรณในป่าของชุมชน ป่าชายเลน ป่าสมุนไพร หมักด้วยน้ำเค็มจากทะเลเพื่อให้ได้สีสด
ฐานการเรียนรู้บ้านสมุนไพร
สมุนไพร 10 อย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ นำมาแช่เท้าให้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ไฮไลท์คือ “ต้นกระดูกไก่ดำ” สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

ฐานเรียนรู้การทำขนมจีนเส้นมงคล
เรียนรู้ภูมิปัญญาผ่านกิจกรรมการทำขนมจีนบ้านเส้นมงคล ทำให้เส้นเหนียวนุ่ม อยู่ได้นานถึง 36 ชั่วโมง ตั้งแต่กระบวนการผลิตแป้ง นวดแป้ง โรยแป้ง และจับเส้น จนเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของชุมชน
วัดธรรมชาติล่าง
วัดประจำชุมชนที่ชาวชุมชนร่วมกันสร้าง เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมทางศาสนาของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวทะเล 7 สี
จุดชมวิว 180 องศา ที่อยู่บนภูเขาสูงหันหน้าออกทะเลมองเห็นวิวของเกาะช้าง กับปรากฏการณ์การสะท้อนแสงพระอาทิตย์กับผืนน้ำทะเลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีสันได้อย่างสวยงาม
จุดชมปะการังบก
ปะการังบก หรือปะการังน้ำตื้นที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติของชุมชน น่าอัศจรรย์ใจยิ่ง

ต้นกระบก 200 ปี
ต้นกระบกโบราณที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนาน เป็นเสมือนสัญลักษณ์การบอกทิศทางให้นักเดินเรือ สูงตระหง่านบนเนินเขาสามารถมองเห็นได้ไกลจากท้องทะเล

ธนาคารปูม้า
เรียนรู้กระบวนการอนุรักษ์ปูม้าของชุมชนเพื่อให้ปูม้าคงอยู่ทะเลไทยเติมเต็มระบบนิเวศสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวประมงและคนรุ่นหลัง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บ้านสมุนไพร
สมุนไพร 10 อย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ นำมาแช่เท้าให้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ไฮไลท์คือ “ต้นกระดูกไก่ดำ” สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมการแสดงละครเท่งกุ๊ก
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน ละครเท่งกุ๊ก หรือละครชาตรี เป็นการแสดงพื้นบ้านที่สะท้อนให้เห็นถึงการแผ่ขยายทางวัฒนธรรมโนราจากภาคใต้ ทำให้สามารถสันนิษฐานถึงชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ของจังหวัดตราดได้ โดยการแสดงได้ประยุกต์ใช้ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวตราดจนเป็นเอกลักษณ์การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดตราด แสดงโดยลูกหลานในชุมชน

ชมการแสดงแม่ไม้มวยไทย
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มความสุขและความสนุกสนาน อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทย
ทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน “มัดย้อม 3 ป่า” เทคนิคการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีจากพืชพรรณในป่าของชุมชน ป่าชายเลน ป่าสมุนไพร หมักด้วยน้ำเค็มจากทะเลเพื่อให้ได้สีสด
ทำลูกปะคบสมุนไพร
บ้านสมุนไพร สมุนไพร 10 อย่าง ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ นำมาแช่เท้าให้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ไฮไลท์คือ “ต้นกระดูกไก่ดำ” สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย
ทำกระเป๋าภาษาตราด
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนเรียนรู้ภาษาตราด ภาษาถิ่นผ่านการเพนท์กระเป๋าผ้าไปเป็นของที่ระลึก ค่อย ๆ บรรจงวาดลวดลายและระบายสีตามจินตนาการ ลงข้อความเป็นภาษาตราดให้ทุกคน “ตกตะหลุกรัก”

ปล่อยปูสู่ทะเล ธนาคารปู
แหล่งเรียนรู้ธนาคารปู เรียนรู้กระบวนการอนุรักษ์ปูม้าของชุมชนเพื่อให้ปูม้าคงอยู่ทะเลไทยเติมเต็มระบบนิเวศสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชาวประมงและคนรุ่นหลัง
ทำเส้นขนมจีนมงคล
บ้านขนมจีนเส้นมงคล เรียนรู้ภูมิปัญญาผ่านกิจกรรมการทำขนมจีนบ้านเส้นมงคล ทำให้เส้นเหนียวนุ่ม อยู่ได้นานถึง 36 ชั่วโมง ตั้งแต่กระบวนการผลิตแป้ง นวดแป้ง โรยแป้ง และจับเส้น จนเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของชุมชน

เรียนรู้การทำภาชนะกาบหมากและใบไม้ในชุมชน
ที่ทำการวิสาหกิจชุมชน ฐานการเรียนรู้ภาชนะจากกาบหมากและใบไม้ ลงมือเปลี่ยนกาบหมากที่ร่วงหล่นและใบไม้ในชุมชนได้ด้วยการอัดพิมพ์ร้อนให้กลายเป็นภาชนะใส่ของที่เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุในธรรมชาติ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด

ชุมชน 2 ศาสนา 3 วัฒนธรรม คือ ศาสนาพุทธ และอิสลาม และ 3 วัฒนธรรม ได้แก่ ไทย ไทย-จีน และไทย-มุสลิม ที่อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ใช้วิถีชีวิตทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา เป็นตัวเชื่อมในการใช้ชีวิต และใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สะพานวัดใจ
พิชิตสะพานวัดใจ เปิดมุมมองใหม่ของชีวิตบ้านน้ำเชี่ยวชุมชน 2 ศาสนา 3 วัฒนธรรม
มัสยิด 200 ปี
มัสยิด 200 ปี มัสยิดอัลกุบรอ เป็นมัสยิดแห่งแรกของภาคตะวันออก

ฝึกทำงานหัตถกรรมพื้นบ้านสานงอบ
หัตถกรรมพื้นบ้านงานสานงอบแบบมืออาชีพของคนน้ำเชี่ยวที่อยู่คู่วิถีชีวิตมายาวนาน
วัดน้ำเชี่ยว (วัดอินทราราม)
เยี่ยมชมวัดน้ำเชี่ยว เดิมชื่อวัด “อินทราราม” เป็นวัดที่ ร.5 เคยเสด็จใน ร.ศ.130
ศาลเจ้าพ่อน้ำเชี่ยว
สักการะศาลเจ้าพ่อน้ำเชี่ยว เสริมสิริมงคลให้ชีวิต เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทยเชื้อสายจีน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ล่องเรือชมธรรมชาติ
ล่องเรือชมธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ และทำกิจกรรมงมหอยปากเป็ดบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ธนาคารสัตว์น้ำ บ้านน้ำเชี่ยว
กิจกรรมปล่อยเล็กจับใหญ่ เป็นกิจกรรมปล่อยสัตว์น้ำที่ชาวชุมชนทำการอนุบาลเพาะพันธุ์ เพิ่มประชากรสัตว์น้ำที่รอดชีวิต

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ทำข้าวเกรียบยาหน้า
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว เมนูขนมทานเล่น สองวัฒนธรรมคือไทยผสมกับอาหารมุสลิม ที่มีความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี มีรับประทานที่บ้านน้ำเชี่ยวที่เดียวเท่านั้น
ทำตังเมกรอบ
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวตังเมกรอบหรือ น้ำตาลชัก หรือขนมไม้ในวัยเด็กที่คุ้นเคย มีความหอมจากต้นตาล กรอบอร่อย

ทำงอบน้ำเชี่ยว
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวเป็นภูมิปัญญาการนำใบจากมาเย็บเป็นหมวก เพื่อใช้สำหรับคุมแดดกันฝน แต่คนทั่วไปมักเรียกว่า งอบน้ำเชี่ยว เพราะมีแหล่งผลิตสินค้าที่สร้างชื่อเสียงของบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม