ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองบัว จังหวัดสุรินทร์

บ้านหนองบัว มีหนองน้ำขนาดใหญ่มี เนื้อที่จำนวน 24 ไร่ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านในหนองน้ำมีบัวหลวงขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองบัว” สภาพหมู่บ้านถนนเป็นทางเกวียนถนนดิน เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2498 ประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว

บ้านหนองบัว เป็นชุมชนชาวส่วย หรือ กูย หรือ กวย ชาวกูยมีภาษาพูดเป็นของตนเอง จัดอยู่กลุ่มภาษาตระกูลมอญ เขมร ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง สถานที่ตั้งชุมชน เดิมชื่อ “วังทะลุ”เป็นบริเวณที่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชีมาบรรจบกัน มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ และมีทำเลเหมาะ ในการทำการเกษตร ชาวกวยมีความเชี่ยวชาญในการ “คล้องช้าง”มีวิถีชีวิตผูกพันกับช้าง  ประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรม จึงมีช้างเข้ามาเกี่ยวข้องในทุก ๆ กิจกรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดป่าอาเจียง
ศาสนสถานที่ร่วมอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวกวยเลี้ยงช้าง

ศูนย์คชศึกษา
ศูนย์คชศึกษา หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ เป็นศูนย์รวมของสมาชิกช้างทั้งในบ้านกะโพ ตากลาง และจากหมูบ้านอื่น ๆ ในจังหวัดสุรินทร์มากกว่า 200 ตัว 

คชอาณาจักร
คชอาณาจักร ก่อสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือช้างเร่ร่อนที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน พระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดให้มีการดูแลและอนุรักษ์พันธุ์ช้างไทยเนื่องจากช้างเป็นสัตว์สำคัญ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

วังทะลุ
เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำมูล กับ ลำน้ำชี ในเขตพื้นที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และเป็นจุดที่สำคัญในการชมช้างอาบน้ำของนักท่องเที่ยว

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ทุ่งนารอบชุมชน
ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านหนองบัว เนื่องจากมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับช้าง ชาวบ้านจะใช้พื้นที่ในการปลูกหญ้า  ให้ช้าง นอกจากนี้ชาวบ้านจะมีอาชีพทำนา เสริมด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเน้นการปลูกผัก สวนครัว รั่วกินได้ เป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในแต่ละครัวเรือน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้าน (คาว/หวาน)
บุญเหลือโฮมสเตย์ เป็นโฮมสเตย์ในบ้านหนองบัว สามารถทำกิจกรรม ได้ดังนี้
1. ร่วมกิจกรรมทำอาหารและขนมพื้นบ้าน
2. ให้อาหารช้างบุญเหลือ
3. ตักบาตรร่วมกับช้างแสนรู้

งานประดิษฐ์ /งานฝีมือ
โฮมสเตย์ : โฮมวรรณา เป็นโฮมสเตย์ในบ้านหนองบัว สามารถทำกิจกรรม ได้ดังนี้
 -ร่วมกิจกรรมทำผลิตภัณฑ์จากหางช้าง

เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมกับช้าง
วัดป่าอาเจียง วัดป่าอาเจียง เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง ตลอดทั้งช้างกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
1. สุสานช้างหนึ่งเดียวในโลก
2. ศาลประกำ
3. ศาลาเอราวัณ
4. พิพิธภัณฑ์ชาวกวย
5. เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อไว้สำหรับทอผ้า
6. การผลิตกระดาษสาจากขี้ช้าง
7. การทำกระถางจากขี้ช้าง

การชมความงดงามทางธรรมชาติ
สระหนองบัว สามารถร่วมกิจกรรมดังนี้
1. กิจกรรมถ่ายภาพกับช้าง ณ ต้นก้ามปูริมสระหนองบัว
2.นั่งช้างชมเส้นทางธรรมชาติชมวิวป่าทาม  ลามแม่น้ำชี – มูล

ปั่นจักรยาน
บริเวณชุมชนบ้านหนองบัว ชมวิถีชีวิตคนกับช้างในชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านหนองบัว จังหวัด น่าน

ความงามของวิถีชาวไทลื้อแห่งบ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2365 หรือประมาณ 180 ปี โดยสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อแคว้น สิบสองปันนา ในปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีของตนเองไว้อย่างมั่นคง ปัจจุบันบ้านหนองบัวเป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ เป็นที่รู้จักของคนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยภาษาพูด ที่เป็นเอกลักษณ์ การดำเนินชีวิตตามวิถีชาวไทลื้อ การแต่งกาย รวมถึงชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการสัมผัสวิถีไทลื้อของคนในชุมชน
หมู่บ้านหนองบัวเป็นหมู่บ้านที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนานสาธารณรัฐประชาชนจีน มีภาษาท้องถิ่นที่ใช้สื่อสารกันในพื้นที่ คือ ภาษา “ไทลื้อ” หมู่บ้านหนองบัวแห่งนี้มีวัดหนองบัว ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ ภายในวัดมีวิหารที่สวยงาม วิหารแห่งนี้ นับเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อที่สวยงามทรงคุณค่าทางศิลปะและหาดูได้ยากในปัจจุบัน ภายในวัดยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยช่างเขียนได้เขียนออกมาเป็นนิยาย เพื่อเป็นคติสอนใจแก่อนุชนรุ่นหลังโดยตั้งชื่อเรื่องว่า “จันทรคราส” นับว่าเป็นจิตรกรรมที่งดงามทรงคุณค่าทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดหนองบัว
วัดหนองบัว เป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา อยู่ท่ามกลางหมู่บ้านไทลื้อ มีสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมชิ้นเอกของเมืองน่าน วัดหนองบัวเป็นอาคารที่ทรงคุณค่า ในแง่สถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่สวยงาม และหาชมได้ยาก จากคำบอกเล่า กล่าวว่า วัดนี้สร้างขึ้น ในราว พ.ศ.2405 (สมัยรัชกาลที่ 4) โดยท่านสุนันต๊ะ (ครูบาหลวง)ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องในปัญญาสชาดกซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐาน ว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน”

เฮือนไทลื้อวัดหนองบัว
เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชาวไทลื้อบ้านหนองบัวในอดีตที่จัดแสดงการจำลองวิถีชีวิต การทอผ้าไทลื้อ เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวไทลื้อในอดีตการอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อจากสิบสองพันนา การตั้งถิ่นฐานของชาวไทลื้อบ้านหนองบัวในอดีตจนถึงปัจจุบัน

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านหนองบัวการทำไกยี
การพัฒนาพืชธรรมชาติ (สาหร่ายไก) ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่ม เริ่มจากการสืบทอดวิธีการถนอมอาหารของบรรพบุรุษ โดยนำสาหร่ายไก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่มากมายภายในหมู่บ้านมาแปรรูปเป็นไกยีแล้วนำมาขาย และมีหน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้ามาให้ความรู้ในด้านการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการแปรรูปสาหร่ายไก ให้เป็นสาหร่ายแผ่นกรอบ โดยนำสาหร่ายไกที่ตากแห้งปรุงรสด้วยเกลือ กระเทียม มาทอดให้กรอบ

 แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนเกษตรผักปลอดสารพิษชุมชนบ้านหนองบัว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

วันเดียวแอ่วม่วน ๆ กับไทลื้อ

วันเดียวแอ่วม่วน ๆ กับไทลื้อ
• กราบไหว้พระประธานวิหารวัดหนองบัว
• ชื่นชมภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวจากนักเล่าเรื่องของชุมชนบ้านหนองบัว
• ฟังการเล่าประวัติความเป็นมาของบ้านหนองบัวจากนักเล่าเรื่องของชุมชนบ้านหนองบัว
• ชมการฟ้อนไทลื้อและการเล่นดนตรีพื้นบ้านของกลุ่มฟ้อนและกลุ่มดนตรีพื้นบ้าน
(สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในการฝึกทางกลุ่มมีการฝึกสอน)
• ศึกษาศูนย์เรียนรู้(เฮือนไทลื้อมะเก่า) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ
• ถ่ายรูปกับ Land mark ของวัดหนองบัว
• เยี่ยมชมและศึกษากรรมวิธีการแปรรูปสาหร่ายไกและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
• เยี่ยมชมการทำไม้กวาดและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์
เที่ยว 1 วัน ๓๐๐ บาท/คน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม