ร้านอาหาร BARAZAAZ BAZAAZ และกิจกรรมทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้ของกลุ่ม Barahom Bazaar (CPOT)

1. ทานอาหารพื้นบ้าน “นาสิอิแดกำปง” เปิบด้วยมือ “นาสิอีแดกําปง” เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดปัตตานี นิยมกินกับแกงเหลืองกะทิ ปลาทอด น้ำพริก บูดูและผัก ลวกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถหากินได้ง่ายในชุมชน และทางผู้ปะกอบการตองการให้กินบนใบตองแทนการใช้จานถ้วยและเปิบ ด้วยมือแทนการกินด้วยช้อนส้อม เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน “นาสิอีแดกําปง” จัดราคาเซ็ทตั้งโต๊ะอยู่ที่หัวละ ๙๙ บาท เป็นบุฟเฟต์สามารถเติม กับข้าว ผักลวก ไม้อั้น (ยกเว้นปลาทอด)
2. ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกจากบล็อกไม้ลายเครื่องชามถ้วยโบราณ (CPOT) อาทิ
กระเป๋า ผ้าผืน หน้ากากอนามัย ผ้าพันหัว ฯลฯ แบรน Barahom Bazaar โดยการนําสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทําผ้าบาติกด้วยบล็อคไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหมมาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหม จังหวัดปัตตานี

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณสถานที่เก่าแก่ร่วม ๕๐๐ ปี ในยุคที่สมัยที่ปัตตานีเป็นเมืองท่าที่รุ่งเรือง มีชาวต่างชาติทั้งอาหรับ เปอร์เซีย ยุโรป เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ปรากฏได้จากโบราณวัตถุจำพวกเศษเครื่องถ้วยจีน อยุธยา และนานาประเทศ เป็นจุดสนใจของประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่อยากเข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศึกษาร่องรอยอารยธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหมมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพที่ดี ด้านสถานที่สะอาด สวย และร่มรื่น  ชุมชนมีภูมิทัศน์สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สุสานพญาอินทิรา พระองค์สืบราชวงค์ โกตามัหลิฆัย แห่งราชอาณาจักรลังกาสุกะ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สุสานพญาอินทิรา หรือสุสานสุลต่าน อิสมาอีล ซาห์ เป็นสถานที่ฝั่งพระศพของพญาอินทรา หรือสุลต่าน อิสมาอิล ซาห์ เจ้าเมืองปัตตานีองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นเจ้าเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๔๓ – ๒๐๗๓ ได้ทรงสถาปนาเมืองปัตตานีเป็นนครปัตตานีดารุลสลาม และพัฒนาบ้านเมืองปัตตานีให้เข้มแข็ง มีการหล่อปืนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก  เพื่อใช้ในการป้องกันเมืองตามแบบฉบับของเมืองขนาดใหญ่ในยุคนั้น ในสมัยของพระองค์ เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปกว้างไกล ทั้งการเป็นศูนย์กลางการค้าและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม มีพ่อค้าชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ สุลต่านอิสมาอิล ซาห์ สิ้นพระชนในปี พ.ศ.๒๐๗๓ พระศพของพระองค์ถูกฝั่งไว้ในสุสานแห่งนี้คู่กับพระศพชายาของพระองค์ จุดเด่นของสุสานคือแนแซ หินเหนือหลุมฝั่งศพที่สร้างด้วยหินทรายสลักลวดลายที่ประดับไว้อย่างสวยงาม

สุสานราชินีสามพี่น้อง (รายาฮีเยา) เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าเมืองปัตตานี ๓ พระองค์ ได้แก่ รายาฮีเยา (พ.ศ.๒๑๒๗ – ๒๑๒๙) รายาบีรู (พ.ศ.๒๑๕๙ – ๒๑๖๗) และรายาอูงู (พ.ศ.๒๑๖๗ – ๒๑๗๘) ทั้งสามเป็นธิดาของสุลต่านมันศูร ชาห์ หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ โอรสของพระองค์มีนามว่า ปาฮาดูร์ชาห์ ขึ้นครองราชย์แต่ไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์โดยไม่มีโอรสสืบทายาท ธิดาทั้งสามของสุลต่านมันศูร ชาห์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองปัตตานีต่อเนื่องกันถึง ๓ พระองค์

แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้กระต่ายขูดมะพร้าว การแกะสลักกระต่ายขูดมะพร้าวจากไม้เนื้ออ่อนให้มีลวดลายมลายูจนเป็นที่โด่งดังทำให้มีคนจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น มาดูงานศิลปหัตถกรรมที่คุณตาอาลีได้ตั้งใจสร้างขึ้นมา และมีคนสนใจซื้องานแกะสลักของท่านไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมในที่ต่าง ๆ หรือตั้งไว้เป็นเครื่องประดับบ้าน

กิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง เป็นกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงเรือเล็ก แล้วล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง และวัดดวงกับกิจกรรมการหาเศษกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ สามารถซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวและลงเรือได้ที่ Barahom Bazaar

ท่าเสด็จ เป็นจุด check in ชมฝูงนกและจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกยามเย็น

กิจกรรมการทำผ้าบาติกด้วยบล็อกไม้ เป็นกิจกรรมทำผ้าบาติกด้วยบล็อกไม้ของกลุ่ม Barahom Bazaar

ภูมิปัญญาว่าวบูลัน ว่าววงเดือน หรือเรียกว่า“วาบูแลหรือวาบูลัน” บูลันแปลว่าดวงจันทร์ เป็นว่าวที่มีรูปดวงเดือนเป็นส่วนประกอบอยู่ตรงกลางลำตัว ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ปีก เขา (คล้ายเขาควาย) และดวงเดือนซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปีกและเขาและตอนกลางของลำตัว ว่าววงเดือน มี ๒ แบบคือ แบบมีแอก และแบบไม่มีแอก ความเป็นมาของว่าวบางคนบอกว่าว่าวมาจากประเทศมาเลเซีย และบางคนบอกว่ามาจากจังหวัดปัตตานี จึงสรุปไม่ได้ว่าว่าวมาจากที่ไหน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

กลุ่มเพาะเลี้ยงปูดำ เป็นกิจกรรมการรวมกลุ่มของชาวประมงพื้นบ้านเล็ก ใช้เวลาว่างจากการทำประมง มาเพาะเลี้ยงอนุบาลปูดำ เพื่อปล่อยลงสู่ทะเล สร้างรายได้  สู่ชุมชน และส่งผลทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป

อุโมงค์ป่าโกงกาง เป็นจุดที่มีป่าโกงกางอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของตำบลบาราโหม มีลักษณะของโกงกางโค้งบรรจบกัน เลยเรียกว่า อุโมงค์ป่าโกงกาง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง เป็นศูนย์การเรียนเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการ ทดลอง สาธิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพของอาหารพื้นบ้านสู่การเพิ่มมูลค่าและการต่อยอด ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการ ทดลอง สาธิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพของอาหารพื้นบ้านสู่การเพิ่มมูลค่าและการต่อยอด ผ่านตัวแทนผู้หญิง ปราชญ์ ผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้านชายแดนใต้ ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ ภายใต้โครงการ : อาหารพื้นบ้านชายแดนใต้ : วิถีแห่งความเชื่อภูมิปัญญาและบทบาทของผู้หญิงในการมีส่วนร่วมเพื่อสืบสานมรดกวัฒนธรรม

กิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง Barahom Bazaar เป็นกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชิตชาวประมงเรือเล็ก แล้วล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง และวัดดวงกับกิจกรรมการหาเศษกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ สามารถซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวและลงเรือได้ที่ Barahom Bazaar

การทานอาหารพื้นบ้าน “นาสิอิแดกำปง” เปิบด้วยมือ Barahom Bazaar “นาสิอีแดกําปง” เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดปัตตานี นิยมกินกับแกงเหลืองกะทิ ปลาทอด น้ำพริก บูดูและผักลวกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถหากินได้ง่ายในชุมชน และทางผู้ปะกอบการต้องการให้กินบนใบตอง แทนการใช้จาน ถ้วย และเปิบด้วยมือแทนการกินด้วยช้อนส้อม เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน สําหรับที่เดินทางไปลิ้มลองต้องกลับมาอุดหนุนและกินกันอีกครั้ง “นาสิอีแดกําปง” ซึ่งทางร้าน BARAZAAZ BAZAAZ จัดราคาเซตตั้งโต๊ะอยู่ที่หัวละ ๙๙ บาท เป็นบุฟเฟต์สามารถเติม กับข้าว ผักลวก ไม้อั้น (ยกเว้นปลาทอด)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม