วัดอัมพวัน จังหวัดตาก

ที่ตั้งตำบล ป่ามะม่วง อำเภอ เมืองตาก จังหวัดตาก
๑.วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง เมืองตาก เป็นศาสนสถานที่มีความร่มรื่นของสวนมะม่วง วัดอัมพวัน แปลเป็นภาษาไทยว่า“สวนมะม่วง” วัดอัมพวันก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๗๕ และยังได้เข้าร่วมเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบฯวัดอัมพวัน ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก มีสภาพสังคมแบบชนบททั่วไป ลักษณะการตั้งบ้านเรือนจะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงและลำห้วยแม่ท้อ มีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน และวัฒนธรรมอันดีงามตามแนววิถีชาวพุทธดำรงมั่นในพระพุทธศาสนาและสืบทอดวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นมาโดยตลอด ชาวบ้านอยู่ร่วมกันแบบญาติพี่น้อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตด้วยความสามัคคี เป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต มีคุณธรรม ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ -๑๘.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๕ ๕๕๕ ๘๑๔๗
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎ์ (วัดเมือง พระอารามหลวง) จังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้ง ๑๕๖ ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

๑. ความสำคัญ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์หรือวัดเมืองเป็นโบราณสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างขึ้นเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองของฉะเชิงเทราใน พ.ศ. 2377 พร้อม ๆ กับการสร้างป้อมและกำแพงเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตของแปดริ้ว เป็นปราการรักษาพระนคร และชาวบ้านชาวเมืองให้ปลอดภัยจากข้าศึกศัตรูโดยช่างฝีมือจากเมืองหลวงมีรูปแบบสถาปัตยกรรม ใกล้เคียงกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่กรุงเทพมหานคร ต่างกันที่รายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น นอกจากนี้ชาวบ้านที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ทำให้มีการสร้างวัดขึ้นมาด้วย เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองและเป็นที่พึ่งทางใจในยามสงคราม เนื่องจากวัดนี้ ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ” วัดเมือง ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา จึงได้พระราชทานนามวัดว่า ” วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ” ซึ่งมีความหมายว่า วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินสร้าง”
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
ทุกวัน เวลา 6.00–21.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไม่มี)
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม ๐ ๓๘๕๑ ๕๑๔๒
๕. ช่องทางออนไลน์ –
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ / ทางลาด / ที่จอดรถ 

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม