ถ้ำมืด จังหวัดยะลา

ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
๑.ถ้ำมืดถือเป็นจุดไฮไลท์ของตำบลหน้าถ้ำ อีกแห่งหนึ่ง คือ บริเวณ หน้าผาได้จารึกพระนามาภิไธย่อของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ที่มีคำย่อว่า ป.ป.ร. ชมความสวยงามตระการตาของหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ภายในถ้ำยังมี “สระแก้วหรือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” เป็นแอ่งในถ้ำขนาดเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยขอบหินปูน น้ำใสสะอาด เป็นน้ำที่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ น้ำในสระแก้ว เชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มักจะไปขออนุญาตเทพารักษ์นำน้ำกลับไปบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล การเข้าชมถ้ำมืด ไม่สามารถเดินชมได้เอง เพราะไม่มีแสงสว่าง ต้องมัคคุเทศก์ท้องถิ่นนำทาง นำไฟฉายติดตัวเพื่อที่จะสามารถชมความงามของหินงอกหินย้อยได้อย่างเต็มที่ ควรใส่ลองเท้าหุ้มส้น หรือรองเท้าที่มีดอกยาง เพราะในพื้นภายในถ้ำค่อนข้างลื่น
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 น. – 16.00 น.
(ต้องประสานเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า)
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม 2564
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เดินสำรวจเส้นทางของถ้ำ ชมความงดงามของหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
คุณชัชพงศ์ เพ็ชรกล้า หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๑๘๕๐ ๒๕๒๐
๗.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ถ้ำม้าร้อง จ.ประจวบคีรีขันธ์

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ ๖๔/๓ หมู่ที่ ๔ ต.พงศ์ประศาสน์ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77140
๑.ภายในถ้ำม้าร้องมีหลายคูหา มีหินงอกหินย้อย และมีผู้ดูแลติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้ส่องสว่างแก่นักท่องเที่ยว โดยภายในถ้ำจะมีพระพุทธรูปปางสมาธิเรียงรายตลอดแนวอยู่ชิดผนังถ้ำ และมีหินย้อยรูปร่างลักษณะคล้ายหัวม้าอยู่ภายในถ้ำ หากเดินตรงเข้าไปในถ้ำแล้วเลี้ยวไปทางขวามือ ประมาณ 20-30 เมตร และเลี้ยวซ้ายจะเห็นลักษณะหินย้อยที่มีรูปร่างคล้ายหัวม้า และมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำไปใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานพิธีครบรอบ 60 พรรษา , 72 พรรษา และพิธีบรมราชาภิเษก ร.10 และที่น่าแปลกใจคือน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้จะไม่มีวันแห้ง ปัจจุบัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาสัมผัสความสวยงามของหินงอกหินย้อยและบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ –
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
กิจกรรมเดินขึ้นเขาชมความสวยงามภายในถ้ำ
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0๘ ๑๒๙๒ ๘๑๔๑ หรือ ๐๘ ๒๓๘๕ ๓๘๕๖
๗.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/pages/category/Community/ชุมชนต้นแบบบ้านม้าร้อง-593498730991651/
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ชุมชนคุณธรรมบ้านปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ

ประมาณ  ๑๕๐ – ๒๐๐  ปี มาแล้ว มีนายพรานเกิ้นกับนายพรานสีโท พร้อมลูกน้องอพยพครอบครัวจากหนองบัวลำภู นั่งหลังช้างมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านขามเฒ่า อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาสองนายพรานได้ออกหาล่าเนื้อในละแวกนี้ เรียกว่า ป่าดงใหญ่ ซึ่งมีลำห้วย หนองน้ำ สัตว์ป่า ปลาชุกชุมมาก ลำห้วยที่เป็นคุ้งน้ำลึก เรียกว่า  กุด มีปลาค้าวเนื้ออ่อนต่อมาเรียกว่าปลาค้าว สองนายพรานเห็นว่าที่ตรงนี้เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงมาตั้งบ้านเรือนและเรียกชื่อว่าบ้านกุดปลาค้าว ต่อมาการพูดเพี้ยนสั้นลงเป็นบ้านปลาค้าว 

ชุมชนบ้านปลาค้าว มีความสามารถในเรื่องงานช่างฝีมือพื้นบ้าน การทอผ้า ทอเสื่อกก ตำรายาสมุนไพร และหมอลำ นอกจากนั้นยังมีการรำผญา เป่าแคน ดีดพิณ กลองยาว รวมถึงการร้องสรภัญญะ บ้านปลาค้าวได้รับรางวัล  “ค่าของแผ่นดิน” ด้านการส่งเสริมและการอนุรักษ์ภาษาถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน มีภูมิปัญญาที่รักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมในการทำเครื่องสักการะบูชาอีสานโบราณ 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีโพธิ์ชัย
วิหารโบราณ สถานที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่ในวัด ศรีโพธิ์ชัย เป็นศิลปะผสมผสานของ ไทย ลาว เวียดนาม ร่วมกันสร้างวิหารแห่งนี้ ได้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นศาสนสถานที่ร่วมกิจกรรมของชาวบ้านทั้งฝ่ายสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส ใช้วิหารนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม  เช่น 
การฟังเทศน์ ฟังธรรม (ธรรมวัตร ) ของชาวบ้าน     

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
บ่อน้ำโบราณในวัดฉิมพลี มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นศูนย์รวมชาวบ้าน แสดงถึงความสามัคคีของคนในชุมชนถ้าน้ำในบ่อแห้งขอดไม่ไหลซึมแสดงถึงการขาดความสามัคคีของคนในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนวิมานดิน
สวนวิมานดินเกษตรอินทรีย์เป็นแหล่งรวบรวมพืชผลเกษตรอินทรีย์ และภูมิปัญญาด้านการเพาะเมล็ดพันธุ์พืชและพืชเกษตรอินทรีย์ เลขที่ 28 หมู่ที่ 3 ถนน ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนวิมานดิน
ศูนย์เรียนรู้สวนวิมานดินเกษตรอินทรีย์ เลขที่ 28 หมู่ที่ 3 ถนน ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ต้อนรับด้วยขบวนกลองยาว กิจกรรมนำชมสถานที่ท่องเที่ยวภายในชุมชนบ้านปลาค้าว ณ จุดเช็คอินบริเวณด้านหน้าวิหารโบราณบ้านปลาค้าวมีคณะกลองยาวที่มีชื่อเสียง คือ คณะศรีโพธิ์ทอง 

การแสดงหมอลำและดนตรีพื้นบ้านสอนร้องและรำหมอลำแก่ผู้สนใจ ณ บริเวณโฮมสเตย์บ้านปลาค้าว อัตลักษณ์ของชาวบ้านปลาค้าวคือ หมอลำกลอน ลำเรื่องต่อกลอน นอกจากนั้นยังมีการรำผญา เป่าแคน ดีดพิณ กลองยาว รวมถึงการร้องสรภัญญะ 

ทำบุญตักบาตร บริเวณด้านหน้าวัดศรีโพธิ์ชัยร่วมทำบุญตักบาตรถนนสายวัฒนธรรมบริเวณหน้าวัดศรีโพธิ์ชัย

กิจกรรมข้าวใหม่ปลามัน เรียนรู้ความหลากหลายทางธรรมชาติ หาผัก หาปลา แปรรูปอาหาร เมนูเด็ดของชุมชน บริเวณด้านหน้าวัดศรีโพธิ์ชัยร่วมทำบุญตักบาตรถนนสายวัฒนธรรมบริเวณหน้าวัดศรีโพธิ์ชัยสวนวิมานดิน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนวิมานดินเกษตรอินทรีย์เลขที่ 28 หมู่ที่ 3 ถนน ตำบลปลาค้าว อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดกู่ประภาชัย จังหวัดขอนแก่น

เป็นชุมชนเกษตรกรรม เนื่องจากมีคลองชลประทาน (หนองหวาย) ไหลผ่าน โดยจากประวัติความเป็นมา ได้มีกลุ่มพรานพ่อใหญ่ ๕ บรรพบุรุษ เห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความคิดตั้งรกรากในบริเวณนี้ ปัจจุบันมีครัวเรือนรวมทั้งสิ้น ๑๕๘ ครัวเรือน และประชากรรวมทั้งสิ้น ๙๘๙ คน

ความโดดเด่นของชุมชนคุณธรรมฯ วัดกู่ประภาชัย คือ มีโบราณสถานกู่ประภาชัย การพัฒนาความพร้อมของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงอาหาร ของฝากและสินค้าจากชุมชน (เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจ  

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

กู่ประภาชัย
เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะแผนผังเป็นอโรคยาศาล ได้ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านนาคำน้อย เป็นสถาปัตยกรรมของขอม ศิลปะแบบบายน ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในปีพุทธศักราชที่ ๑๘ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
– เรียกว่า “บาราย” ตั้งอยู่ภายในวัดกู่ประภาชัย เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๑.๙ เมตร ผนังขอบสระทั้ง ๔ ด้าน เรียงด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลงไปบรรจบพื้นสระ ส่วนพื้นสระเป็นดินธรรมชาติที่มีตาน้ำซึมจากธรรมชาติตลอดทั้งปี
– ที่ผ่านมาเคยมีการอัญเชิญน้ำจากสระไปใช้สำหรับพระราชพิธีสำคัญถึง ๔ ครั้ง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน
– ผู้นำชุมชนและชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมา เพื่อต้องการเก็บรักษาวัตถุโบราณคู่บ้านคู่เมือง ให้อยู่ในสถานที่เดิม และชาวบ้านจะมีความผูกพันกับกู่ประภาชัยแห่งนี้เป็นอย่างมาก

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ฝาย หนองหวาย
– เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่เที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน โดยนักท่องเที่ยวจะเดินทางพาครอบครัว เพื่อนสนิท พักผ่อนรับประทานอาหาร และเล่นน้ำคลายร้อนที่บริเวณแห่งนี้ เนื่องจากมีน้ำใสไหลเย็น ผ่านโขดหินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ
ที่บ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ มีการเลี้ยงจิ้งหรีดประมาณ ๖๕ ครัวเรือน จิ้งหรีดที่เลี้ยงมี ๒ ชนิด คือ จิ้งหรีดทองดำและจิ้งหรีดแดงทองลาย (สะดิ้ง) ตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ นายเพ็ชร วงค์ธรรม ยินดีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรและผู้สนใจทุกท่าน โทร ๐๘ ๑๐๖๐ ๙๑๘๖

กิจกรรมการท่องเที่ยว

สรงน้ำกู่ประภาชัย
กู่ประภาชัย – ถือเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยจะนำน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในบริเวณเดียวกันกับกู่ประภาชัย มาทำพิธีขอขมาและรดสรงกู่ โดยเชื่อว่าใครที่ได้สรงน้ำขอพรจากกู่ประภาชัย จะมีชัยชนะเหนือสิ่งไม่ดีทั้งปวง นำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ชีวิต

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม