วัดเขาพระอังคาร บวร On Tour บุรีรัมย์

ที่ตั้ง ตำบล เจริญสุข อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ บุรีรัมย์
๑. วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟ บนเขาพระอังคารอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนที่จะมีการสร้างวัดเขาพระอังคารขึ้นในบริเวณนี้ มีหลักฐานว่าที่นี่เคยเป็นพุทธสถานมาแต่โบราณ โดยได้พบโบราณวัตถุคือใบเสมาหินบะซอลต์ สมัยทวารวดี ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยตั้งอยู่รอบอุโบสถ ใบเสมาเหล่านี้มีภาพสลักรูปบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อายุประมาณ 1,300 ปี อีกทั้งในประวัติลายแทงธาตุพนมกล่าวว่าเมื่อ พ.ศ.8 มีการนำพระอังคารธาตุ (เถ้ากระดูก) ของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานที่เขาลูกนี้ จนถึง พ.ศ. 2520 พระอาจารย์ปัญญา วุฒิโธ จึงได้มาสร้างวัดบนยอดเขา และนำพระอังคารธาตุขึ้นบรรจุในสถูปบนยอดของอุโบสถที่สร้างขึ้นโดยนำศิลปะสมัยต่างๆ มาผสมผสานกันภายในบริเวณวัด
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 นาฬิกา ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 09 3529 5671
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด /ที่จอดรถ/ ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านเจริญสุข

ที่อยู่ บ้านเจริญสุข หมู่ที่ 1 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
1. เป็นศูนย์จำหน่ายผลิตภายใต้แบรนด์ ผ้าภูอัคนี อันเป็นผ้าย้อมดินจากภูเขาไฟ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ลูก ของภูเขาไฟในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนางสำรวย ศรีมะเรือง ปราชญ์ชุมชนได้คิดค้น นำภูมิปัญญาการย้อมผ้ามาพัฒนา โดยร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน จนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังได้นำมาแปรรูปเป็นผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และของที่ระลึกไว้จำหน่าย
2. ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง) ของใช้
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เวลา 08.00 – 17.00 น. ทุกวัน
4. นางสำรวย ศรีมะเรือง 09 7007 4244
5. ช่องทางออนไลน์ : Facebook ผ้าภูอัคนี ของดีบุรีรัมย์

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ลานวัฒนธรรม บ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง ตำบล จรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
๑. ลานวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง เป็นศาลาเอนกประสงค์ มีลานกว้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นที่ต้อนรับผู้มาเยือนในหมู่บ้าน ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ ใช้ในการจัดการแสดงพื้นบ้าน หรือปรับเปลี่ยนเป็นลานรับประทานอาหารเลี้ยงต้อนรับแขกผู้มาเยือน นอกจากนี้ยังใช้ลานวัฒนธรรมเป็นสถานที่ประกอบพิธีเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันพระ วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา ใกล้กับลานวัฒนธรรมยังมีตลาดนัดชุมชนบ้านโคกเมือง และศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอปบ้านโคกเมือง ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นได้แก่ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ ผ้าหมักโคลนบารายพันปีสีกลีบบัว ผ้าทอพื้นเมืองลายผักกูด เปิดให้บริการทุกวัน
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
08.00-18.00 นาฬิกา ไม่เว้นวันหยุดราชการ
(กรุณาติดต่อล่วงหน้า)
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
คุณประสิทธิ์ ลอยประโคน (ประธานหมู่บ้านท่องเที่ยว)
โทร. 08 6721 1789
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.bankokmuang.in.th/
https://www.facebook.com/papat239
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านโจอี้ก๋วยเตี๋ยวเป็ด บุรีรัมย์

ที่อยู่ 142/4 หมู่1 ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย บุรีรัมย์ 31140
๑. ร้านก๋วยเตี๋ยวริมทางที่ให้บริการนักท่องเที่ยว ตามเส้นทางที่จะเดินทางต่อไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
2. เมนูเด่น/เมนูแนะนำ
2.1 ก๋วยเตี๋ยวเปิด
2.2 ติ่มซำ
2.3 ข้าวหน้าเป็ด
3. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดบริการทุกวัน เวลา 09.00 – 17.30 น.
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
เบอร์ดิดต่อ 08 9284 0471
๕. ช่องทางออนไลน์ Facebook โจอี้ ก๋วยเตี๋ยวเป็ด

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
๑. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูเขาไฟเขากระโดงมีเนื้อที่กว่า 8,000 ไร่ ห่างจากตัวเมืองราว 6 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 6 ภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ที่ดับสนิทแล้ว ปัจจุบันได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าสภาพของภูเขาแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงเนินเขา เป็นป่าเต็ง-รัง มีเนินเขาขนาดเล็ก 2 ลูกติดกัน เนินทางทิศใต้เรียกว่า “เขาใหญ่” ส่วนเนินทางทิศเหนือเรียกว่า “เขากระโดง” หรือ “เขาน้อย” ความสำคัญของผืนป่าแห่งนี้เสมือนเป็นธนาคารอาหารป่า เพราะอุดมไปด้วยพืชอาหารและสมุนไพรนานาประเภทกว่า 100 ชนิด มีเห็ดกินได้กว่า 20 ชนิด นกน้ำและนกป่ากว่า 100 ชนิด สัตว์ที่พบบ่อยคืองูหลาม กระต่ายป่า ไก่ป่า กระรอกบินจิ๋วท้องขาว กระรอกหลากสี นกขุนแผนสีน้ำเงินนกบั้งรอกใหญ่ และนกกระรางหัวหงอก เป็นต้น เขากระโดงเป็นเสมือนป่าในเมือง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนชาวบุรีรัมย์ มีสะพานแขวนข้ามปากปล่องภูเขาไฟและมีทางเดินชมธรรมชาติรอบปากปล่องภูเขาไฟ บนยอดเขากระโดงเป็นที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปปางสมาธิ องค์พระขนาดใหญ่มีหน้าตักกว้าง 12 เมตร ฐานกว้าง 14 เมตร ภายในเศียรบรรจุพระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุ ประทับอยู่ขอบปากปล่องภูเขาไฟ รูปจันทร์เสี้ยว หันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
06.00-18.00 นาฬิกา ไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เที่ยวได้ตลอดทั้งปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปราสาทพนมรุ้งจำลอง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้ง ตำบลอิสาน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
 ๑. ปราสาทหินพนมรุ้งจำลอง ตั้งอยู่บนเนินดินสูงคล้ายภูเขา การก่อสร้างใช้หินทรายสีชมพูลักษณะเดียวกับที่สร้างปราสาทหินพนมรุ้ง มีความคล้ายคลึงและขนาดเท่ากับของจริง แม้กระทั่งทำเลที่ตั้งซึ่งคำนวณ ให้ตรงกับจุดขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ผ่านประตู 15 ช่อง พร้อมระบบ แสงสีเสียงรอบตัวปราสาท สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2559 สร้างให้เป็นโดยเป็นส่วนหนึ่งของ คอมมูนิตี้มอล บุรีรัมย์ บุรีรัมย์ คาสเซิล มีเป้าหมายเป็นแหล่งอารยธรรมใหม่ ที่จะสร้างความตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยว ด้วยเงินลงทุนกว่า 370 ล้านบาทเป็นโครงการที่ออกแบบโดยอิงจากหมู่บ้านชุมชนรอบปราสาทหินพนมรุ้ง พร้อมทางเดิน บันได สวนหิน และตะบองเพชรขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังรายรอบด้วยร้านค้า ลานกิจกรรม พื้นที่จัดงานอีเวนท์ ร้านขายของที่ระลึก พร้อมทั้งมีแผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเจริญเติบโต ของเมืองบุรีรัมย์ ที่จะเกิดจากโครงการต่างๆในอนาคต อันเป็นการยกระดับ คุณภาพชีวิต ยกระดับสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าการจำหน่าย สร้างรายได้ และเป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย สอดรับกับยุทธศาตร์จังหวัด บุรีรัมย์ ที่ตั้งเป้าเป็นเมืองเศรษฐกิจของประเทศ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว อารยธรรมขอม พัฒนาการท่องเที่ยว การศึกษา สาธารณสุข และสร้างสังคม ที่เป็นสุข
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
10.00 – 21.00 นาฬิกา ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ


๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 09 3559 5588
๕. ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/buriramcastle2015
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสนวนนอก จังหวัดบุรีรัมย์

หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมแบบครบวงจร ที่อยู่ร่วมกันแบบ เครือญาติ มีชาติพันธุ์ไท – เขมร ใช้ภาษา “แขมร์” เป็นภาษาถิ่น มีการหลอมรวมวิถีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมที่ลงตัวและยังคงรักษากลิ่นอายชาติพันธุ์เขมร สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้ ด้วยมีระยะทางห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์เพียง 12 กิโลเมตร

เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวไหม กลิ่นอายวิถีชีวิตแบบเซราะกราว ที่ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามแบบชาติพันธุ์ไท – เขมร มีผ้าไหมยกดอกพิกุล ผ้าหางกระรอกคู่ตีนแดง ผ้าที่เกิดจากผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ไท – ลาว และไท – เขมร การละเล่นเรือมตรด ขนมตดหมา วิหารคู่ พระพุทธรูปไม้โบราณ โฮมสเตย์และรีสอร์ทไว้รองรับนักท่องเที่ยว    

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสนวนนอก
ภายในวัดสนวนนอก    มีพุทธอุทยานทำดี    ละชั่ว  กลัวบาป เดิมมีชื่อว่า  “อุทยานหยุดทำชั่วเถิด”  สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช  ๒๕๑๙ และมีโบสถ์ สร้างตั้งคู่กันอยู่ 2 หลัง ภายในมีพระประธานที่สวยงาม  

ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก
แหล่งทอผ้าไหมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม

กำแพงดินและ คูเมืองโบราณ
เป็นกำแพงดิน จำนวน  ๓ ชั้น มีคูเมืองอยู่ตรงกลางระหว่างกำแพงดิน  ความสูงของกำแพงดิน  ประมาณ  ๑  เมตร  ๕๐  เซนติเมตร สันนิษฐานว่าเมื่อประมาณ  ๑,๕๐๐  ปี เป็นกำแพงป้องกันภัยจากศัตรูและอาจเคยเป็นฐานทัพ  

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สะพานยายชุน
สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.๒๔๒๘ ด้วยเงินบริจาคของยายชุน ผู้เป็นเศรษฐีนี ในยุคสมัยนั้น  ลักษณะของสะพานเป็นกระดานไม้แผ่นเดียววางทอดกัน ระยะทางประมาณ  ๕๐ เมตร เพื่อข้ามลำห้วยจากฝั่งหมู่บ้านสนวนนอกไปยังทุ่งนา

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน ของนายประถม  โกติรัมย์ ซึ่งเริ่มทำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 บนเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมที่เชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลเกิดความสวัสดิ์ดีกับผู้รับขวัญ โดยใช้ภาษาถิ่น คือ ภาษา “แขมร์” เป็นบทเรียกขวัญ 

การแสดงรำตรด
ลานวัฒนธรรม เป็นการละเล่นพื้นบ้าน ใช้เล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และใช้ภาษาถิ่นในการแสดง 

ตักบาตร
วัดสนวนนนอก หรือหน้าบ้าน ทำบุญตักบาตร  ตอนเช้าที่วัดสนวนนอกหรือหน้าบ้าน

ทอผ้า
ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มทอผ้าไหมบ้านสนวนนอก เรียนรู้และทดลองทอผ้า

ฐานบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
ฐานบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เรียนรู้และทดลองปลูกหม่อน เลี้ยงไหม

ฐานบ้านนก
ฐานบ้านนก เรียนรู้และทดลองทำนกจากกะลามะพร้าว

ฐานบ้านจักสาน
ฐานบ้านจักสาน เรียนรู้และทดลองจักสานจากไม้ไผ่

ฐานบ้านกระดิ่ง
ฐานบ้านกระดิ่ง เรียนรู้และทดลองทำกระดิ่ง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านเจริญสุข จังหวัดบุรีรัมย์

ชุมชนตั้งอยู่เชิงเขาพระอังคาร ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มอดดับลงแล้ว ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีจุดเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง ลักษณะของดินเคยเป็นทางไหลลาวาที่มีแร่ธาตุและความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้เป็นแหล่งกำเนิด “ผ้าภูอัคนี” ผ้าย้อมดินจากภูเขาไฟ

ป่าชุมชนบ้านเจริญสุข พร้อมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตลอดเส้นทาง ทั้งเส้นทางเดินเท้าและขึ้นรถอีแต๊กเที่ยวชมเนินกระต่าย อ่างเก็บน้ำปากปล่องภูเขาไฟ น้ำตกซับโพธิ์ เขาราชสีห์ (ถ้ำเสือ) ซับลึกลับ เนินค้อนศรีโคตร เหล่าฝ้าย และสักการะพระใหญ่ที่วัดเขาอังคาร ชมสถาปัตยกรรมสมัยขอมและผ้าย้อมดินภูเขาไฟ “ผ้าภูอัคนี”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดเขาพระอังคาร
เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาอังคาร บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีมีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา

การย้อมผ้าภูอัคนี
ฐานเรียนรู้กลุ่มสตรีทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย   ตำบลเจริญสุข

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ป่าชุมชน
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเส้นทางศึกษาธรรมชาติจะมีจุดเรียนรู้ ตลอดเส้นทาง เริ่มจาก เนินกระต่าย อ่างเก็บน้ำปากปล่องภูเขาไฟ น้ำตกซับโพธิ์ เขาราชสีห์ (ถ้ำเสือ) ซับลึกลับ เนินค้อนศรีโคตร เหล่าฝ้าย 

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนลำไยภูเขาไฟ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ชิม ช้อป

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การบายศรีสู่ขวัญ
ลานวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมที่เชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลเกิดความสวัสดิ์ดีกับผู้รับขวัญ 

การแสดงพื้นบ้าน
ลานวัฒนธรรม แสดงหมอลำพื้นบ้านและการแสดงชุด ฟ้อนรำวันทาผ้าภูอัคนี เป็นชุดการแสดงที่จัดเตรียมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 

ทำบุญตักบาตร
วัดบ้านเจริญสุข ทำบุญตักบาตร ตอนเช้าที่วัดบ้านเจริญสุข หรือใส่บาตรหน้าบ้าน 

ย้อมผ้าภูอัคนี
ฐานเรียนรู้การย้อมผ้าภูอัคนี ทดลองและเรียนรู้การย้อมผ้าภูอัคนี ซึ่งเป็นผ้าย้อมจากดินภูเขาไฟ

ไข่เค็มอัคนี
ฐานเรียนรู้การทำไข่เค็มอัคนี ทดลองและเรียนรู้การทำไข่เค็มอัคนี โดยมีส่วนผสมของดินจากภูเขาไฟ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม