ร้านเหรียญทอง จังหวัดนครพนม

๑. ร้านเหรียญทอง เป็นร้านขายของฝากที่เก่าแก่ของจังหวัดนครพนมและมีชื่อเสียงในด้านของฝาก ประเภทอาหารแห้ง ขนม กาละแม เป็นของฝากที่มีคุณภาพและรสชาติอร่อยเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวซื้อเป็นของฝาก
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง)
อาหารแห้ง หมูยอสด หมูยอทอด แหนม แหนมซีโครงหมู กุนเชียง หมูแผ่น หมูฝอย ไส้กรอกอีสาน ขนมกาละแม
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
06.00 – 20.00 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4251 2418 ,08 1392 0642
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook เหรียญทองหมูยอ นครพนม

โรงแรมเดอะริเวอร์

๑.ประเภทของที่พัก (โรงแรม)
๒.จำนวนห้อง 40 ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา
ห้องพัก ราคา(บาท) Standard 790 / Superior 990 / Suit 1490 / Family Room 2490
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
-จักรยานยนต์ ให้เช่า ราคา 100 บาท/ชม 250 บาท /วัน
-จักรยานล้อใหญ่ ให้เช่า ราคา 40 บาท/ชม 80 บาท/วัน
-จักรยานแม่บ้าน ให้เช่า ราคา 20 บาท/ชม 60 บาท/วัน

๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 4252 2999,08 3669 2999
๖.ช่องทางออนไลน์
Facebook โรงแรมเดอะริเวอร์ นครพนม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระธาตุประสิทธิ์ จังหวัดนครพนม

ตำบล นาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน
๑. พระธาตุประสิทธิ์ เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี ประดิษฐาน ณ วัดธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า เดิมชื่อวัดธาตุ เนื่องจากเจดีย์เก่าแก่ที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาในสมัยใด โดยมีลักษณะคล้ายองค์พระธาตุพนม รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างเสร็จในปีพ.ศ.2506 ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์ธาตุรวม 14 พระองค์ และดินจากสังเวชนียสถาน 4 แห่ง อานิสงส์ของผู้มากราบสักการะขอพรส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการงาน ก้าวหน้าสมประสงค์ และในบริเวณวัดยังมีศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ สาธิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมลายมุก ผ้าฝ้าย สามารถเลือกซื้อเป็นของฝากของที่ระลึกได้
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
พระมหาสมัคร วรปุณฺโณ 08 9423 0373
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าเรือ จังหวัดนครพนม

ชุมชนคุณธรรมบ้านท่าเรือ บรรพบุรุษอพยพมาจาก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี “บ้านท่าเรือ” เป็นแหล่งผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ แคน , พิณ , โหวด , โปงลาง , กลอง , ปี่นก , ปี่ภูไท และของที่ระลึก ,ผ้าไหมมัดหมี่ลายดอกบัวน้อย , ลายเกร็ดเต่า , ลายหางกระรอก , ลายลูกแก้ว  

เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งของจังหวัดนครพนม คือ ชนเผ่าไทยอีสาน มีการแต่งกายและภาษาที่เป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าไทยอีสาน มีความสามัคคี โอบอ้อมอารี มีมิตรไมตรีแก่ผู้มาเยือน เป็นหมู่บ้าน    ที่ผลิตเครื่องดนตรีอีสานที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เช่น แคน พิณ โหวด โปงลาง ปี่นก ปีภูไท และยังมี ศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถผลิตผ้าไหมมัดหมี่ที่สวยงาม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีโพธิ์ชัย
วัดประจำหมู่บ้านและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในการทำกิจกรรมของชุมชน

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน
เป็นสถานที่ในการผลิตผ้าไหมส่งขายทั้งในและนอกพื้นที่

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
สถานที่ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว

ฐานเรียนรู้พิณ
สถานที่ในการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านพิณ นายนัสทวุธ ไชยปัญหา 55 หมู่ 8

ฐานเรียนรู้แคน
สถานที่ในการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านแคน นายพรศักดิ์ ชาสงวน 37/33 หมู่ 1

ฐานเรียนรู้การทำโหวด
สถานที่ในการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านโหวด นายมิตร แมดมิ่งเหง้า ๘๘ หมู่ ๒

ฐานเรียนรู้สำนักสงฆ์ โพนสวรรค์
แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หนองเรือ
อ่างเก็บน้ำของหมู่บ้านใช้ในการทำมาหากินในชุมชน

ศาลปู่ตาและป่าชุมชน
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือของชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ทุ่งนา
เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวนาปี และนาปรัง

สวนเศรษฐกิจพอเพียง
ปลูกผักสวนครัว/ปลูกแตงร้านหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จแล้ว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การตักบาตรข้าวเหนียว
บริเวณถนนเส้นกลางของหมู่บ้าน พระภิกษุและสามเณรออกรับบิณฑบาต เวลา 06.30 น. ประชาชนและนักท่องเที่ยวรอทำบุญตักบาตรบริเวณถนนเส้นกลางของหมู่บ้าน

การทำพวงกุญแจ ปีนก ปี่ภูไท
นายเจียม อนุสนธิ์/นางทม ปติโยพันธ์/นางหนูเบ็ญ บินศรี นักท่องเที่ยวร่วมทำพวงกุญแจ พิณ แคน โหวด

การร่วมแสดงทางศิลปวัฒนธรรม
บริเวณวัดศรีโพธิ์ชัย การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวบริเวณวัดศรีโพธิ์ชัย

การปั่นจักรยาน
ปั่นจักรยานเที่ยวชมหมู่บ้าน นักท่องเที่ยวสามารถปั่นจักรยานเที่ยวชมการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านในชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม