วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้) จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง หมู่ ๒ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
 ๑. วัดช้างให้ ประวัติความเป็นมา และความสำคัญ
คือ ช่วงระยะเวลาที่สิ้นสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดไปแล้วนั้นไม่มีตำนานและบันทึกรายนามเจ้าอาวาสและเมื่อเข้าถึงยุคสมัยปัจจุบันตั้งแต่พระช่วง เข้ามาแผ้วถางในพศ 2480 นั้นสถานที่แห่งนี้เป็นเพียงป่ารกร้างมีต้นไม้ใหญ่อยู่หลายต้นปัจจุบันก็ไม่มีให้เห็นแล้วคงมีแต่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่บริเวณด้านข้างของศาลาการเปรียญซึ่งชาวบ้านในบริเวณนี้บอกว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ประจำวัดต้นหนึ่งที่เหลือให้เห็นและวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นคนสร้างครั้งแรกนั้นก็ยังหาหลักฐานที่แน่นอนไม่ได้แต่พอจะจับเขาความได้ตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีและเรื่องอื่นๆได้บ้างตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีนั้นพระศรีบุรีรัตน์พิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา) ได้รวบรวมไว้ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า “สมัยนั้นพระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรีปรารถนาจะหาที่ชัยภูมิที่ดีสร้างเมืองให้เจ๊ะสิตีผู้ซึ่งเป็น) น้องสาวครอบครองเมื่อโหรหาฤกษ์ยามได้เวลาท่านเจ้าเมืองก็เสียงสัตย์อธิษฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดินป่าหรือเรียกว่าช้างอุปการ เพื่อหาชัยภูมิดีสร้างเมืองท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวันวันหนึ่งชั่งได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง (ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น 3 ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตรที่ดีที่จะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่พอใจพี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างเดินหาที่ใหม่ต่อไปช้างได้เดินรอนแรมอีกหลายวันเวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวารทั้งน้องสาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่นบังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่งวิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากได้กระจงตัวขาวตัวนั้นจึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับกระจงกระจงได้วิ่งวกไปวนมาบนเนินทรายขาวสะอาดริมทะเล (ที่ตำบลกรือเซะเวลานี้) ทันใดนั้นกระจงก็หายไปนางเจ๊ะสิตีรู้สึกชอบที่ตรงนี้มากจึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาวและมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้วก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเมืองปัตตานี (ปัตตานี) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรกก็รู้สึกเสียดายสถานที่จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่าและปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า วัดช้างให้มาจนบัดนี้
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น.- ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ไม่มี
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๗๓๓๔ ๙๐๐๒
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook,Youtube (วัดช้างให้)ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านบุหงาตานี จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง ๕๕/๑๑ ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
 ๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
ร้านบุหงาตานีเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองที่น่าสนใจมากมายของจังหวัดปัตตานี เช่น ปลาหมึกแห้ง น้ำบูดู ข้าวเกรียบปลา ลูกหยีกวนเครื่องทองเหลือง ผ้าปาเต๊ะ เป็นต้น
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับหรือตกแต่ง)
ปลาหมึกแห้ง ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานีมาจากอำเภอปะนาเระ เป็นปลาหมึกตัวโตขาวใส รสชาติดี ไม่เค็มจัด น้ำบูดู ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำข้าวยำ อันเป็นอาหารพื้นเมืองภาคใต้ หากมาจากอำเภอสายบุรีแล้วถือว่าเป็นน้ำบูดูที่ดีมาก อร่อยและเก็บไว้ได้นาน
ข้าวเกรียบปลา เป็นของพื้นเมืองที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของอำเภอสายบุรี อร่อยไม่แพ้ข้าวเกรียบกุ้ง และไม่คาว ลูกหยีกวน เป็นลูกหยีกวนชนิดไม่มีเมล็ด ทำเป็นห่อขนาดเท่ากับหัวแม่มือ รสกลมกล่อม เปรี้ยว หวาน เค็ม กำลังดี และมีรสเผ็ดนิด ๆ กันเลี่ยน
๓.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
เปิดทุกวันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๙.๐๐ น.
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 6955 0948
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.facebook.com/ร้านบุหงาตานี-100466487236438/

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

มัสยิดกลางปัตตานี

ที่ตั้ง ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
๑.มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนผสมผสาน หรือย่านเศรษฐกิจใหม่ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตั้งแต่ตลาดเทศวิวัฒน์ ๑ จนถึงย่านชุมชนมุสลิม (บริเวณมัสยิดกลางปัตตานี) ชุมชนนี้ตั้งอยู่ในเขต ตําบลจะบังติกอ เชื่อมต่อกับ ชุมชนวังเก่า เป็นพื้นที่พัฒนาใหม่ โดยมีมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เป็นสถานที่สําคัญทางศาสนาอิสลาม บริเวณชุมชนแห่งนี้มี ที่อยู่อาศัยของประชาชนทั้งที่นับถือศาสนาอิสลาม และศาสนาพุทธ มีตลาดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนอยู่บริเวณตรงข้าม มัสยิดกลาง และเป็นย่านธุรกิจการค้าตามเส้นทางถนนยะรัง ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังตําบลตะลุโบะ และเป็นเส้นทางไปยังจังหวัด ยะลา ซึ่งเป็นเส้นทางสายเดิม (ก่อนที่จะมีการสร้างเส้นทางเส้นเลี่ยงเมืองสี่เลนเพื่อเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดปัตตานี กับ เส้นทางไปยังจังหวัดยะลา นราธิวาส และสงขลา ที่ใช:กันอยู่ในปัจจุบัน) ที่เชื่อมต่อตัวเมืองปัตตานี กับเส้นทางที่จะเดินทางไปยังจังหวัดยะลา ถนนยะรัง เป็นถนนสายแรกที่จะนำพาไปยังจุดสําคัญ ๆ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ปัจจุบันมัสยิดกลางปัตตานีได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจสําคัญ คือการละหมาดวันละ ๕ เวลา เป็นกิจวัตรประจําวัน และใช้ในการละหมาดในวันศุกร์รวมถึงการละหมาดในวันตรุษต่าง ๆ ซึ่งมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานีรวมถึงชาว มุสลิมที่มาจากพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศมาเข้าร่วมเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์ จะมีการบรรยายธรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า ๓,๐๐๐ คน อันเป็นการเพิ่มพูนความรู้สร้างความเข้าใจในหลักการของศาสนา และเพื่อความถูกต้องในการบําเพ็ญศาสนกิจ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
๐๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ไม่มี
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๙๖๕๔ ๙๔๙๖
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.pattanicity.go.th/travel_activity/detail/30/data.html
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โรงแรมซีเอสปัตตานี จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง ๒๙๙ ถนนหนองจิกตำบล รูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
๑.ประเภทของที่พัก – โรงแรม
๒.จำนวนห้อง ๑๒๕ ห้อง
๓.ประเภทห้องพัก/ราคา -Sweet ๕,๕๐๐ บาท /๑-๒ ท่าน รวมอาหารเช้า
-Deluxe ๑,๕๐๐ บาท /๑-๒ ท่าน รวมอาหารเช้า
-Suit ๒,๕๐๐ บาท /๑-๒ ท่าน รวมอาหารเช้า
-Junior Sweet ๓,๕๐๐ บาท /๑-๒ ท่าน รวมอาหารเช้า
๔.สิ่งอำนวยความสะดวก/กิจกรรมพิเศษ
โรงแรม ซี. เอส.ปัตตานี ตกแต่งอย่างพิถีพิถัน และวิจิตรบรรจง อาคารสูง 9 ชั้น ห้องพักหรูหรา กว้างขวาง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสบายครบครัน บริการด้วยห้องพักออกแบบพิเศษ ห้องอาหาร ห้องฟิตเนส สระว่ายน้ำ ซาวน่า สตรีม แอโรบิค
นอกจากนี้ทางโรงแรมยังมีบริการชมพิพิธภัณฑ์ เครื่องจักรสานย่านลิเภา” และ “เครื่องถมทอง” (MUSEUM OF FERN VINE BASKETRY AND NIELLOWARE) สัมผัสศิลปหัตถกรรมอันวิจิตรบรรจงที่ชมได้ยากยิ่ง โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี ตระหนักถึงคุณค่าแห่งการสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยอันวิจิตรงดงาม เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ และสัมผัสหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.
๕.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๗ ๓๓๓๖ ๐๙๐๖ โทรสาร. ๐ ๗๓๓๓ ๑๖๒๐
๖.ช่องทางออนไลน์
รายละเอียดห้องพักและบริการต่าง ๆ
http://www.cspattanihotel.com/
E-mail:info@cspattanihotel.com

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ร้านอาหาร BARAZAAZ BAZAAZ และกิจกรรมทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้ของกลุ่ม Barahom Bazaar (CPOT)

1. ทานอาหารพื้นบ้าน “นาสิอิแดกำปง” เปิบด้วยมือ “นาสิอีแดกําปง” เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดปัตตานี นิยมกินกับแกงเหลืองกะทิ ปลาทอด น้ำพริก บูดูและผัก ลวกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถหากินได้ง่ายในชุมชน และทางผู้ปะกอบการตองการให้กินบนใบตองแทนการใช้จานถ้วยและเปิบ ด้วยมือแทนการกินด้วยช้อนส้อม เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน “นาสิอีแดกําปง” จัดราคาเซ็ทตั้งโต๊ะอยู่ที่หัวละ ๙๙ บาท เป็นบุฟเฟต์สามารถเติม กับข้าว ผักลวก ไม้อั้น (ยกเว้นปลาทอด)
2. ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกจากบล็อกไม้ลายเครื่องชามถ้วยโบราณ (CPOT) อาทิ
กระเป๋า ผ้าผืน หน้ากากอนามัย ผ้าพันหัว ฯลฯ แบรน Barahom Bazaar โดยการนําสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทําผ้าบาติกด้วยบล็อคไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหมมาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง

๑. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เสน่ห์ของชุมชนท่องเที่ยวบางปู ช่วงเช้าขึ้นเรือลอดอุโมงค์โกงกางและดูวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน รับประทานอาหารทะเลสด ๆ จากชาวประมงพื้นบ้านช่วงเย็นได้ดูนกกลับเข้ารัง เช้าๆ นกจะออกไปหากิน เย็นๆ ก็จะกลับมา จำนวน 10,000 กว่าตัวที่กลับมาเข้ารัง ช่วงกลางคืนดูหิ่งห้อยจำนวนนับล้าน ๆ ตัวที่เกาะอยู่ตามใบของต้นลำพู หิ่งห้อยจะมีตั้งแต่เดือน พฤษภาคม-ตุลาคม จุดไฮไลท์อีกจุดของชุมชน คือ สะพานไม้สายรุ้ง และอนุสาวรีย์ปู
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เวลา 08.30-18.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ไม่มี)
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
ลอดอุโมงค์ นวดฝ่าเท้าบนรากโกงกาง หาหอยกัน(ลอแก) ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน จับกุ้งด้วยมือเปล่า นั่งเรือชมอาทิตย์อัสดงยามเย็น ชมนกบินกลับรัง ค่ำคืนล่องเรือชมหิ่งห้อย
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
– มูฮำหมัดซูการดี สาเหาะ โทร 08 1805 8761
-เจะสตอปา เจะมะ โทร 08 1388 3046
๗.ช่องทางออนไลน์
– Facebook: Kandee
-Facebook page :ชุมชนท่องเที่ยวบาลาดูวอ
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ลานจอดรถ ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหม จังหวัดปัตตานี

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณสถานที่เก่าแก่ร่วม ๕๐๐ ปี ในยุคที่สมัยที่ปัตตานีเป็นเมืองท่าที่รุ่งเรือง มีชาวต่างชาติทั้งอาหรับ เปอร์เซีย ยุโรป เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ปรากฏได้จากโบราณวัตถุจำพวกเศษเครื่องถ้วยจีน อยุธยา และนานาประเทศ เป็นจุดสนใจของประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่อยากเข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศึกษาร่องรอยอารยธรรม

ชุมชนคุณธรรมมัสยิดบาราโหมมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพที่ดี ด้านสถานที่สะอาด สวย และร่มรื่น  ชุมชนมีภูมิทัศน์สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สุสานพญาอินทิรา พระองค์สืบราชวงค์ โกตามัหลิฆัย แห่งราชอาณาจักรลังกาสุกะ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

สุสานพญาอินทิรา หรือสุสานสุลต่าน อิสมาอีล ซาห์ เป็นสถานที่ฝั่งพระศพของพญาอินทรา หรือสุลต่าน อิสมาอิล ซาห์ เจ้าเมืองปัตตานีองค์แรกที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นเจ้าเมืองปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๔๓ – ๒๐๗๓ ได้ทรงสถาปนาเมืองปัตตานีเป็นนครปัตตานีดารุลสลาม และพัฒนาบ้านเมืองปัตตานีให้เข้มแข็ง มีการหล่อปืนใหญ่ขึ้นเป็นครั้งแรก  เพื่อใช้ในการป้องกันเมืองตามแบบฉบับของเมืองขนาดใหญ่ในยุคนั้น ในสมัยของพระองค์ เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปกว้างไกล ทั้งการเป็นศูนย์กลางการค้าและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม มีพ่อค้าชาติต่าง ๆ เข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ สุลต่านอิสมาอิล ซาห์ สิ้นพระชนในปี พ.ศ.๒๐๗๓ พระศพของพระองค์ถูกฝั่งไว้ในสุสานแห่งนี้คู่กับพระศพชายาของพระองค์ จุดเด่นของสุสานคือแนแซ หินเหนือหลุมฝั่งศพที่สร้างด้วยหินทรายสลักลวดลายที่ประดับไว้อย่างสวยงาม

สุสานราชินีสามพี่น้อง (รายาฮีเยา) เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าเมืองปัตตานี ๓ พระองค์ ได้แก่ รายาฮีเยา (พ.ศ.๒๑๒๗ – ๒๑๒๙) รายาบีรู (พ.ศ.๒๑๕๙ – ๒๑๖๗) และรายาอูงู (พ.ศ.๒๑๖๗ – ๒๑๗๘) ทั้งสามเป็นธิดาของสุลต่านมันศูร ชาห์ หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ โอรสของพระองค์มีนามว่า ปาฮาดูร์ชาห์ ขึ้นครองราชย์แต่ไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์โดยไม่มีโอรสสืบทายาท ธิดาทั้งสามของสุลต่านมันศูร ชาห์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองปัตตานีต่อเนื่องกันถึง ๓ พระองค์

แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้กระต่ายขูดมะพร้าว การแกะสลักกระต่ายขูดมะพร้าวจากไม้เนื้ออ่อนให้มีลวดลายมลายูจนเป็นที่โด่งดังทำให้มีคนจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น มาดูงานศิลปหัตถกรรมที่คุณตาอาลีได้ตั้งใจสร้างขึ้นมา และมีคนสนใจซื้องานแกะสลักของท่านไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมในที่ต่าง ๆ หรือตั้งไว้เป็นเครื่องประดับบ้าน

กิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง เป็นกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวประมงเรือเล็ก แล้วล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง และวัดดวงกับกิจกรรมการหาเศษกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ สามารถซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวและลงเรือได้ที่ Barahom Bazaar

ท่าเสด็จ เป็นจุด check in ชมฝูงนกและจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกยามเย็น

กิจกรรมการทำผ้าบาติกด้วยบล็อกไม้ เป็นกิจกรรมทำผ้าบาติกด้วยบล็อกไม้ของกลุ่ม Barahom Bazaar

ภูมิปัญญาว่าวบูลัน ว่าววงเดือน หรือเรียกว่า“วาบูแลหรือวาบูลัน” บูลันแปลว่าดวงจันทร์ เป็นว่าวที่มีรูปดวงเดือนเป็นส่วนประกอบอยู่ตรงกลางลำตัว ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ปีก เขา (คล้ายเขาควาย) และดวงเดือนซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปีกและเขาและตอนกลางของลำตัว ว่าววงเดือน มี ๒ แบบคือ แบบมีแอก และแบบไม่มีแอก ความเป็นมาของว่าวบางคนบอกว่าว่าวมาจากประเทศมาเลเซีย และบางคนบอกว่ามาจากจังหวัดปัตตานี จึงสรุปไม่ได้ว่าว่าวมาจากที่ไหน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

กลุ่มเพาะเลี้ยงปูดำ เป็นกิจกรรมการรวมกลุ่มของชาวประมงพื้นบ้านเล็ก ใช้เวลาว่างจากการทำประมง มาเพาะเลี้ยงอนุบาลปูดำ เพื่อปล่อยลงสู่ทะเล สร้างรายได้  สู่ชุมชน และส่งผลทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อไป

อุโมงค์ป่าโกงกาง เป็นจุดที่มีป่าโกงกางอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของตำบลบาราโหม มีลักษณะของโกงกางโค้งบรรจบกัน เลยเรียกว่า อุโมงค์ป่าโกงกาง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง เป็นศูนย์การเรียนเกษตรพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมการท่องเที่ยว

กิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการ ทดลอง สาธิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพของอาหารพื้นบ้านสู่การเพิ่มมูลค่าและการต่อยอด ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติการ ทดลอง สาธิต เพื่อการพัฒนาคุณภาพของอาหารพื้นบ้านสู่การเพิ่มมูลค่าและการต่อยอด ผ่านตัวแทนผู้หญิง ปราชญ์ ผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้านชายแดนใต้ ในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ ภายใต้โครงการ : อาหารพื้นบ้านชายแดนใต้ : วิถีแห่งความเชื่อภูมิปัญญาและบทบาทของผู้หญิงในการมีส่วนร่วมเพื่อสืบสานมรดกวัฒนธรรม

กิจกรรมล่องเรือชมวิถีชีวิตรอบอ่าวปัตตานีและชมอุโมงค์ป่าโกงกาง Barahom Bazaar เป็นกิจกรรมล่องเรือชมวิถีชิตชาวประมงเรือเล็ก แล้วล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง และวัดดวงกับกิจกรรมการหาเศษกระเบื้องเครื่องถ้วยชามโบราณ สามารถซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวและลงเรือได้ที่ Barahom Bazaar

การทานอาหารพื้นบ้าน “นาสิอิแดกำปง” เปิบด้วยมือ Barahom Bazaar “นาสิอีแดกําปง” เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวัดปัตตานี นิยมกินกับแกงเหลืองกะทิ ปลาทอด น้ำพริก บูดูและผักลวกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถหากินได้ง่ายในชุมชน และทางผู้ปะกอบการต้องการให้กินบนใบตอง แทนการใช้จาน ถ้วย และเปิบด้วยมือแทนการกินด้วยช้อนส้อม เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกิน สําหรับที่เดินทางไปลิ้มลองต้องกลับมาอุดหนุนและกินกันอีกครั้ง “นาสิอีแดกําปง” ซึ่งทางร้าน BARAZAAZ BAZAAZ จัดราคาเซตตั้งโต๊ะอยู่ที่หัวละ ๙๙ บาท เป็นบุฟเฟต์สามารถเติม กับข้าว ผักลวก ไม้อั้น (ยกเว้นปลาทอด)

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม