ชุมชนคุณธรรมบ้านคำเดือย จังหวัดอำนาจเจริญ

บ้านคำเดือย แต่ดั้งเดิมเป็นชาวผู้ไท ที่อพยพมาจากเมืองเซโปน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งอพยพมาถึงพื้นที่นี้ เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วยสายหนึ่งชื่อ “ลำห้วยน้ำคำ”และมีป่าไม้นานาพรรณ มีไม้ไผ่ขึ้นอยู่หนาแน่น ที่สำคัญคือ มีต้นลูกเดือยเป็นจำนวนมาก เห็นว่าพื้นที่เหมาะสมจึงตั้งหลักปักฐาน และจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2398  และตั้งชื่อเป็นหมู่บ้าน “คำเดือย” ตามชื่อของลำห้วยและต้นลูกเดือยและเรียกขานเป็นชาวผู้ไท เซโปน

ชาวหมู่บ้านคำเดือย คือ ภาษาพูดแบบผู้ไท เซโปน การแต่งกายหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ และเสื้อย้อมคราม มีสไบสีขาวเป็นเอกลักษณ์ ชายจะนุ่งโสร่ง ใส่เสื้อย้อมคราม ชาวผู้ไท เซโปน ได้ร่วมกันรักษาขนบประเพณีสืบต่อกันอย่างยาวนาน  วิถีวัฒนธรรมที่ดีงามบ้านคำเดือย จึงมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว    ไม่ว่าจะเป็นภาษา การแต่งกาย อาหารการกินที่เป็นแบบฉบับของชาวภูไท 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้าน ภูไทบ้านคำเดือย
ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทบ้านคำเดือย เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ พื้นที่ 18 ไร่ โดยประมาณ ดูแลโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในการจัดงานบุญประเพณี ของบ้านคำเดือย โดยมีแหล่งน้ำ แปลงสาธิตเกษตรผสมผสาน ห้องน้ำสาธารณะ และโฮมสเตย์ 

วัดศรีมงคล เป็นแหล่งโบราณสถานรวบรวมองค์ความรู้มูลมังอิสาน ของผู้คนในชุมชน โดยมีพระมหาทินกร อิสสโร เป็นเจ้าอาวาส

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ภูคำเดือย ภูคำเดือย ห่างจากบ้านคำเดือย ประมาณ 3 กิโลเมตร ปกคลุมด้วยป่าไม้เต็งรังและป่าไม้เบญจพรรณ มีสถานที่สำหรับชมทิวทัศน์ และถ้ำ อันสวยงาม บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีลานหินกว้างในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้บานตามลานหิน เช่น ดุสิตา กระดุมเงิน กระดุมทอง ในบริเวณภูคำเดือยมีจุดท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น ถ้ำมีพระพุทธรูปอยู่ภายในถ้ำและเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้าน ภูไทบ้านคำเดือย
การเกษตรผสมผสาน (เกษตรทฤษฎีใหม่) มีแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลาและเพาะปลูก

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ต้อนรับด้วยขบวนฟ้อนภูไท คำเดือย
ณ จุดเช็คอินบริเวณกลางศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทบ้านคำเดือย ต้อนรับด้วยขบวนฟ้อนภูไท คำเดือย

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทคำเดือย
ณ บริเวณ ศูนย์วัฒนธรรมหมู่บ้านภูไทบ้านคำเดือยกิจกรรมการบายศรีสู่ขวัญ ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้าน

ทำบุญตักบาตร
บริเวณด้านหน้าวัดศรีมงคลร่วมทำบุญตักบาตรถนนสายวัฒนธรรมบริเวณหน้าวัดศรีมงคล

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาถ่อน จังหวัดนครพนม

ชุมชนคุณธรรมบ้านนาถ่อน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกวน มีการแต่งกายและภาษาพูดเป็นของตนเอง มีอัธยาศัยไมตรีดี ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว อาชีพหลัก คือ ทำนา ว่างก็จะตีเหล็ก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน มีด พร้า จอบ เสียม เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 

มีการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าไทยกวน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดนครพนม มีภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทกวนที่ยังฝังรากลึกสืบเนื่องมาถึงสามอาชีพหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในชุมชนจนเกิดเป็นคำขวัญติดปากของคนท้องถิ่นว่า ‘เสร็จนา หญิงทอผ้า ชายตีเหล็ก’ ซึ่งหมายถึงการ ลงแขกดำนา ทอผ้า และตีเหล็กแบบโบราณ 

 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดศรีมงคล
เป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมของชุมชนและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน

ศาลปู่ตาแสง
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ศาลปู่ตาแสง
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ

บ่อเกลือสินเธาว์
ชาวบ้านใช้ในการผลิตเกลือในการอุปโภคบริโภคในชุมชน

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บ่อเกลือสินเธาว์
ชาวบ้านใช้ในการผลิตเกลือในการอุปโภคบริโภคในชุมชน

สวนมะไฟ
สวนเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในชุมชน

รรมการท่องเที่ยว

ไหว้ขอพรศาลปู่ตาแสง
ศาลปู่ตาแสง การขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของบ้านนาถ่อนก่อนเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้าน

ชมโบราณสถานของวัด
วัดศรีมงคล เยี่ยมชมโบราณสถานของวัด

การตีมีดโบราณ
ปรีชาตีมีดเหล็กกล้านาถ่อน ชมการตีมีด พร้า และอุปกรณ์การเกษตร

บ่อเกลือสินเธาว์
บ่อเกลือสินเธาว์ ชมการต้มเกลือสินเธาว์แบบโบราณ

สปาเกลือ
ศูนย์วัฒนธรรมนาถ่อน นวดสปาเกลือผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ของชุมชน

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม