ชุมชนคุณธรรมบ้านปรางค์นคร จังหวัดนครราชสีมา

ภูมิทัศน์ของชุมชนฯ สภาพพื้นที่ทั่วไปของตำบลบ้านปรางค์ มีลักษณะลูกคลื่นลอนตื้น มีความลาด จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกและเป็นที่ดอนสลับที่นา มีที่ราบลุ่มบริเวณลำสะแทด ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันออกของอำเภอ พื้นที่โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๒๐๐ เมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นลูกคลื่นลอนตื้น 

“มิติแห่งกาลเวลา ดินแดน เลอค่า ปรางค์นคร”การท่องเที่ยวเชิงโบราณคดี ปรางค์บ้านปรางค์ บ้านเรือนไทยโคราชโบราณ สะพานไม้ไผ่บารายสวรรค์ และธรรมชาติสุดงามตา รับพลังจากแสงแดด  และอากาศบริสุทธิ์ รอยยิ้มและมิตรไมตรีจากชุมชน มีอาหารพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดบ้านปรางค์
โดยทั่วไป พอสืบประวัติหมู่บ้านได้จากสิ่งของที่ยังคงเหลืออยู่ ได้แก่ การตั้งโรงพักตำรวจบ้านปรางค์ ปี พ.ศ. 2420  วัดบ้านปรางค์ ตั้งมาเก่าแก่  สืบได้จาก ปี พ.ศ. 2479 ได้รับการถวายพระพุทธบาทจำลอง 30 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2487 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเป็นวัดบ้านปรางค์  วันที่ 1 ตุลาคม 2๕27 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาศาลาการเปรียญกุฎีสงฆ์สร้างด้วยไม้ที่หลังใหญ่  ที่แสดงถึงการก่อสร้างที่เกิดจากความสามัคคี ความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา

เทวสถานปรางค์ บ้านปรางค์นคร
ปราสาทปรางค์บ้านปรางค์สร้างสมัยพระเจ้าชายวรมันต์ที่ 8 พุทศัตวรรษที่17 สร้างด้วยหินทราย ฐานหินศิลาแลง

รอยพระพุทธบาทจำลอง อายุกว่า ๑๐๐ ปี
ได้รับการถวายพระพุทธบาทจำลอง 30 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2487

เรือนโคราช อายุกว่า ๑๓๐ ปี
บงบอกถึงสถาปัจตยกรรมการสร้างบ้านเรือน ตามฐานะ ตามอาชีพ ที่มี ทั้งเรือนข้าราชการ เรือนคหบดี ที่มีมากกว่า 25 หลัง ที่มีคนอาศัยจริง อายุตั้งแต่ 50 ปี ถึง 130 ปี  เดินชมได้ที่หย่อมเรือนโคราช

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพานบารายสวรรค์
สะพานบารายสวรรค์ เมื่อสมัยก่อน ประมาณ ปี 2504 ปู่เฒ่าย่าแก่เล่ามา  ความเจริญด้านสาธารณุปโภค ยังไม่สะดวก ตรงกลางบารายสวรรค์จะเป็นส่วนที่ลึกที่สุดมีน้ำพอเพียงหล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านปรางค์   ชุมชนบ้านปรางค์ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกัน ชองชาวบ้านช่วยกัน ต่อสะพานไม้เพื่อลงไปกลางบารายเพื่อตักน้ำ จากกลางบารายเป็นส่วนที่ลึกที่สุดในสมัยนั้น โดยวิธีการหาบครุถัง เพื่อใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน สะพานไม้ไผ่ เป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแลนด์มาร์ค การท่องเที่ยว  เพื่อชมดอกบัว ชมนก ชมพระอาทิตย์ตกดิน รับบรรยากาศ กลิ่นเกษรดอกบัว ที่แสนสดชื่น ถ่ายรูปถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดิน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้บ้านมิตรภาพโฮมสเตย์
เป็นเรือนเกษตรกร ที่มีอายุ มากกว่า 130 ปี สืบตามชื่อผู้สร้าง เป็นทวด ของพ่อคุณ ครูชิดชนก ชุมสุข ใต้ถุนโล่งเมื่อก่อนไว้เลี้ยงปศุสัตว์ 

กลุ่มทอเสื่อบ้านปรางค์
กลุ่มทอเสื่อที่ใช้เวลาว่าง จากการทำนา ทำไร่ สร้างหัตถกรรม สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และชุมชน

กิจกรรมต้อนรับ
– สักการะรอยพระพุทธบาทจำลอง
– ชมศาลาโรงธรรมกุฎีสงฆ์ อายุ ๑๐๐ ปี
วัดบ้านปรางค์ เมื่อเดินทางถึงปรางค์นคร บริเวณลานวัดบ้านปรางค์ ชุมชนรอต้อนรับ
คณะดนตรีโทนโคราชนำคณะสู่จุดต้อนรับ
ต้อนรับด้วยเครื่องดื่มสมุนไพรเย็น ๆ ชื่นใจ
กล่าวต้อนรับ และมอบของต้อนรับ ผูกแขนรับขวัญ

  • สักการะรอยพระพุทธบาทจำลอง ได้รับการถวายพระพุทธบาทจำลอง 30 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2487
  • ชมศาลาโรงธรรมกุฎีสงฆ์ อายุ ๑๐๐ ปี เป็นศาลาเก่าแก่ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย

นั่งรถชมบรรยากาศบ้านปรางค์นคร ด้วย“รถรีมูซีน ปรางค์นคร”
วัดบ้านปรางค์ ไป ศูนย์การเรียนรู้ “บ้านมิตรภาพโฮมสเตย์” ชมบรรยากาศบ้านปรางค์นคร โดย “รถรีมูซีนปรางค์นคร”และเดินทางไปศูนย์การเรียนรู้ “บ้านมิตรภาพโฮมสเตย์”

ชมเรือนโคราชและเรียนรู้วิถีชิวิตคนโคราชสมัยก่อน และกิจกรรมทำมือ
เรือนโคราช ชมเรือนโคราชดั้งเดิมอายุกว่า 130 ปี   ฟังเรื่องเล่า และเรียนรู้วิถีชีวิตคนโคราชสมัยก่อน จากนักเล่าเรื่องชุมชน นักท่องเที่ยวชมสาธิตและลองทำลูกประคบสมุนไพรไทย ดวงตาสวรรค์ และนำฝีมือตนเองไว้เป็นที่ระลึก

ฟังตำนานนางอัปสรา นางฟ้าในอารยธรรมขอม จำแลงเป็นนางฟ้าในตำนานอารยธรรมขอมโบราณและบันทึกภาพความทรงจำร่วมกับนางรำอัปสรา
โฮมสเตย์บ้านเพ็ญศรี ฟังตำนานนางอัปสรา นางฟ้าในอารยธรรมขอม (นักท่องเที่ยวสามารถจองเช่าชุดนางอัปสราใส่ถ่ายภาพที่ระลึก เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต  ที่นักท่องเที่ยวจะจำแลงเป็น นางฟ้าในตำนานอารยธรรมขอมโบราณ  และบันทึกภาพความทรงจำร่วมกับนางรำอัปสรา ณ เทวสถานปรางค์ บ้านปรางค์นครได้ที่จุดเรียนรู้นี้)   
– ชมการสาธิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านจากกะลามะพร้าว     
– ศูนย์สาธิตการกวนขนมปาด รับประทานอาหารว่างขนมปาด  ขนมโบราณถิ่นบ้านปรางค์โคราช  และน้ำสมุนไพร

ไหว้ขอพรปรางค์ (เจ้าพ่อหินทับ) และฟังประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเทวสถานปรางค์ บ้านปรางค์นคร
เทวสถานปรางค์ บ้านปรางค์นคร ไหว้ขอพรปู่ปรางค์ (เจ้าพ่อหินทับ)    ฟังประวัติศาตร์ความเป็นมาของ เทวสถานปรางค์ บ้านปรางค์นคร  และเรื่องเล่าความเชื่อ  ความศรัทธาของชุมชนเกี่ยวกับปู่ปรางค์ (เจ้าพ่อหินทับ) จากนักเล่าเรื่องชุมชน

ชมธรรมชาติ บารายสวรรค์
สะพานบารายสวรรค์ เดินทางถึงบริเวณสะพานบารายสวรรค์ รับลมเย็นศาลาพักริมบาราย   ใช้บริการ แช่เท้าด้วยเกลืออโรมา  ระหว่างแช่เท้านวดเฉพาะจุด บ่า  ไหล่  นวดผ่อนคลายความเมื่อยล่าจากการเดินทาง นั่งเรืออีโปงเก็บบัวสวย ชมอาทิตย์ตก ถ่ายภาพที่ระลึกบริเวณสะพานบารายสวรรค์  พิเศษถ้านักท่องเที่ยวตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ ของทุกเดือน นักท่องเที่ยวสามารถรับพลังสุริยันจันทรา กลางบารายสวรรค์ได้

รับประทานอาหารค่ำและชมเพลงโคราชและรำโทนโคราช
บ้านพักโฮมสเตย์รับประทานอาหารแบบพื้นถิ่นโคราช บรรยากาศสุนทรี พร้อมกับฟังเพลงโคราชต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน จากปู่สุข ศิลปินพื้นบ้าน ชมรำโทนโคราชจากคณะเยาวชนบ้านปรางค์ และร่วมรำโทนออกกำลังย่อยอาหารให้สนุกสนาน

ตักบาตร วิถีชาวพุทธ
บริเวณหน้าบ้านพักโฮมสเตย์ ทำบุญตักบาตร เพื่อธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นการเพิ่มความสุขและสิริมงคลแก่ตนเอง

รับประทานอาหารเช้า
ร้านอาหารเช้าชุมชน รับประทานอาหารเช้าตามแบบวิถี ของชุมชน และเป็นอาหารพื้นถิ่น      คนโคราช ที่หารับประทานได้ยาก ได้แก่ ข้าวแพะ (เข่าแพะ)  

รับพลังแสงแรกของวัน
ปรางค์เก่า รับพลังแห่งอรุณรุ่งของวันสมดุลโลก สมดุลจักรวาล วันทิวาราตรีเสมอภาค วันวสันต์วิษุวัติ นับเป็นวันสมดุลจักรวาล สุริยันจันทรา วันทิวาราตรีเสมอภาค เมื่อแสงแรกของพระอาทิตย์ส่องแสงจะพุ่งตรงมายังพระพุทธรูปที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งจะเป็นมงคลชาวปรางค์นครก็จะศรัทธาต่างนำมือของตัวเองแตะไปที่พระพุทธรูป พนมมือพร้อมทั้งอธิษฐานรับแสงแรก

ชมเวิ้งเรือนโคราช และบ้านไม้เก่าแก่อายุกว่า ๑๐๐ ปี ฟังคำบอกเล่าเรื่องราวจากนักเล่าเรื่องชุมชน แวะถ่ายภาพกับเรือนโคราช และบ้านไม้เก่าแก่
เรือนโคราช และบ้านไม้เก่าแก่อายุกว่า ๑๐๐ ปีชมเวิ้งเรือนโคราช และบ้านไม้เก่าแก่อายุกว่า ๑๐๐ ปี ฟังคำบอกเล่าเรื่องราวจากนักเล่าเรื่องชุมชน แวะถ่ายภาพกับเรือนโคราช และบ้านไม้เก่าแก่ 

ชมการสาธิต และทดลองทอเสื่อกก ยกลายโบราณ
กลุ่มทอเสื่อบ้านปรางค์นคร ชมการสาธิต และทดลองทอเสื่อกก ยกลายโบราณ  

กลุ่มทอเสื่อบ้านปรางค์นคร ชมการสาธิต และทดลองทอเสื่อกก ยกลายโบราณ  
เทวสถานรัตนพิมานพระแม่อุมามหากาลี ณ แห่งนี้ภายในเทวสถานรัตนพิมานฯ จะมีพระพิฆเนศองค์ใหญ่ตั้งอยู่มองเห็นเด่นชัดสามารถมากราบไหว้สักการะขอพรได้สมปรารถนา ที่นี่เป็นสถานที่บูชากราบไหว้ปฏิบัติสวดมนต์นั่งกรรมฐาน บริเวณด้านในประดิษฐานองค์พระพุทธรูปปางสมาธิ องค์พระแม่เจ้าศรีอุมาเทวีมหากาลีเย องค์บรมครูปู่ฤๅษีนารายณ์ เรียกว่ามาที่นี่ที่เดียวมีองค์เทพต่าง ๆ ให้ได้สักการะครบถ้วน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใกล้ภูเขาไฟปลายบัด มีชาติพันธุ์ไท – ลาว และ ไท – เขมร ที่มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ด้วยมีโบราณสถานเป็นทุนทางวัฒนธรรม อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทเขาปลายบัด กุฏิฤาษี และสามารถเชื่อมโยงไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ด้วยระยะทางเพียง 8 กิโลเมตร

ตามรอยอารยธรรมขอมทวารวดีสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เที่ยวชมโบราณสถานอายุกว่า 1,400 ปี รอบ ๆ ชุมชน เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม สินค้าภูมิปัญญา อาทิ ผ้าไหมลายผักกูด  ผ้าหมักโคลนบารายพันปี ข้าวภูเขาไฟเขาปลายบัด เสื่อกกยกลาย สมุนไพรเขาปลายบัด พร้อมที่พักมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทที่สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 ตามคติศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ปี

กุฏิฤาษี
อโรคยศาลในพุทธศาสนามหายา สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ครอบคลุม เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา

ปราสาทเขาปลายบัด 1
ศาสนสถานที่สร้างในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นศิลปะเขมรแบบคลัง -บาปวน

ปราสาทเขาปลายบัด 2
ศาสนสถานตั้งอยู่บนสันเขาตามความเชื่อศาสนาฮินดู มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ในรัชกาลของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ปัจจุบันพังทลายเหลือเพียงผนังด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เนื่องจากถูกนักล่าของเก่าระเบิดทำลาย เพื่อขุดหาโบราณวัตถุ

ตลาดโบราณ
ตลาดชุมชน จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชน เปิดจำหน่ายทุกวันช่วงเช้าและเย็น

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ภูเขาไฟปลายบัด
ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  ปากปล่อง มีลักษณะเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก สูง 289 เมตร จากระดับนน้ำทะเลปานกลาง มีปราสาทตั้งอยู่ 2 หลัง ได้แก่ ปราสาทปลายบัด 1 และปลายบัด 2 อยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร 

บารายเมืองต่ำ
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณเหนือตัวปราสาทเมืองต่ำ สร้างขึ้นในสมัยเดียวกับปราสาทเมืองต่ำ คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 เป็น สถานที่กักเก็บน้ำ เพื่อใช้ในสาธารณูปโภคในสมัยนั้น 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

องุ่นภูเขาไฟ
ไร่องุ่นออแกนิค ตั้งอยู่เชิงเขาปลายบัด เปิดให้ชมระหว่างเดือนธันวาคม – เมษายน หรือจนกว่าองุ่นจะหมด 

239 ฟาร์มปูนา
ฟาร์มปูนาที่ได้นำระบบน้ำใต้ดินมาช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมที่เชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลเกิดความสวัสดิ์ดีกับผู้รับขวัญ โดยพราหมณ์จะใช้ภาษาอีสาน เป็นบทนำกล่าว 

การแสดงพื้นบ้าน
ลานวัฒนธรรม แสดงพื้นบ้านชุด เมืองต่ำระบำขอม เป็นชุดการแสดงที่จัดเตรียมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 

ปั่นจักรยาน
รอบบริเวณชุมชน ปั่นจักรยาน ชมบายรายเมืองต่ำ กุฏิฤาษี ปราสาทเมืองต่ำ ทัศนียภาพรอบชุมชน เช็คอินที่จุดชมวิวต้นตาลคู่ อุโมงค์ต้นไม้ สะพานขอม

ตักบาตร
หน้าตลาดโบราณ ทำบุญตักบาตร ตอนเช้า หน้าตลาด 

ย้อมผ้าหมักโคลนบารายพันปี
กลุ่มผ้าหมักโคลน หมู่ 15 เรียนรู้และทดลองย้อมผ้าแบบโบราณ ด้วยการหมักโคลนจากบารายกุฎิฤาษี

ทอเสื่อกก
กลุ่มเสื่อกกคนพิการ เรียนรู้ขั้นตอนการทอเสื่อกก และทดลองทอเสื่อกก 

ทอผ้า
กลุ่มทอผ้า บ้านโคกเมือง เรียนรู้และทดลองทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้ จังหวัดยโสธร

ชาวบ้านหนองซ่งแย้ ชุมชนคุณธรรมวัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้ ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสาร ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๕ นับถือศาสนาคริสต์ รองลงมาคือศาสนาพุทธ ซึ่งชุมชนได้หลอมรวมวัฒนธรรมประเพณีของ ๒ ศาสนา ทำให้ชุมชนน่าอยู่ มีมนต์เสน่ห์ และน่าท่องเที่ยว

ชุมชนคุณธรรม วัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้ มีวัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้ โบสถ์ไม้ของคริสต์ศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีทางศาสนา มีวัดหนองซ่งแย้ เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องชาวพุทธในชุมชน และมีแลนด์มาร์กพญาแย้ใหญ่เป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ต้อนรับนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้ (โบสถ์อัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้)
ศาสนสถานของคริสตชนในชุมชน มีโบสถ์ไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถือเป็น Unseen Thailand ที่ห้ามพลาด เป็นโบสถ์ไม้ศิลปะไทย กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๕๗ เมตร ใช้แผ่นไม้มุงหลังคา ๘๐,๐๐๐ ชิ้น และเสาไม้ขนาดต่าง ๆ มากถึง ๓๖๐ ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้ตะเคียนและไม้แดง มีช่องแสงประดับกระจงสีสวยงาม 

วัดหนองซ่งแย้

พญาแย้
แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดยโสธร รูปปั้นพญาแย้ขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ๑๘ เมตร กว้าง ๔ เมตร ตั้งตะหง่าน อยู่ริมถนนสายวารีราชเดชเส้นทางระหว่างอำเภอกุดชุมไปอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในรอบ ๆ พญาแย้เป็นจุดจำหน่ายสินค้าของชุมชน อาทิเช่น ร้านข้าวหลามบ้านเฮา เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์เดซาแวล

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สระคำขอนดู่ , หนองค่าย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรแมวเก้าชีวิต
กิจกรรม : สนุกกับการเก็บผลผลิตทางการเกษตร อาทิเช่น ฝรั่ง มะละกอ ทำกิ่งเพาะชำ และสามารถนำผลผลิตติดไม้ติดมือกลับบ้านได้ จำนวนรับต่อรอบ : ๕๐-๑๐๐ คน นางประไพร มิ่งขวัญ โทร. ๐๘ ๙๐๖๙ ๔๘๖๔

สวนแก้วตาใบ
กิจกรรม : สัมผัสชีวิตชาวสวน แนะนำการปลูกการใช้ปุ๋ยขี้ไก่ การตัดกิ่งชำ วิธีการตัดผลแก้วมังกร นำผลผลิตที่ได้ติดไม้ติดมือกลับบ้าน
ค่าบริการ : ๑๐๐ บาท/คน
ระยะเวลา ๑ ชั่วโมง
นางเจียมใจ ตาสว่าง
โทร. ๐๘ ๙๕๐๘ ๖๕๖๓

ฐานการเรียนรู้ เกษตรอินทรีย์พอเพียง
ฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์พอเพียง นางนาคแก้ว คำสอน 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำหมอนกระดูก
ฐานการเรียนรู้การทำหมอนกระดูก สอยเข็มเย็บด้ายด้วยตนเอง สนุกเพลินเพลิน ทำสมาธิกับการทำหมอนกระดูก

ย่ามลายขิด
ฐานการเรียนรู้ย่ามลายขิด การทำพวงกุญแจย่ามหมอนขิด พร้อมรับย่ามขนาดจิ๋วเป็นของที่ระลึก

การร้อยลูกปัด
ฐานการเรียนรู้ ร้อยลูกปัด การร้อยลูกปัดหลากสี พร้อมรับพวงกุญแจเป็นของที่ระลึก

การแปรรูปผ้าขาวม้า
ฐานการเรียนรู้ แปรรูปผ้าขาวม้า กิจกรรมแปรรูปผ้าขาวม้า และรับของที่ระลึก

จักสานไม้ไผ่
ฐานการเรียนรู้ จักสานไม้ไผ่ กิจกรรมจักสาน ข้องเล็กด้วยไม้ไผ่

การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
ฐานการเรียนรู้ ไม้กวาดทางมะพร้าว กิจกรรมการทำไม้กวาดทางมะพร้าว

ทอเสื่อกก
ฐานการเรียนรู้การทอเสื่อกกเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทอเสื่อกก และฝึกทอสื่อกกด้วยตนเอง

การทอผ้าขิดยก ลายโบสถ์
ฐานการเรียนรู้ การทอผ้าขิด ย้อมสีธรรมชาติ ชมการสาธิตการทอผ้าขิดยกลายโบสถ์

การทำไม้กวาด ดอกหญ้า
ฐานการเรียนรู้ ไม้กวาดดอกหญ้า การทำไม้กวาดดอกหญ้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะแก้วพัฒนา จังหวัดสุรินทร์

เป็นชุมชนที่มี 3 ชาติพันธุ์ ลาว กูย(ส่วย) เขมร มาอยู่ร่วมกัน  อย่างสันติ และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ทั้ง 3 ชาติพันธุ์ไว้อย่างเหนียวแน่น มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ลำห้วยทับทันที่เชื่อมต่อจากจังหวัดศรีสะเกษ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนบ้านเกาะแก้วพัฒนา 

มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น รำแกลมอ หรือการรำผีฟ้าของชาวลาว การรำแม่มดของชาวเขมร และรำสามเผ่า ประกอบด้วย เขมร กูย (ส่วย) ลาว  และรำสาวไหมชุมชนคุณธรรมบ้านเกาะแก้วพัฒนา  มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นคือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเสื่อกก และมีอาหารพื้นถิ่นรองรับการบริการนักท่องเที่ยว อาทิ แปรรูปน้ำพริก ข้าวต้มใบมะพร้าว  ขนมเทียนสมุนไพร ไข่เค็มผู้พัน 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเกาะแก้ว
วัดเกาะแก้ว เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งวัดเกาะแก้วเป็นศูนย์รวมจิตใจ รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว
อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว สร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6.50 ตารางกิโลเมตร (246.15 ไร่) พื้นที่การจัดเก็บน้ำ 5,000,000 ลูกบาศก์เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้วถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเงียบสงบ มีภูมิทัศน์สวยงาม มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมา จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ฐานการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
เป็นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี และนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลของสินค้า

กิจกรรมการท่องเที่ยว

อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว
อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้ว สร้างโดยกรมชลประทาน เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีเนื้อที่ทั้งหมด 6.50 ตารางกิโลเมตร (246.15 ไร่) มีน้ำตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบ้านเกาะแก้วถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเงียบสงบ มีภูมิทัศน์สวยงาม มีความสมบูรณ์ของธรรมชาติ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ

โครงการ ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมา จากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ฐานการเรียนรู้การทอเสื่อกก
ได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัว และ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีการนำเส้นกกมาทอเป็นของใช้ในครัวเรือน 

ฐานการเรียนรู้ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว
เรียนรู้การห่อขนมต้มด้วยใบมะพร้าว ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของชุมชน

ฐานการเรียนรู้การทำไข่เค็มสมุนไพร, ดินสอพอง
เรียนรู้การทำไข่เค็มสมุนไพร และชมเกษตรอินทรีย์

ล่องเรือชมป่าชุมชน ลำห้วยทับทัน
ล่องเรือชมป่าชุมชน ลำห้วยทับทัน ชมอีกาบินกลับรัง

ปั่นจักรยานในป่าชุมชน 182 ไร่
ปั่นจักรยานในป่าชุมชน 182 ไร่ ประกอบไปด้วย
– ป่าเห็ด
– ป่าต้นพยูง
– ป่าต้นพะยอม
– ป่าต้นมะดัน
– ป่าต้นกันเกรา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านเหล่างิ้ว จังหวัดร้อยเอ็ด

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดบ้านเหล่างิ้ว เป็นชุมชนเมือง แต่ก็ยังอาชีพหลัก คือ การทำนา อาชีพเสริม คือ การทำหัตถกรรมทอผ้า, จักสาน, ทำไร่นาส่วนผสม ฯลฯ คนในชุมชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการทำไร่นาสวนผสมในที่ดินของตนเอง ปลูกถั่วลิสง จนสามารถแปรรูปถั่วลิสงให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีชื่อเสียงในชื่อ ถั่วป่านทอง จนสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ชุมชนบ้านเหล่างิ้วจะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกัน เช่น การแต่งกายโดยนุ่งผ้าถุง ห่มสะไบ การแต่งกายด้วยชุดซึ่งมีลักษณะคล้ายชนเผ่าภูไท นอกจากนี้คนในชุมชนจะใช้ชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ภายในบริเวณวัด ปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ช่วยลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

เจดีย์มหามงคลบัว
เจดีย์สีทองโดดเด่นกลางสวนสวย มีสระน้ำไว้ด้านหน้าและด้านข้างเจดีย์ อยู่บริเวณกลางทุ่งนาทำให้สามารถมองเห็นมาจากที่ไกล ๆ

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

พุทธสถานบึงไทรทอง
พุทธสถานบึงไทรทอง มีเนื้อที่ประมาณ ๗๕ ไร่ เป็นวัดสาขาของ วัดเขาสุกิม ภายในบริเวณวัดมีการสร้างวิหารต่าง ๆ และมีพระพุทธรูปใหญ่จำนวน ๕ องค์ สถานที่แห่งนี้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามมีหนองน้ำล้อมรอบ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเศรษฐกิจพอเพียง
สวนเศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนต่าง ๆ ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ทุ่งนา แหล่งกักเก็บน้ำ พื้นที่พักอาศัย และปลูกพืชผักต่าง ๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมพุทธสถาน บึงไทรทอง
พุทธสถาน บึงไทรทอง เมื่อนักท่องเที่ยวไปถึงยังพุทธสถานบึงไทรทอง จะได้พบกับวิหารขนาดใหญ่ สูงตระหง่านตาท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่บนวิหารให้นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้

ชมการสาธิต การทอเสื่อกก
กลุ่มทอเสื่อกก ชมการสาธิตการทอเสื่อกก ซึ่งเป็นอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จะมีการสาธิตอยู่ที่กลุ่มทอเสื่อกกซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านเหล่างิ้ว

ชมสวนเศรษฐกิจพอเพียง
สวนเศรษฐกิจพอเพียง พักผ่อนหย่อนใจไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง นักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับการทำกิจกรรมเป็นครอบครัว

กราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เจดีย์มหา มงคลบัว จุดท่องเที่ยวสุดฮิตแห่งชุมชนบ้านเหล่างิ้ว ถือได้ว่าเป็นสถานที่ทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง นักท่องเที่ยวจะได้ชมความสวยงามของเจดีย์มหาบัว ซึ่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ พร้อมสัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์และเงียบสงบ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าเชียงเครือ จังหวัดบึงกาฬ

ชุมชนบ้านท่าเชียงเครือชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท ที่อพยพมาจาก อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษกว่า 60 ปีมาแล้ว อดีตกาลเมื่อหมู่บ้านหรือชุมชมใดเกิดการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ทรัพยากรธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นเหตุผลที่ผลักดันให้ชาวบ้านเกิดการอพยพหาที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากินที่มีความอุดมสมบูรณ์

กลุ่มทอผ้าบ้านท่าเชียงเครือ ได้นำเอาวัฒนธรรมการทอผ้าแบบภูไท มาผสมผสานกับวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของตน ที่มีความสัมพันธ์กับลำน้ำฮี้ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลาจึงได้ออกแบบลวดลายลงบนพื้นผ้าทออย่างสวยงาม ที่เรียกว่า “ผ้ามัดหมี่ลายสาวภูไทล่องน้ำฮี้” เป็นการแสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวีถีชีวิต ที่แท้จริงของชาวภูไท บ้านท่าเชียงเครือ ตามคำที่ว่า “ท่าเชียงเครือคือบ้าน ถิ่นฐานแห่งภูไท นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ลมหายใจแห่งน้ำฮี้ ประเพณีเซิ้งกระโด้ โอ้งามตาผ้าทอมือ”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศิริมงคลวนาราม
เมื่อปี พ.ศ. 2503 มีหลวงพ่ออ่อนเป็นผู้ก่อตั้งวัดเป็นรูปแรก และเป็นโรงเรียนของชาวบ้านได้ศึกษาวิชาเรียนถึง ป.4 แต่ไม่มีศาลายังอาศัยเพิงหญ้าป็นที่หลบแดดฝน ต่อมาหลวงปู่ประเสริฐ ปัญญาธโร ร่วมสร้างหลวงพ่อพระใหญ่ศรีศากยมุนีขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2556 สร้างแล้วเสร็จในปีเดียว เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน

วัดป่าเนินแสงทอง
วัดป่าเนินแสงทองเดิมที่เป็นป่าก่อเพราะมีต้นก่ออยู่มากมาย บริเวณในป่ามีหินแข็งอยู่มาก หน้าฝนหน้าแล้งไม่ค่อยอับชื้น ในป่ามักมีพระธุดงค์มาปักกลดจำพรรษาอยู่บ่อย ๆ เพราะในป่าน่าอยู่มากเพราะเหตุนี้หลวงปู่ธรรมาจึงบวช และย้ายศาลาเก่าจากวัดศิริมงคล ไปสร้างเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2518 และท่านได้มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ. 2538 จึงมีพระอาจารย์พวน ชุตินธโร หรือท่านพระครูประโชติธรรมคุณ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐท่านได้มาสร้างต่อจากหลงปู่ธรรมา

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

แม่น้ำฮี้
แม่น้ำฮี้ถือได้ว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติของชาวบ้าน ท่าเชียงเครือ นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรืชมวิถีชาวบ้าน ชมธรรมชาติลำน้ำ โดยเรือของชาวบ้าน ระหว่างทางมีจอดให้ขึ้นไปชมและชิมกาแฟที่ปลูกโดยชาวบ้าน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนดอกไม้ตาวัง
จำหน่ายพันธุ์ดอกไม้ เมล็ด ท่องเที่ยว ถ่ายภาพ มีเต็นท์ให้เช่าพักแรม ที่ตั้ง บ้านท่าเชียงเครือ ม.2 ต.ป่งไฮ อ.เซกา จ.บึงกาฬ หมายเลขโทรศัพท์ 06 1464 0500

ไร่กาแฟอุ่นวิเศษ
นายบุญหนา อุ่นวิเศษ เจ้าของสวนยางพาราที่ปลูกกาแฟ ที่อยู่ติดกับสะพานข้ามแม่น้ำฮี้ บ้านท่าเชียงเครือ หมู่ที่ 2 ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยว่าเริ่มปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2554 เป็นสายพันธุ์อาราบิก้า และสายพันธุ์โรบัสต้า โดยทยอยปลูกเพิ่มเรื่อยๆ โดยการทดลองปลูกแซมในสวนยางพารา เป็นแปลงแรก เมื่อได้ผลจึงขยับขยายมาปลูกในสวนผสมผสาน เพื่อต้องการหารายได้เสริมนอกเหนือจากการทำสวนยาง Youtube ช่อง อุ่นวิเศษ ต้นตํารับกาแฟบึงกาฬ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่_08 7145 5373,
08 2111 6739
ID LINE:09 8118 0341

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

บายศรีสู่ขวัญ
โฮมสเตย์/ศาลาประชาคมหมู่บ้าน บายศรีสู่ขวัญเอเป็นขวัญ กำลังใจและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนชุมชน

ชมการสาธิตและทดลองฝึกงานฝีมือ เช่น การถักทอจักสาน ทอเสื่อกก การทำผ้ามัดย้อม
กลุ่มอาชีพต่างๆ ฝึกประลองฝีมือด้านการถักทอจักสาน ทำของเล่น เครื่องประดับ

นั่งเรือล่องแม่น้ำฮี้
แม่น้ำฮี้ ล่องลำน้ำฮี้ ชมทัศนียภาพธรรมชาติอันสวยงาม

การแสดงเซิ้งกระโด้
ภายในชุมชน เป็นการแสดงที่นำเอาวิถีชีวิต การทำมาหากิน มาประยุกต์เป็นท่ารำ เช่น การหาปลา สัตว์น้ำต่างๆ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม