ร้านกัญยานี ผ้าพื้นเมือง จ.พะเยา

ที่ตั้ง ท๊อปพลาซ่า พะเยา ต. ท่าวังทอง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
๑.ร้านกัญยานี ผ้าพื้นเมือง เป็นร้านขายเสื้อผ้าพื้นเมือง โดยนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม “ พะเยารอเธอ “ ซึ่งเป็นกลุ่มเย็บผ้าพื้นเมืองและกระเป๋าด้นมือ ซึ่งกลุ่มมีความเข้มแข็ง ฝีมือการเย็บปักสวยงามและมีมาตรฐาน คงทนสวยงาม
๒.ประเภทของผลิตภัณฑ์ (อาทิ ของกิน ของใช้ เครื่องประดับ หรือตกแต่ง)
เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ของที่ระลึก
3.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของร้าน
ทุกวันเวลา เวลา 10.00 น – 21.00 น
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 4885 7270
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : เสื้อผ้าพื้นเมือง พะเยารอเธอ-กัญยานี ผ้าพื้นเมือง

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

กว๊านพะเยา

ที่ตั้ง ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา
๑.กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” เกิดขึ้นจากกรมประมงได้ทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาที่อยู่ปลายน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ หรือ (20.529 ตารางกิโลเมตร) เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วนทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยา และด้วยความสมบูรณ์ของพันธุ์ปลาที่กว๊านพะเยา ทำให้เป็นแหล่งที่ผลิตปลาส้มรายใหญ่และขึ้นชื่อ จนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยามีร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็น ที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดตลอดเวลา
๓.ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว (ช่วงเดือน)
ตลอดทั้งปี
๔.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๕. กิจกรรมพิเศษที่น่าสนใจ
เวียนเทียนกลางน้ำ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา
๖.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5443 1350
๗.ช่องทางออนไลน์ –
๘.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ทางลาด ที่จอดรถ จุดบริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองพะเยา จ.พะเยา

ที่ตั้ง ถนนดอนสนาม ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
๑.ศาลหลักเมือง คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมือง ซึ่งก่อนการสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น แต่เดิมพะเยา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย และได้รับการยกฐานะขึ้นมาเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง จึงได้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการก่อสร้าง จึงต้องย้ายสถานที่สร้างศาลหลักเมืองหลายครั้ง ผ่านมาเกือบ ๙ ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ ๒๕๒๘ ได้เริ่มการดำเนินการก่อสร้างศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยาอีกครั้ง โดยหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล เจ้าอาวาสวัด อนาลโยทิพยาราม ได้ย้ายสถานที่สร้างศาลหลักเมือง มาตั้งอยู่ที่ริมถนนท่ากว๊าน มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ซึ่งสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๐

ศาลหลักเมือง เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูเข้า-ออกทั้ง ๔ ด้าน หลังคาเป็นยอดปราสาท ลักษณะหลังคาซ้อนสองชั้นเสาหลักเมืองทำจากไม้มงคล ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูมผู้มากราบสักการะสามารถกราบไหว้ได้ทั้ง ๔ ทิศ

๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่

๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 5443 1350 (เทศบาลเมืองพะเยา)

๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : เทศบาลเมืองพะเยา
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ที่จอดรถ ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

โบราณสถานเวียงลอ จ.พะเยา

ที่ตั้ง ต.ลอ อ.จุน จ.พะเยา
๑.โบราณสถานเวียงลอเมืองโบราณในเขตล้านนาตั้งอยู่ในเขตตำบล ลอ และตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา มีแม่น้ำอิงไหลผ่านกลางเมือง ทำให้เวียงลอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือฝั่งเหนือของแม่น้ำอิง อยู่ในเขตตำบลหงส์หิน และฝั่งใต้อยู่ในเขตตำบลลอ จากคำเล่าผู้เฒ่าผู้แก่และตามหลักฐานต่างๆนั้น เชื่อว่าเวียงลอเป็นเมืองเดียวในเขตล้านนาที่ปรากฏหลักฐานแนวคันดินกั้นลำน้ำ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ในการทำระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่มีประโยชน์ด้านควบคุมน้ำ เพื่อใช้ในด้านการเกษตร และเพื่อป้องกันน้ำท่วม พื้นที่เกษตร รวมทั้งศาสนสถานต่างๆ และที่ตั้งบ้านเรือนของชุมชน ภายในเขตกำแพงเมืองพบวัดร้างมากกว่า 50วัด ตามวัดร้างจะพบพระพุทธรูปหินทรายและพระพุทธรูปทองสำริดจำนวนมากแต่ถูกทำลายไปเกือบหมด พบเศษภาชนะดินเผาทั้งวัฒนธรรมหริภุญไชยตอนปลาย และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา นำมาเก็บไว้ให้รุ่นหลังศึกษาต่อไปที่พิพิธภัณฑ์เวียงลอ วัดศรีปิงเมือง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดตลอดเวลา
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ระบุเครื่องหมาย /)
ไม่มี
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0-5444-7199 (เทศบาลตำบลลอ) ,086 414 6354
๕.ช่องทางออนไลน์
Facebook : ชุมชนท่องเที่ยวเวียงลอ จังหวัดพะเยา
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก (ระบุเครื่องหมาย /)
ห้องน้ำ ที่จอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมา จังหวัดพะเยา

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมา เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนา ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้ สิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้ชาวไทลื้อปฏิบัติตามจารีตเดิม คือการนับถือผีควบคู่กับพระพุทธศาสนามีการดำรงชีวิตอยู่กันอย่างสงบ เรียบง่าย และร่วมกันอนุรักษ์สืบสานวิถีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชาวไทลื้อเมืองมางให้คงอยู่  อาทิ การแต่งกายภาษา เป็นต้น 

ชุมชนคุณธรรมวัดแสนเมืองมาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ เป็นชุมชนไทลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนาที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ ใช้ภาษาไทลื้อเป็นภาษาสื่อสารในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ “แอ่วเฮือนลื้อ แต่งกายชุดลื้อ กินอาหารลื้อ และพูดภาษาลื้อ” ชุมชนมีนักเล่าเรื่องของชุมชนคอยต้อนรับให้ข้อมูลและบริการนำเที่ยวในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง โดยทุกวันพุธแรกของเดือนมีตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” ชิมอาหารไทลื้อ อาทิ จิ้นซ่ำพริก ปลาปิ้งอบ แอ่งแถะ ถั่วโอ่ (ถั่วเน่า) ชมการแสดงพื้นบ้าน การฟ้อนไทลื้อ การบรรเลงดนตรี “บ้านมางบันเทิงศิลป์” และมีของฝากจากชุมชน อาทิ ข้าวแคบ ข้าวแต๋นซี่ กะละแม ผ้าทอไทลื้อ และที่พักโฮมสเตย์ ในชุมชนไทลื้อใกล้เคียง เพื่อเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วิหารไทลื้อวัดแสนเมืองมา
สร้างตามแบบศิลปะไทลื้อผสมล้านนา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังคามุงแป้นเกล็ดไม้งดงาม หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเข้าเป็นรูปพญานาค ซึ่งมีเขากวางประดับด้วย ประตูด้านข้างทางเข้ามีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านบอกเล่าถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดแสนเมืองมา
เป็นพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทลื้อและชาวล้านนาในอดีตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น รวมทั้งอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด สร้างสรรค์ภายในพิพิธภัณฑ์แสดงเนื้อหา
แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
1. จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเสด็จทรงงานในพื้นที่จังหวัดพะเยา
2.จัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
3.เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสนเทศ สืบสาน ถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง”
ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” เป็นตลาดที่ให้คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว และมีการแสดงดนตรี ศิลปะการแสดงไทลื้อ ทุกวันพุธแรกของเดือน 

เฮือนไทลื้อเมืองมาง
เป็นอาคารเรือนไทลื้อจำลองของชาวไทลื้อเมืองมาง ในอดีตที่แสดงลักษณะและองค์ประกอบของการสร้างเรือนไทลื้อเมืองมางในสิบสองปันนา เพื่ออนุรักษ์ มรดกภูมิปัญญาการสร้างเรือนไทลื้อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปศึกษา  

หอเทวดาหลวงเมืองมาง
ชาวไทลื้อเมืองมางนับถือเทวดาหลวงเมืองมาง คือเจ้าเมืองที่ปกครอง เมืองมางใน อดีตซึ่งชาวเมืองมาง ให้ความเคารพยกย่อง และนับถือวิญญาณของเจ้าเมืองเหล่านั้นให้เป็นเทวดาผู้ดูแลความสงบร่มเย็น และถือเป็นต้นตระกูลของชาวเมืองมางทั้งหมด จะทำพิธีเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมาง ปีละ ๑ ครั้ง เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีของคนในชุมชน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ฐานการเรียนรู้ภายในวัดแสนเมืองมา
กิจกรรมสาธิตและถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำข้าวแคบ ข้าวแต๋นซี่ และกะละแม การตัดตุงไส้หมู ทำของฝากของที่ระลึก พวงกุญแจแม่เหล็กติดตู้เย็น โดยกลุ่มภูมิปัญญาพื้นบ้าน 

นั่งรถราง เพื่อไปเรียนรู้ฐานกิจกรรมในชุมชน

  • ฐานการเรียนรู้ถั่วงอก
  • ฐานการเรียนรู้ภาพวาดวิถีไทลื้อ
  • ฐานการเรียนรู้ถั่วโอ่
  • ฐานการเรียนรู้หอเทวดาหลวงเมืองมาง
    นั่งรถราง ชมความงดงามของชุมชนวัดแสนเมืองมา และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น สวนสุขภาพ 100 ปี จากนั้นร่วมกิจกรรมฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน อาทิ
    -การเพาะถั่วงอก
  • ภาพวาดวิถีไทลื้อ
  • การทำถั่วโอ่ และหอเทวดาหลวงเมืองมางเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของชุมชน


ชมการศิลปะแสดง และชมตลาดชุมชน ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง

ถนนสายวัฒนธรรมไทลื้อ “กาดเมิงมาง” ภายในวัดแสนเมืองมาเป็นพื้นที่ ที่คนในชุมชนนำพืชผักสวนครัว ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาจำหน่าย มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม มีขันโตกแคร่ไม้ไผ่ไว้บริการนักท่องเที่ยว ทุกวันพุธแรกของเดือน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม