ถ้ำมืด จังหวัดยะลา

ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
๑.ถ้ำมืดถือเป็นจุดไฮไลท์ของตำบลหน้าถ้ำ อีกแห่งหนึ่ง คือ บริเวณ หน้าผาได้จารึกพระนามาภิไธย่อของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่มีคำย่อว่า ป.ป.ร. ชมความสวยงามตระการตาของหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ภายในถ้ำยังมี “สระแก้วหรือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” เป็นแอ่งในถ้ำขนาดเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยขอบหินปูน น้ำใสสะอาด เป็นน้ำที่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ น้ำในสระแก้ว เชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มักจะไปขออนุญาตเทพารักษ์นำน้ำกลับไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล การเข้าชมถ้ำมืด ไม่สามารถเดินชมได้เอง เพราะไม่มีแสงสว่าง ต้องมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำทาง นำไฟฉายติดตัวเพื่อที่จะสามารถชมความงามของหินงอกหินย้อยได้อย่างเต็มที่ ควรใส่ลองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้าที่มีดอกยาง เพราะในพื้นภายในถ้ำค่อนข้างลื่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 น. – 16.00 น.
(ต้องประสานเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า)
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2564
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เดินสำรวจเส้นทางของถ้ำ ชมความงดงามของหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
คุณชัชพงศ์ เพ็ชรกล้า หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๕๐ ๒๕๒๐
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดสุวรรณคูหา จังหวัดพังงา

ที่ตั้ง ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
๑.วัดสุวรรณคูหา ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นวัดที่มีความน่าสนใจและเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพังงา บริเวณที่ตั้งของวัดเป็นภูเขา ซึ่งมีถ้ำขนาดใหญ่และขนาดเล็กจำนวนมาก วัดสุวรรณคูหามีถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่หลายองค์ องค์สำคัญที่สุดคือ พระพุทธไสยาสน์ที่มีความยาว 7 วา 2 ศอก ที่มีความสวยงามสมบูรณ์แบบ ลึกเข้าไปจากถ้ำใหญ่จะเป็นถ้ำแจ้ง ถ้ำมืด และถ้ำแก้ว ซึ่งจะได้พบความงดงามของหินงอกหินย้อย ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมความมหัศจรรย์จากธรรมชาตินี้ได้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
จันทร์ – อาทิตย์ 08:00 – 17:00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 7645 0333
๕.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา

ตามตำนานเก่าเล่าว่าตำบลหน้าถ้ำ เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบไม่มีคนอาศัยอยู่ ในสมัยศรีวิชัยมีการแบ่งการปกครองเป็นหัวเมือง ในสมัยนั้นรัฐกลันตัน  ตรังกานู  ยังอยู่ภายใต้การปกครองของไทย  และอีกหลายร้อยปีต่อมา  บริเวณนั้นเกิดน้ำแห้งแปรสภาพเป็นพื้นดินจึงมีผู้คนมาอาศัยอยู่ เรียกว่า “หน้าถ้ำ” หรือ “บ้านหน้าถ้ำ”เป็นที่ตั้งของหมู่ที่  1  

โบราณสถานพันปี  สีมายา  ภูผาสวย

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พระพุทธไสยาสน์ (พ่อท่านบรรทม) พระพุทธไสยาสน์ ชาวตำบลหน้าถ้ำนิยมเรียกว่า “พ่อท่านบรรทม” เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ วัสดุก่ออิฐถือปูน ปั้นด้วยดินเหนียวโดยใช้ไม่ไผ่เป็นโครง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัยรุ่งเรือง ราว พ.ศ. ๑๓๐๐ หรือสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร ขนาดความยาวของพระเศียรถึงพระบาท  ๘๑ ฟุต ๑ นิ้ว โดยรอบองค์พระ  ๓๕  ฟุต ศิลปะศรีวิชัยผสมลังกา

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ตำบลหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมืองพระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดี ศรีวิชัย ภาพเขียนต่าง ๆ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 17 อีกทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีพุทธไสยาสน์ หรือทางภาคใต้ เรียกว่า “พระนอน” เป็นที่เคารพสักการะของคนในชุมชนและบุคคลทั่วไป

หอวัฒนธรรมศรีชัย หอวัฒนธรรมศรีวิชัย  เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุสำคัญที่ได้จากบริเวณเขาวัดหน้าถ้ำ เขากำปั่น และแหล่งประวัติศาสตร์โบราณคดีสำคัญในจังหวัดยะลา และนราธิวาส กรมศิลปากร ดำเนินการบูรณะและปรับปรุงหอวัฒนธรรมศรีวิชัยมาแล้ว ๒ ครั้งคือใน พ.ศ. ๒๕๔๘ และ พ.ศ. ๒๕๖๐

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำมืด ถ้ำมืด มีหินงอก หินย้อย ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อายุหลายร้อยปี มีความงดงาม แปลกตา จำนวนหลายแห่ง แต่ละแห่งมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ม่านฟ้า นาเกลือ หินงอกงวงช้าง หินงอกปลาโลมา หลุมแม่ม่าย

ถ้ำเสือ สถานที่ใกล้เคียงถ้ำมืด ลักษณะภายในเหมือนกับถ้ำมืดมีหินงอก หินย้อยที่สวยงาม

ถ้ำศิลป์ ถ้ำศิลป์ อยู่ภูเขาเดียวกันกับถ้ำพระนอน จิตรกรรมฝาผนังถ้ำศิลป์ เป็นภาพพระพุทธเจ้าปางมารวิชัย ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง เป็นแถวเบื้องซ้ายและขวา มีสาวกหรือนั่งประนมมืออยู่ พระพุทธเจ้าปางลีลาและมีรูปผู้หญิงยืนเป็นหมู่สามคน ส่วนสีที่เขียนเป็นสีดินเหลือง เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยสีน้ำตาลและแดง เพื่อแยกน้ำหนักอ่อนแก่ ตัดเส้นด้วยสีดำ ส่วนสีเขียวปรากฏให้เห็นในภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขี้นภายหลังเนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีของสารที่ผสมอยู่ในสี

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มปูนขาว ปูนขาว หน้าถ้ำ เป็นวัสดุที่ได้จากการเผาหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) โดยใช้ความร้อนสูง จะได้เป็นปูนสุก เมื่อเย็นตัวลงแล้วพรมน้ำให้ชุ่ม ปูนสุกจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้เป็น ส่วนที่เป็นผงแห้งได้เป็น ปูนขาว และส่วนที่เป็นสารแขวนลอยคือ น้ำปูนใส และยังได้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้เด็ก ๆ และเยาวชน ตามโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่ ๕ จังหวัด ไม่มีแล้ว ยังเหลือเพียง ๒ แห่ง ในจังหวัดยะลา ที่ ตำบลหน้าถ้ำ และ ตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

สวนลุงประดับ  ลุงประดับ เป็นชาวยะลาที่เกิดในครอบครัวชาวสวนแห่งหมู่บ้านหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ลุงจึงเติบโตมากับพืชผัก ผลไม้ แทบทุกชนิดที่พ่อแม่ปลูกไว้กินและขายเป็นรายได้หลักของครอบครัว ปัจจุบันลุงประดับมีพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ ๒ ไร่ เป็นพื้นที่เล็กแต่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครับ ๓๐,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ ต่อเดือน ที่ได้จากการเลี้ยงหมูหลุม การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และผสมพันธุ์ไก่ระหว่าง ไก่เบตงกับไก่เนื้อดำ ไก่บ้านกับไก่เบตง เป็นต้น

สวนลุงพนม สวนลุงพนม เกษตรต้นแบบส่วนผสมความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรและเทคโนโลยีโดยพัฒนาพื้นฐานดั้งเดิมผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่การแก้ไขปัญหาเกษตรกรโดยการทำไร่ทำสวนผสม การแก้ปัญหาด้านการตลาด และด้านการ ผลิตผลรวมไปถึงการแก้ไขปัญหาโรคและแมลงและการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะใน ภาคการเกษตร เป็นต้น

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ศึกษาเรียนรู้วัดถ้ำ เยี่ยมชมจุดต่าง ๆ วัดคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ชมโบราณสถาน วัดถ้ำ (วัดคูหาภิมุข) เดินขึ้นบันไดทางขึ้นก่อนถึงปากถ้ำ จะพบรูปปั้นยักษ์ “เจ้าเขา” มีรูปร่างตัวดำผมหยิก นุ่งผ้าถุงสีแดง เมื่อเข้าไปภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน 

ชมหอวัฒนธรรมศรีวิชัย หอวัฒนธรรมศรีวิชัย เข้าศึกษาเรียนรู้ในหอวัฒนธรรมศรีวิชัย  เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุสำคัญ ที่ค้นพบในตำบลหน้าถ้ำ โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้

มัดย้อมผ้าสีมายา กลุ่มสีมายาหน้าถ้ำ กิจกรรมมัดย้อมผ้าเช็ดหน้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม