ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดตราด

ที่ตั้ง 1 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
๑.เป็นอีกหนึ่งที่พึ่งทางใจของชาวตราด ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งคนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า การตั้งเสาหลักเมืองอยู่ในช่วงเดียวกับการสร้างวัดโยธานิมิต เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จมาเพื่อรวบรวมกำลังพลกอบกู้เอกราชที่จังหวัดตราด พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีนเพื่อให้ปกป้องคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ดังนั้น ศาลหลักเมืองจึงเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย – จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีงานฉลองที่เรียกว่า “วันงานพลีเมือง” หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “วันเซี่ยกงแซยิด” หมายถึง วันเกิดเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งจะมีพิธีทำบุญตักบาตรแบบไทย และมีงานประจำปีศาลปุงเถ้าม้าแบบจีน ช่วงก่อนและหลังตรุษจีน 1 เดือน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 06.00 – 21.00 น. 
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 09 6653 9294
๕.ช่องทางออนไลน์ – 
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม จังหวัดปทุมธานี

ชุมชนคุณธรรมวัดชินวราราม เป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายรามัญดั้งเดิมอาศัยอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสายน้ำ อาชีพหลักดั้งเดิมของชุมชน คือ อาชีพทำนา ทำสวนผลไม้

ชุมชนชาวไทยเชื้อสายรามัญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำเจ้าพระยา และสืบทอดวัฒนธรรมของชาวมอญผ่านวัดและวิถีประเพณีวัฒนธรรม เป็นชุมชนพึ่งพาตนเอง และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง ในการรักษา สืบทอดประเพณีรามัญไว้อย่างแนบแน่นกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดชินวรารามวรวิหาร
เดิมชื่อ วัดมะขามใต้ เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2358 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม นอกจากนี้ยังมีพระพุทธชินวร (หลวงพ่อทองคำ) พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย และพระตำหนักชินวรสิริวัฒน์

วัดเจตวงศ์ (วัดร้าง)
อยู่ในซอยเดียวกับวัดชิน วรารามวรวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   พระอุโบสถก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก มีช่องประตูเดียวแบบโบสถ์มหาอุต ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งอดีตที่มีความสวยงาม

พระตำหนักชินวรสิริวัฒน์
พระตำหนักชินวรสิริวัฒน์ เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 อยู่ในบริเวณวัดชินวรารามวรวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตะวันตก ในบริเวณวัดชินวรารามวรวิหาร มีพื้นที่กว้างขวางซึ่งสามารถชมธรรมชาติของสายน้ำ พระอาทิตย์ตก และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน และให้อาหารปลาได้ 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านต้นโพธิ์
เรียนรู้การทำยาหม่องสมุนไพร และการฝึกอาชีพต่าง ๆ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ปั่นจักรยาน
เส้นทางปั่นจักรยานถนนปทุมธานีสายใน ผ่านวัดบางหลวง-วัดชินวรารามวรวิหาร

ทำบุญตักบาตร
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตักบาตรริมน้ำเจ้าพระยา พระสงฆ์จะพายเรือมารับบิณฑบาตช่างเช้ามืด
ให้อาหารปลา
วังมัจฉา ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดชินวรารามวรวิหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม