จวนเรซิดังกัมปอร์ต จังหวัดตราด

ที่ตั้ง 198 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
๑.ตามบันทึกช่วยจำของหลวงสาครคชเขตต์ (ประทวน สาคริกานนท์) ซึ่งเป็นอดีตนายอำเภอเกาะช้าง และอำเภอบางพระ ระหว่าง พ.ศ.2453-2464 กล่าวว่าอาคารจวนเรซิดังฯ ใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงฝรั่งเศส ผู้ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจังหวัดตราด ระหว่าง พ.ศ. 2447-2450 ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2436-2446 ฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรี ไทยต้องเอาดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง คือหลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร และจำปาศักดิ์ ไปแลกเปลี่ยน แต่หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนตัวจากจันทบุรีก็หันมายึดเมืองตราดอีก ต่อมาฝรั่งเศสได้คืนเมืองตราดให้แก่ไทย โดยฝ่ายไทยต้องยกเลิกดินแดนส่วนนอก คือ เมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง และเมืองศรีโสภณ เป็นการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ พ.ศ. 2450-2471 อาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นที่พักผู้ว่าราชการเมืองตราดตลอดมา โบราณสถานแห่งนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงพระมหากรุณาธิคุณในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และความเสียสละของบรรพบุรุษที่ได้ใช้ความวิริยะ อุตสาหะทุกวิถีทาง บางคราวยอมสละแม้ชีวิตที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน และในปัจจุบัน ไทยกับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. (พักเที่ยงเวลา 12.00 – 13.00 น.) หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม 0 3959 7259
๕.ช่องทางออนไลน์ – 
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จังหวัดตราด

ที่ตั้ง ถนนราษฎร์นิยม ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศาลากลาง จังหวัดตราด ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนตราดให้ความสำคัญมาก เพราะตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ประมาณ 24 ครั้ง โดยเฉพาะเมืองตราดที่พระองค์เสด็จประพาสมากถึง 12 ครั้งด้วยกัน จึงทำให้ชาวตราดมีความผูกพันกับในหลวง รัชกาลที่ 5 อย่างมาก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ เปิดตลอดเวลา 
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม – 
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม