ค่ายเจ้าเมืองระนอง (จวนเจ้าเมือง)ระนอง

ที่ตั้ง เขานิเวศน์ เมืองระนอง ระนอง 85000
๑.จวนเจ้าเมืองระนอง เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการทราบเรื่องราวของเมืองระนองและตระกูล ณ ระนอง จวนแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2420 ในสมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอชู้เจียง) เจ้าเมืองระนองคนแรกและเป็นต้นตระกูล ณ ระนอง ผู้สร้างคือ ลูกชายของท่าน มีราชทินนามเหมือนท่าน คือ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง) เป็นบุตรคนที่ ๒ ของท่านเจ้าเมือง มีเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่เศษ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง เดิมชาวระนองรู้จักในชื่อ “บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง” จวนเจ้าเมืองระนองกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2539
ภายในบ้าน มีกำแพงก่อด้วยอิฐ ถือปูนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน มีป้อมเชิงเทิน มีบ้านขนาดใหญ่ 3 หลัง ติดกันทำเป็นเรือนรับรองสำหรับเจ้าเมืองระนอง มีโรงเก็บสินค้า โรงช้าง โรงม้า โรงต้มกลั่นสุรา โรงต้มฝิ่น และฉางข้าว
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 17.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
08 1088 2629 โกศล
๕.ช่องทางออนไลน์ เพจ: จวนเจ้าเมืองระนอง
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

จุดชมวิวเขาฝาชี จังหวัดระนอง

ที่ตั้ง บ้านเขาฝาชี ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
๑.เขาฝาชี อยู่ห่างจากตัวเมืองระนองประมาณ 30 ก.ม. โดยจะอยู่ในบริเวณของหมู่บ้าน กม.30 ในเขตอำเภอละอุ่น ซึ่งตั้งชื่อหมู่บ้านตามระยะห่างจากตัวเมือง 30 ก.ม. นั่นเอง ระหว่างทางไปสู่ทางขึ้นเขาฝาชีนั้นจะต้องวิ่งรถผ่านความคดเคี้ยวของสันเขา ซึ่งระหว่างทางจะมีทะเลหมอกให้เห็นอยู่ตลอดทางขึ้นสู่เขาฝาชีนั้น มีระยะทางประมาณ 2 – 3 ก.ม. เส้นทางค่อนข้างแคบและชัน ด้านบนยอดเขาฝาชีนั้นถูกใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์กระจายสัญญาณโทรศัพท์ และจุดชมวิว ที่สวยงาม มากๆ จากจุดนี้เราจะได้สัมผัสกับทะเลหมอกหนาแน่นในยามเช้า พร้อมกับลมพัดเย็นสบาย มีแสงอาทิตย์อ่อนๆ ส่องลงมายังกลุ่มทะเลหมอก เพิ่มมิติความงดงามให้กับเช้านี้ได้เป็นอย่างดี แค่ตรงจุดนี้ก็ทำให้เราประทับใจและรู้สึกว่าคุ้มค่ากับการตื่นเช้ามาเยือนที่นี่แล้ว
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 00.00 – 23.59 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่ /ค่าบริการต่าง ๆ –
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
นางพิชชาภา ภาสะเตมีย์ ๐๘ ๑๕๖๖ ๙๕๙๖ ประธานชุมชนคุณธรรมบ้านเขาฝาชี
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.ranongcities.com/travel/travel_top/detail/10 เพจ : เขาฝาชี
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว จังหวัดระนอง

ตำบลหงาวเกิดจากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านจากอำเภอกะเปอร์ และจังหวัดภูเก็ต คือมีชาวบ้านเชื้อสายจีน     ที่เดินทางมาจากจังหวัดภูเก็ต  กลุ่มใหญ่เข้ามาประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ บางส่วนก็เลี้ยงวัวไว้บริเวณเชิงเขา จึงเรียกทุ่งหญ้าเลี้ยงวัว เป็นภาษาจีนว่า “ทุ่งโหงว” แปลเป็นไทยว่า “ทุ่งวัวป่า” จากนั้นชาวบ้านและคนรุ่นหลังได้เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ “บ้านทุ่งหงาว”      สืบต่อกันมา

ชุมชนคุณธรรมวัดบ้านหงาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพภูมิประเทศ มีทั้งที่ราบ ภูเขา และทะเล ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และหลากหลายทางธรรมชาติ และวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม มีวัดบ้านหงาวเป็นศูนย์รวมจิตใจ โดยเฉพาะ หลวงพ่อดีบุก “พระติปุกะพุทธมหาศากยมุนีศรีระณังค์” พระประธานในอุโบสถ มีประเพณีตักบาตรเทโว มีกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพเพ้นท์ผ้าปาเต๊ะ การทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ (ไม้โกงกาง)  การแสดงพื้นบ้าน “หงาวบ้านเรา” และมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในวัด  และแหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่ การทำกะปิกุ้ง การทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

“หลวงพ่อดีบุก” พระประธานในอุโบสถวัดบ้าน หงาว “หลวงพ่อดีบุก”หรือ พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยแร่ดีบุก   ซึ่งเป็นโลหะธาตุหล่อองค์พระพุทธรูป อันมีนัยแห่งความดี หมายถึง  “ความ “ดี” ที่ “บุก”  เอาชนะความชั่ว” หรือ “ดี บุก ชั่ว”  แร่ดีบุกมีอยู่มากมายในจังหวัดระนอง จนได้ชื่อว่า “เมืองแร่นอง” และต่อมาเพี้ยนมาเป็น “ระนอง”ประกอบกับตำบลหงาวเป็นแหล่งแร่ดีบุก อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง การสร้างพระประธานในอุโบสถด้วยแร่ดีบุกทำให้คนรุ่นใหม่รู้จักแร่ดีบุก  องค์พระประธานนี้มีชื่อสามัญว่า “หลวงพ่อดีบุก” ส่วนชื่อที่เป็นทางการคือ “พระติปุ-กะพุทธมหาศากยมุนีศรีระณังค์” อันมีความหมาย ว่า“พระพุทธรูปดีบุกองค์ใหญ่เป็นสิริมงคลและศักดิ์ศรีของเมืองระนอง”

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช เฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช  ตำบลหงาว จังหวัดระนอง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงวัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งความเป็นอยู่ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนให้คงอยู่สืบไป ภายในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มีวัตถุโบราณมากมาย ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวตำบลหงาว

ภาพเขียนรอบอุโบสถ ที่ตั้ง 63/2 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000 บริเวณรอบ ๆ อุโบสถ มีหินแกะสลักเป็นเรื่องเล่าของเมืองระนอง

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวภูเขาหญ้า ภูเขาหญ้า ระนอง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง ระนอง เป็นภูเขาที่  ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นมีแต่ต้นหญ้า ปกคลุมแนวเขาที่ทอดตัวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ภูเขาที่เต็ม ไปด้วยหญ้าต่างสีต่างวันเวลาและเนินเขางดงาม ในช่วงฤดูแล้งภูเขาหญ้าจะแปรเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวยิ่งในช่วงในตกใหม่ ๆ อาจมีโอกาสได้เห็นสายหมอกฝนลอยไปมาอีกด้วย  จึงนิยมเรียกกันว่า “ภูเขาหญ้าสองสี” การชม ภูเขาหญ้านอกจากจะชมได้จากลานกว้างด้านล่างแล้ว ยังสามารถขึ้นไปชมวิวในมุมสูงมีทางราบเชิงเขา มีทางเดินเท้าสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นสู่บนสันเขาเพื่อชมทิวทัศน์โดยรอบ ซึ่งภูเขาแต่ละลูกไม่สูงมาก สามารถเดินเท้าขึ้นไปตามทางจากลูกนี้เดินต่อไปยังอีกลูกซึ่งเชื่อมต่อกัน

ศูนย์วิจัยทรัพยากร ป่าชายเลนที่ ๓ ๑๘๕ หมู่ ๔ ตำบลหงาว  อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ที่ตั้ง ๑๗๖/๕  ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โทร ๐ ๗๗๘๑ ๐๖๕๑

อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติคลองเพรา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๑๗,๕๐๐ ไร่ หรือ ๖๖๘ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมที่ดินป่าละอุ่น และป่าราชกรูด ในท้องที่อำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และที่ดินป่าทุ่งระยะ ป่านาสัก      ป่าเขาตังอา ป่าคลองโชน ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และ ป่าปากทรง อำเภอสวี อำเภอหลังสวน  และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ นับเป็นอุทยานฯ ลำดับที่ ๙๓ ของประเทศ

ยอดภูหงาวดาวดึงส์ มีบันไดขึ้นยอดภูหงาว จำนวน ๓๔๓ ขั้น บนยอดเขามีจุดชมวิวที่สวยงามมาก  โดยเฉพาะตอนเย็นจะมองเห็นพระอาทิตย์ตก และท้องฟ้าสวยงามมาก
ที่ตั้ง วัดบ้านหงาว ตำบลหงาว อำเภอเมือง  จังหวัดระนอง

วังมัจฉา ตั้งอยู่ในวัดบ้านหงาว ทางขึ้น ภูหงาวดาวดึงส์ วังมัจฉา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีปลาอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้แก่ปลาบึก ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลาดุกยักษ์ ปลาตะเพียน ปลานิล ฯลฯ และเป็นสถานที่ให้อาหารปลา ปล่อยปลา นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารให้ปลาได้ ราคาชุดละ 10 บาท

อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะระนอง ๑๙๒  หมู่ ๔ ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง  จังหวัดระนอง โทร  ๐ ๗๗๘๑ ๓๘๔๐

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง / ศาสตร์พระราชา ตั้งอยู่เลขที่ 178/5 หมู่ที่ 1 ตำบลหงาว อำเภอเมืองระนอง     จังหวัดระนอง ครอบครัวบ้านนายสุเทพ รอดคง ขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรม “โคก หนอง นา โมเดล”  มีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อใช้ประกอบอาหาร เช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง พริกไทย สามารถลดรายจ่ายจากการซื้อผักกินกว่าเดือนละ 1,000 บาท มีผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน และเหลือนำไปขายสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เดือนละ 2,000 – 3,000 บาท ส่วนครอบครัวที่อยู่ติดทะเลก็จะประกอบอาชีพทำการประมงชายฝั่ง หาปลา หาปู หากุ้งมาทำกะปิ ขายในตลาดหงาว สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ได้เงินมาเพื่อซื้อข้าวสาร ผักจากชาวสวน

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การทำผ้ามัดย้อม ชื่อผู้ประกอบการ นางสุริยา ทิพย์บุญทอง ที่ตั้ง ๖๒/๑๗ หมู่ ๑    ตำบลหงาว อำเภอเมืองจังหวัดระนอง เบอร์โทรศัพท์  ๐๙ ๕๐๓๖ ๓๕๙๗, ๐๙ ๙๓๐๕ ๑๐๑๑ ในพื้นที่ตำบลหงาว มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล มีพื้นที่ป่าชายเลนเยอะ จึงเป็นพื้นที่ที่มีป่าโกงกางจำนวนมาก ผู้ประกอบการ จึงมีแนวคิดในการนำยางไม้โกงกางมาทำสีผ้ามัดย้อมจากไม้โกงกาง ได้แก่ ทำผ้าชิ้นสำหรับตัดชุดทำงาน ตัดเสื้อทั่วไป ทำกระเป๋า ผ้าปูโต๊ะ และผ้าเช็ดหน้า

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม