ปราสาทปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ตั้ง บ้านกู่ หมู่ที่ ๑ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๑. ปราสาทปรางค์กู่ คำว่า “ปรางค์กู่” หรือที่ภาษากูย เรียกว่า “เถียด เซาะโก” เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูประจำชุมชน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย ปรางค์กู่ ประกอบด้วยปราสาท 3 หลัง เรียงตัวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเดียวกัน ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพิ่มมุมเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเพื่อสอดรับกับบันไดทางขึ้น ปราสาททั้ง 3 หลัง ก่อสร้างด้วยศิลาแลง อิฐ และหินทราย มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปตัวยู (U) อายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 รูปแบบศิลปะเขมรแบบนครวัด
ความสำคัญกับชุมชน : ชาวชุมชนมีความเชื่อว่าเป็นสถานที่แห่งความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆปี ชาวอำเภอปรางค์กู่ร่วมกับชุมชนคุณธรรมวัดบ้านกู่จะมีการจัดพิธีบวงสรวงไหว้ปราสาทและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า “ประเพณีหวัวบุญเบิกฟ้า” เพื่อความเป็นสิริมงคล มีการแสดง แสง สี เสียง ละครอิงประวัติศาสตร์อารยธรรมชนเผ่าชาวกูย อีกด้วย
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
– นายทะนงศักดิ์ นรดี กำนันตำบลกู่ เบอร์โทร ๐๖ ๔๔๐๒ ๐๕๙๔
– คุณธนากร พรมลิ ผู้ประสานงานการท่องเที่ยวชุมชนบ้านกู่
เบอร์โทร ๐๘ ๕๒๐๑ ๒๙๑๔
๕.ช่องทางออนไลน์
– เพจ Facebook : “ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมชาวกูยบ้านกู่”
– เพจ Facebook : “ผ้าไหม ชาวกูย บ้านกู่”
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก / ห้องน้ำ / ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ปรางค์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด

ที่ตั้ง ต.มะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
๑.ปรางค์กู่ เป็นปราสาทขอม ตั้งอยู่ที่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกับอาคารที่เชื่อกันว่าคืออโรคยาศาล ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพง พร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ ๓ ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว เป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูก ดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้นกำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในพ.ศ. ๒๕๓๔ กรมศิลปากรได้บูรณะ และประกาศขึ้นทะเบียนปรางค์กู่เป็นโบราณสถานวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ ทุกวัน ๐๘.๐๐ น. -๑๘.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ๐๖ ๒๕๙๒ ๖๐๒๙
๕.ช่องทางออนไลน์ เฟสบุค พลังบวรบ้านปรางค์กู่
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม