ชุมชนคุณธรรมบ้านหอคำ จังหวัดบึงกาฬ

บ้านหอคำเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำโขงไหลผ่านหลายหมู่บ้าน มีหนองน้ำธรรมชาติสำคัญเหมาะแก่การเกษตร ลักษณะหมู่บ้านตั้งอยู่เป็นแนวยาวตามถนนทางหลวง หมายเลข 212 และแนวยาวตามลำแม่น้ำโขง ชาติพันธุ์ในชุมชน ได้แก่ ลาวเวียง อพยพมาจากฝั่ง ส.ป.ป. ลาว และที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นหลายที่ มีทั้งศาสนสถานและจุดชมวิว “ เหนือที่สุดแดนอีสาน” เป็นจุดที่อยู่เหนือที่สุดของภาคอีสาน

“ทิวทัศน์งามยามเช้าค่ำ อีกหอคำอันศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์เจ้าพ่อกุดเป่ง ฝีพายเก่งเทพบุตรหอคำ
สินค้านำลูกหยียักษ์ สนุกยิ่งนักแข่งเรือยาวชาวหอคำ”

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสุวรรณราชดาราม
วัดสุวรรณราชดาราม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ วัดหอคำ เนื่องมาจากการค้นพบก้อนหินขนาดใหญ่ในวัด ซึ่งพบในภายหลังว่าเป็นทองคำ วัดหอคำจึงเป็นศูนย์กลางระหว่าง 2 หมู่บ้าน ระหว่างบ้านหอคำและบ้านหอคำเหนือ

วัดป่าเทพวิมุต
วัดป่าเทพวิมุต วัดป่าเทพวิมุต เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธศากยมุนีศรีรัตนากร เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ที่ความสูงที่สุดในบึงกาฬ 21.99 เมตร หากใครได้มาเยือนหอคำ ต้องไม่พลาดแวะมาสักการะที่วัดแห่งนี้

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

จุดชมวิวริมแม่น้ำโขง
จุดชมวิวริมแม่น้ำโขง สามารถมองเห็นเทือกเขาฝั่ง สปป.ลาวที่มีความสวยงาม เหมาะแก่การถ่ายภาพสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

หาดหอคำ
ในฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำโขงจะลดจนเห็นทรายที่มีลวดลาย ที่เกิดจากกระแสน้ำที่ไหลผ่าน ทำให้เกิดเป็นหาดทรายที่สวยงาม สามารถลงเล่นน้ำคลายร้อนได้ อยู่บริเวณหาดบ้านหอคำ

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนลูกหยีแม่ประเนียร
“ลูกหยียักษ์” ลูกหยีเป็นผลไม้ป่าที่มีรสเปรี้ยวจี๊ด หวานน้อย ๆ ไม่คงที่ในแต่ละลูก ถ้าลูกไหนหวาน ชาวบ้านมักจะเอาไปทานกับข้าวเหนียว แต่สำหรับลูกเปรี้ยวที่เป็นส่วนใหญ่จะถูกทิ้งขว้างเป็นของกินเล่นของลิง ของนกไป ปัจจุบัน ลูกหยียักษ์ “แม่ประเนียร” ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรหอคำได้รับความสนใจจากทั่วประเทศ โดยมีการเปิดขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทั้งยังรับสั่งสินค้าตามออร์เดอร์ ไปกรุงเทพฯ สงขลา ปัตตานี จนถึงประเทศลาว

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การแสดงบาสโลบ รำสาวลาวเวียงนครหอคำ และรำวงย้อนยุค
บริเวณวัดสุวรรณราชดารามในชุมชนมีการแสดงบาสโลบ รำสาวลาวเวียงนครหอคำ และรำวงย้อนยุคเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

บายศรีสู่ขวัญ
ภายในชุมชนบายศรีสู่ขวัญ ให้กับคณะนักท่องเที่ยวที่มา ท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อเป็นการชื่นชมยินดี ช่วยให้เกิดสิริมงคลต่อผู้ที่เข้าร่วมพิธี

ล่องเรือหาปลา
แม่น้ำโขง มีบริการนั่งเรือหาปลา เพื่อทดลองหาปลาในแม่น้ำโขง โดยใช้อุปกรณ์หาปลาแบบโบราณ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดแม่วะหลวง จังหวัดลำปาง

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดแม่วะหลวง ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปางไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเถิน ๑๕ กิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วะ และติดกับภูเขาผีปันน้ำ มีป่าเบญจพรรณ จึงมีความอุดมสมบูรณ์ และมีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการกองทุนของชุมชนเกี่ยวกับการทำธุรกิจ เอาผลกำไรมาจัดสวัสดิการให้คนในชุมชน

ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงความบริสุทธิ์อยู่มาก อาทิ ท้องฟ้าที่สดใส ทุ่งนาและภูเขาอันเขียวขจี มีถ้ำและน้ำตกอันงดงาม นอกจากนั้น ยังมีความโดดเด่นในการต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยรำวงย้อนยุคนำเที่ยวด้วยรถซาเล้ง มีโฮมสเตย์ที่เรียบง่ายแต่แฝงด้วยความอบอุ่น และเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของเห็ดเผาะรสชาติดี

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดแม่วะหลวง
หน้าวัดเป็นทุ่งนาข้าว เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตำบลแม่วะ ภายในวัดมีเสาศาลาแกะสลักพุทธประวัติแบบนูนต่ำ อันงดงาม

กลุ่มทอผ้าบ้านท่าช้าง
เป็นลานทอผ้าของกลุ่ม ชาวบ้านที่จะรวมตัวกันมาทอผ้า

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ถ้ำหีบธรรม (ถ้ำหีดธัมม์)
อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านน้ำดิบ ต.แม่วะ อ.เถิน เป็นถ้ำหินปูนขนาดกลาง ภายในถ้ำมีหีบโบราณ ๔ ใบ มีลวดลายที่สวยงามแบบล้านนาภายในหีบมีคัมภีร์โบราณ 

น้ำตกแม่วะ
อยู่ในอุทยานแห่งชาติแม่วะ มี น้ำตก ๙ ชั้น ชั้นที่ ๘-๙ นับว่ามีความงดงามที่สุด

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านท่าช้าง
ตั้งอยู่ใกล้ทางเข้าบ้านท่าช้าง หมู่ ๒

กิจกรรมการท่องเที่ยว

สานกระติบข้าวจากใบลาน
วัดแม่วะหลวง วัดแม่วะหลวง

ทำขนม
กลุ่มทำขนมบ้านแม่วะท่าช้าง ทำขนมเปี๊ยะไส้ถั่วทองผสมฟักหวาน และไส้ผักหวาน เค้กกล้วยหอม และปั้นขลิบไส้ถั่วทอง

ตำข้าว
ณ ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านฯ  ตำข้าวด้วยวิถีชาวบ้าน

ดำนา
บ้านผู้ใหญ่ทรงพล ดำนาตามแบบเกษตรอินทรีย์

ตักบาตรเช้า
หน้าที่พัก ใส่บาตรพระเดินบิณฑบาตตอนเช้า

รำวงย้อนยุค
ลานหน้าศูนย์เรียนรู้ฯ  รำวงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะ

เด็ดผักหวานทำอาหาร
ณ ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านฯ ผักหวานปลูกทุกบ้าน สามารถเด็ดได้ทุกบ้าน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม