ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร นราธิวาส

๑.ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรภายใต้โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส รับผิดชอบงานทางด้านป่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่
ป่าพรุโต๊ะแดง ทั้งหมด 125,625 ไร่ ได้ดำเนินการตั้งปี 2533 โดยกรมป่าไม้ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่พรุที่จะดำเนินการจัดตั้งสำนักงานบริเวณคลองโต๊ะแดง ท้องที่บ้านโต๊ะแดง ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นสถานที่สำหรับศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ และความเพลิดเพลิน ในความหลากหลายของทรัพยากรป่าพรุธรรมชาติของประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า“ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” และในปี 2534 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาคัดเลือกให้ศูนย์แห่งนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมมายุ 36 พรรษา และต่อมาในปี 2535 ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตใช้ชื่อว่า “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 08.00 น. – 16.00 น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ของทุกปี
๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
– นิทรรศการให้ความรู้
– เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 1,200 เมตร
6. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 7320 6119
7. ช่องทางออนไลน์ –
8. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส

ที่ตั้ง บ้านโต๊ะแดง หมู่ที่ 5 ถนนสุไหงโกลก-ตากใบ ตำบลปุโย๊ะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
 ๑.ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรภายใต้โครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส รับผิดชอบงานทางด้านป่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง ทั้งหมด ๑๒๕,๖๒๕ ไร่ ได้ดำเนินการตั้งปี ๒๕๓๓ โดยกรมป่าไม้ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่พรุที่จะดำเนินการจัดตั้งสำนักงานบริเวณคลองโต๊ะแดง ท้องที่บ้านโต๊ะแดง ตำบลปูโย๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นสถานที่สำหรับศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ และความเพลิดเพลิน ในความหลากหลายของทรัพยากรป่าพรุธรรมชาติของประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อ“ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร” และในปี ๒๕๓๔ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาคัดเลือกให้ศูนย์แห่งนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมมายุ ๓๖ พรรษา และต่อมาในปี ๒๕๓๕ ศูนย์ฯ แห่งนี้ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตใช้ชื่อว่า “ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร”
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน ของทุกปี ๔. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่-น่าสนใจ
– นิทรรศการให้ความรู้
– เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 1,200 เมตร
๖. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 7320 6119
๗. ช่องทางออนไลน์ –
๘. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่อง เที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม