ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ จังหวัดนราธิวาส

ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเก่า) ถนนพิชิตบำรุง ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ๙๖๐๐๐
๑.ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจังหวัดนราธิวาส เป็นร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นของจังหวัดนราธิวาส, ผลิตภัณฑ์ผู้พิการ อาทิ ผ้าทอ, กระเป๋า ของกิน ของใช้ ฯลฯ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจังหวัดนราธิวาส เป็นร้านค้าที่อนุรักษ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศิลปาชีพและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดนราธิวาส มีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานศิลปาชีพให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จึงเปรียบเสมือนประตูบานสำคัญที่เปิดตลาดการค้าและขยายงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการออกแบบ ปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานของงานศิลปหัตถกรรมไทย
๒. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง) จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส , ผลิตภัณฑ์ผู้พิการ อาทิ ผ้าทอ, กระเป๋า ของกิน ของใช้ ฯลฯ
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. (หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๓๖๔ ๒๖๔๗ , ๐๘ ๐๔๒๙ ๑๐๙๕
๕. ช่องทางออนไลน์
Facebook Page : ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจังหวัดนราธิวาส

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ทำเรือกอและจำลอง บ้านทอน จังหวัดนราธิวาส

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
๑. ชื่อผู้ประกอบการนายรุสลี บินดอเลาะ , นายมัสมิง ดอเล๊าะ และนายมัสมัน ดอเล๊าะ
๒. ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น
๒.๑ ชื่อผลิตภัณฑ์ แท่นวางโทรศัพท์มือถือกอและรายละเอียดความโดดเด่น
จากเอกลักษณ์และความโดดเด่นของเรือกอและ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่อยอดที่แตกต่างกัน แท่นวางโทรศัพท์มือถือกอและ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรือกอและ ตัดทอน เติมแต่ง แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิมอย่างลงตัว
๒.๒ ชื่อผลิตภัณฑ์ เรือกอและ
รายละเอียดความโดดเด่น จากเอกลักษณ์และความโดดเด่นของเรือกอและ สู่เรือกอและจำลองที่ยังคงเอกลักษณ์เดิมอย่างอย่างลงตัว เป็นของฝากที่ระลึกบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตแก่ผู้มาเยือนเมืองนรา
๓. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายมัสมิง ดอเล๊าะ เบอร์โทรศัพท์ ๐๖ ๓๖๑๓ ๓๒๒๘
นายรุสลี บินดอเลาะเบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๙๙๗๔ ๕๐๗๗
๕. ช่องทางออนไลน์ –

ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร นราธิวาส

๑.ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรภายใต้โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส รับผิดชอบงานทางด้านป่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่
ป่าพรุโต๊ะแดง ทั้งหมด 125,625 ไร่ ได้ดำเนินการตั้งปี 2533 โดยกรมป่าไม้ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่พรุที่จะดำเนินการจัดตั้งสำนักงานบริเวณคลองโต๊ะแดง ท้องที่บ้านโต๊ะแดง ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นสถานที่สำหรับศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ และความเพลิดเพลิน ในความหลากหลายของทรัพยากรป่าพรุธรรมชาติของประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า“ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” และในปี 2534 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาคัดเลือกให้ศูนย์แห่งนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมมายุ 36 พรรษา และต่อมาในปี 2535 ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตใช้ชื่อว่า “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00 น. – 16.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ของทุกปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– นิทรรศการให้ความรู้
– เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 1,200 เมตร
6. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 7320 6119
7. ช่องทางออนไลน์ –
8. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 จ.นราธิวาส

๑. สร้างขึ้นเพื่อ จัดเก็บ รวบรวมวัตถุ สิ่งของ เครื่องแต่งกาย ที่ใช้ในสมัยที่ดำรงชีพอยู่ในป่า ภายในตัวอาคารมีการจัดแสดงภาพถ่ายของบุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ เครื่องมือทางการแพทย์อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร ที่ใช้ในอดีต และรวบรวมประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกองทัพประชาชนมาลายาหรือพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและเรียนรู้ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตในป่า และแนวคิดอุดมการณ์ที่มีร่วมกัน ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระตำหนักสุคิริน (พระตำหนักสมเด็จย่า)

หมู่ที่ ๔ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
 ๑. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนิคมสร้างตนเองสุคิริน เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้เสด็จประทับแรม ณ เรือนรับรองของนิคมสร้างตนเอง ซึ่งเป็นอาคารหลังเล็ก ๆ ต่อมา นายเจ๊ะนาแว หะมะ ได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายที่ดินบริเวณเขาไอดีแยให้แก่นิคมสร้างตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ได้ดำริให้นิคมฯ ดำเนินการก่อสร้างตำหนักขึ้น เพื่อทูลเกล้าถวายเป็นที่ประทับระหว่างปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่นิคมฯ โดยกรมประชาสงเคราะห์ให้การสนับสนุนงบประมาณใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๙ เดือน จึงแล้วเสร็จและได้กราบบังคมทูลถวายตำหนักแด่พระองค์ท่าน และในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ สมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี ได้เสด็จประทับ ณ พระตำหนักสุคิริน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานคำว่าสุคิรินให้เป็นชื่อของตำหนัก มีความหมายเป็นศิริมงคลว่า พันธุ์ไม้อันเขียวชอุ่มซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาป่าไม้ และพันธุ์ไม้นานาชนิด
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ไม่มี่ ๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม นิคมสร้างตนเองสุคิริน
๐ ๗๓๖๕ ๖๐๖๘
 ๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์ บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดชลธาราสิงเห จังหวัดนราธิวาส

ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
 ๑.เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายวัดตั้งอยู่บนเนินทรายระหว่างแม่น้ำตากใบและพรุบางน้อย สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๔๐๓ โดยพระครูโอภาสพุทธคุณ (พุด) ได้ขอที่ดินจากพระยาเดชานุชิตที่ทางกรุงเทพแต่งตั้งมาปกครองรัฐกลันตัน แต่เดิมเรียกวัดท่าพรุหรือวัดเจ๊ะเหตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาได้มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชลธาราสิงเห ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยขุนสมานธาตุวฤทธิ์ หรือ เปลี่ยน กาญจนรัตน์ นายอำเภอตากใบคนแรกเป็น “วัดชลธาราสิงเห” ที่มีความหมายว่าเป็นวัดริมน้ำที่สร้างด้วยพระภิกษุที่มีบุญฤทธิ์ประดุจราชสีห์ (พระครูโอภาสพุทธคุณ) ชาวสงขลาช่วยกันเขียนภาพในพระอุโบสถ ในกุฏิ สร้างพระประธานในพระอุโบสถและกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถ เมื่อสร้างเสร็จ จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ความสำคัญของวัดชลธาราสิงเห นอกจากมีศิลปกรรมท้องถิ่น ที่งดงามแล้ว ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการปักปันเขตแดนกับอังกฤษ อังกฤษได้ทำการปักปันเขตแดนเข้ามาถึงบ้านปลักเล็กเลยจากวัดชลธาราสิงเห ๒๕ กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวจึงทำการแย้ง โดยให้เหตุผลว่าวัดชลธาราสิงเหเป็นวัดไทยที่มีความสำคัญเป็นมรดกทางพุทธศาสนา ฝ่ายอังกฤษยอมรับและเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำโกลก ทำให้อำเภอตากใบ อำเภอแว้งและอำเภอสุไหงโกลก อยู่ในการปกครองของไทยจนถึงปัจจุบัน วัดชลธาราสิงเหจึงได้ชื่อว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
วันจันทร์ – วันศุกร์
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นายประจักษ์ เทพคุณ
เบอร์โทรศัพท์ 08 5056 9963
๕. ช่องทางออนไลน์
facebook.com : ชุมชนท่องเที่ยวเจ๊ะเห
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านตะปัง จังหวัดนราธิวาส

บ้านตะปัง มีจำนวนประชากร ๔๐๑ คน ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ชุมชนมีเนื้อที่ ๒,๖๒๖ ไร่ ห่างจากอำเภอตากใบไปทางทิศเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร เรียงไปตามถนน และกระจุกตัวเป็นกลุ่มบ้าน เป็นที่ราบทุ่งนา ทุ่งหญ้า ร้อนชื้น ฝนตกชุก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๘๔ สายนราธิวาส – ตาบา

บ้านตะปัง เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา รู้รักสามัคคี หลอมรวมใจให้มีความสุขร่วมกัน ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ความนอบน้อมถ่อมตน เคารพนับถือผู้สูงวัยกว่าความกตัญญู และร่วมกันสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นเสน่ห์ของคนในชุมชนบ้านตะปัง

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดปิบผลิวัน (ตะปัง) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่งของอำเภอตากใบ มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ อุโบสถ ภาพจิตรกรรมภายในอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสที่สวยงาม

วัดโคกมะเฟือง
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดที่มีการขึ้นทะเบียน เป็นแหล่งโบราณสถานเป็นแหล่งโบราณสถานเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีสิ่งที่น่าสนใจคือ อุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสที่สวยงาม 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ริมฝั่งแม่น้ำบางนราและจุดชมหิ่งห้อย เป็นจุดชมวิวและบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำบางนรา และชมหิ่งห้อยบริเวณแม่น้ำในช่วงกลางคืน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพคุณภาพสูง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเรียนรู้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เพื่อนำไปปรับใช้ในครัวเรือน

ศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรบ้านตะปัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมการสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษแบบครบวงจร

กลุ่มบูดูทรงเครื่อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเลือกซื้อบูดูทรงเครื่องสูตรพิเศษของชุมชนบ้านตะปัง

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านตะปัง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์แม่บ้านโคกมะเฟือง ไข่เค็มโคกมะเฟือง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นแหล่งเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสูตรเฉพาะของกลุ่มแม่บ้านโคกมะเฟือง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ทำบุญตักบาตรยามเช้า วัดปิบผลิวัน สัมผัสบรรยากาศสดชื่นยามเช้าและ ร่วมทำบุญตักบาตรกับชาวบ้านตะปัง

ปลูกข้าวหอมกระดังงา ทุ่งนาบ้านตะปัง ร่วมกิจกรรมปลูกข้าวหอมกระดังงา ข้าวพื้นถิ่นของอำเภอตากใบกับชาวบ้านตะปัง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม

ร่วมทำบูดูทรงเครื่อง กลุ่มบูดูทรงเครื่อง เข้าเยี่ยมชมการทำบูดูทรงเครื่องและร่วมทำบูดูทรงเครื่องสูตรพิเศษของชุมชนบ้านตะปัง

ปั่นจักรยานเยี่ยมชมหมู่บ้าน บ้านตะปัง ปั่นจักรยานเยี่ยมชมวิถีการดำเนินชีวิตและบรรยากาศภายในหมู่บ้านตะปังและพื้นที่ใกล้เคียง

ร่วมประเพณีลาซัง ทุ่งนาบ้านตะปัง เข้าร่วมประเพณีลาซังซึ่งจัดหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีพิธีกรรมและการละเล่นให้เข้าร่วมจำนวนมาก เช่น พิธีบูชาพระแม่โพสพ การทำขนมจีนแบบโบราณ ชมการแสดงมโนราห์ การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งขันมวยทะเล เป็นต้น

เยี่ยมชมอุโบสถ และภาพจิตรกรรม วัดปิบผลิวัน (ตะปัง) วัดปิบผลิวัน (ตะปัง) เยี่ยมชมอุโบสถ ภาพจิตรกรรมในอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสที่มีความสวยงาม

เยี่ยมชมอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาสวัดโคกมะเฟือง
วัดโคกมะเฟือง เยี่ยมชมอุโบสถ และกุฏิเจ้าอาวาส วัดโคกมะเฟืองที่มีความสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านทอนอามาน จังหวัดนราธิวาส

ชุมชนบ้านทอนอามาน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลในเขตตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีลักษณะเป็นหมู่บ้านชาวประมง ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีอาชีพทำการประมงเป็นหลักและมีการทำสวนมะพร้าวควบคู่ไปด้วย

ชุมชนบ้านทอนอามาน เป็นชุมชนมุสลิม ดำรงชีวิตตามวิถีชาวประมง ภายในชุมชนมีการสืบทอดภูมิปัญญาการสานกระจูด การสร้างสรรค์เรือกอและจำลองเพื่อเป็นของที่ระลึก การต่อเรือกอและหาปลา การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว และการทำประมงพื้นบ้านเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านทอนอามาน เป็นกลุ่มสตรีที่รวมตัวกันทำการจักสานกระจูดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งรูปแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย อาทิ เสื่อ กระเป๋า ตะกร้าใส่ของ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 

ศูนย์ทำเรือกอและจำลองบ้านทอน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนบ้านทอนในการผลิต     เรือกอและจำลองจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว โดยผลิตภัณฑ์เรือกอและจำลองของกลุ่มมีความละเอียด ลวดลายงดงามอ่อนช้อย มีสีสันที่จัดจ้าน เป็นหนึ่งในของฝากของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนราธิวาส

อู่ต่อเรือกอและ บ้านทอนนาอีม อู่ต่อเรือกอและบ้านทอนเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ภูมิปัญญาการต่อเรืออันยาวนานของช่างฝีมือท้องถิ่นบ้านทอน ด้วยผลงานที่ได้รับการยอมรับทำให้มีลูกค้ามาสั่งต่อเรือกอและอย่างต่อเนื่อง 

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าว บ้านทอนอามาน เป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านบ้านทอนและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำมะพร้าวซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่มาทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ 

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

หาดบ้านทอน หาดบ้านทอน เป็นชายหาดที่ ทอดยาวริมฝั่งอ่าวไทย บรรยากาศเงียบสงบ น้ำทะเลสีฟ้าใส มีความร่มรื่นจากเงาต้นมะพร้าวที่ปลูกเรียงรายตามแนวชายหาด และเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็กที่จอดเรียงรายเพื่อเตรียมออกจากฝั่ง 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

เยี่ยมชมและเรียนรู้ภูมิปัญญาการสานกระจูด การผลิตผลิตภัณฑ์จากกระจูด กลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านทอนอามาน เยี่ยมชมและเรียนรู้ภูมิปัญญาการสานกระจูด การผลิตผลิตภัณฑ์จากกระจูด และเลือกซื้อของฝากผลิตภัณฑ์กระจูด

เยี่ยมชมศูนย์ทำเรือกอและจำลอง บ้านทอน ศูนย์ทำเรือกอและจำลองบ้านทอน เยี่ยมชมศูนย์ทำเรือกอและจำลอง งานฝีมือจากกลุ่มเยาวชนบ้านทอน และเลือกซื้อเรือกอและจำลองเป็นของฝาก

เยี่ยมชมการ แปรรูปผลิตภัณฑ์ จากมะพร้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะพร้าวบ้านทอนอามาน เยี่ยมชมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ได้แก่ การผลิตถ่านจากกะลามะพร้าว การทำมะพร้าวคั่ว การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เป็นต้น  และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวเป็นของฝาก

เยี่ยมชมการต่อเรือกอและหาปลา อู่ต่อเรือกอและบ้านทอนนาอีม เยี่ยมชมและศึกษาการทำเรือกอและหาปลาขนาดใหญ่ หากเป็นช่วงที่มีการต่อเรือ จะได้สัมผัสกับเรือกอและขนาดใหญ่ที่มีการวาดลวดลายสีสันสวยงาม 

ชมหาดบ้านทอน หาดบ้านทอน พักผ่อนรับลมที่หาดบ้านทอน และเดินชมวิถีชาวประมงตลอดแนวหาด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 จังหวัดนราธิวาส

ชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีเชื้อชาติมลายู ทำให้สามารถใช้ภาษามลายูกลาง    ในการสื่อสารได้ นอกจากนั้นแล้วยังมีวัฒนธรรมด้านอาหาร การแพทย์แผนจีน และร่องรอยของเรื่องราว     เมื่อครั้งยังเป็นพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ถือได้ว่าเป็นตำนานที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ซ่อนตัวอยู่ในขุนเขาที่น่าค้นหา

ชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 มีวิถีการดำเนินชีวิตเมื่อครั้งยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 ที่น่าสนใจ มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ คือ พิพิธภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมภาพถ่าย อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในอดีต และยังสามารถล่องแก่งชมความความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เป็นอาคารที่จัดแสดงประวัติความเป็นมาของวิถีการดำเนินชีวิต เมื่อสมัยยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 โดยมีการจัดแสดงภาพถ่ายบุคคลสำคัญของกรม เครื่องมือ   ทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ 

ร่องรอยประวัติศาสตร์และอุโมงค์ที่ตั้งคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 เป็นจุดศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์และเรียนรู้เรื่องราวจากการถ่ายทอด การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐ ในอดีต และยังเป็นสถานที่รำลึกถึงวีรชนผู้ร่วมกันสร้างสันติสุขและเอกภาพของกรม ๑๐  ซึ่งตั้งอยู่ภายในป่าชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดล่องแก่ง บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เป็นจุดที่สามารถล่องแก่งและสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของต้นน้ำแม่น้ำสายบุรี สองข้างทางล่องแก่งถูกปกคลุมด้วย    ร่มไม้ที่ให้ความเย็นสบาย ตลอดระยะทาง ประมาณ ๗ กิโลเมตร หากโชคดีในระหว่างการล่องแก่งอาจจะได้ชมวิถีการร่อนทองจากชาวบ้านด้วย

ป่าชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ป่าชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา และเชื่อมต่อกับผืนป่าของประเทศมาเลเซีย ซึ่งบริเวณนี้เป็นป่าฝนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายู ถูกขนานนามว่า “อเมซอนแห่งเอเชีย” เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

สวนไม้ดอกสุคิรินและจุดชมทะเลหมอก ตั้งอยู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ บนเนื้อที่ 2 ไร่ ที่มีลักษณะ  สันเขาลาดชัน ภายในสวน       มีการตกแต่งสถานที่ด้วยไม้ดอกนานาชนิด และยังเป็นจุดชมทะเลหมอกในช่วงเช้าด้วย

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แปลงเกษตรสวนผสม พื้นที่ของบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ส่วนใหญ่เป็นภูเขา แต่จะมีพื้นที่ราบขนาดเล็กอยู่ใกล้ทางน้ำไหล ทำให้เป็นพื้นที่เหมาะแก่กาแปลงเกษตรสวนผสมรทำแปลงเกษตร มีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้สวนผสมได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ สามารถที่จะนำชุมชนมาปรุงเป็นอาหาร สำหรับให้บริการ แก่นักท่องเที่ยวได้ 

ฟาร์มไก่บ้าน ฟาร์มไก่บ้านภายในชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เป็นฟาร์มที่เลี้ยงไก่ท่ามกลางธรรมชาติ   มีบรรยากาศที่เหมาะสม ทำให้ไก่อยู่ในสภาวะไม่เครียด สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และในกระบวนการเลี้ยงจะไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ เยี่ยมชมเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ในสมัยที่ยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐ ภายในพิพิธภัณฑ์จะได้ชมภาพถ่ายบุคคลสำคัญของกรม ๑๐ เครื่องมือทางการแพทย์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ

ล่องแก่งต้นน้ำสายบุรี (จุดล่องแก่งบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒) จุดล่องแก่งบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ล่องแก่งสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของต้นน้ำแม่น้ำสายบุรี สองข้างทางล่องแก่งถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ที่ให้ความเย็นสบาย ตลอดระยะทาง ประมาณ ๗ กิโลเมตร

ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ (ป่าชุมชน บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒) ป่าชุมชน    บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ศึกษาธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ “อเมซอนแห่งเอเชีย” ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร

ศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์ และอุโมงค์ที่ตั้ง ฐานคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10 ร่องรอยประวัติศาสตร์และอุโมงค์ที่ตั้งฐานคอมมิวนิสต์มาลายา กรม 10เป็นการศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์และเรียนรู้เรื่องราวจากการถ่ายทอด      การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์  มาลายา กรม ๑๐ ในอดีต และร่วมถ่ายรูปกับอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้ร่วมกันสร้างสันติสุข และเอกภาพ ให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐

ชมทะเลหมอก จุดชมทะเลหมอกสวนไม้ดอกสุคิริน สัมผัสกับทะเลหมอกยามเช้า ท่ามกลางหุบเขา และสวนไม้ดอกสุคิริน

Floating Lunch รับประทานอาหารกลางวันลอยน้ำ จุดบริการFloating Lunch รับประทานอาหารกลางวัน ลอยน้ำ รับประทานอาหาร Floating Lunch สำรับอาหารกลางวันลอยน้ำ ด้วยการแช่ขาหรือทานข้าวในน้ำที่เย็นฉ่ำ คลายร้อนช่วงกลางวัน เป็นมิติใหม่ของการรับประทานอาหารกลางวัน

ชมการแสดง รำพัดของเยาวชน ลานการแสดงอาคารอเนกประสงค์ของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ รับชมการแสดงต้อนรับ การรำพัดของเยาวชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ ซึ่งเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่ได้รับอิทธิพลสมัยที่เข้าร่วมเข้าพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายจีน นักท่องเที่ยวสามารถร่วมแสดงรำพัดกับเยาวชนได้

เยี่ยมชมการฝังเข็ม จุดให้บริการฝังเข็ม  เยี่ยมชมการสาธิตและใช้บริการฝังเข็ม ฉบับแพทย์จีน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสมัยที่ยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม