วัดถาวรชัยศิริ(วัดด้อแด้) จังหวัดชัยภูมิ

ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าหว้าน หมู่ ๔ ตำบลห้วยยางอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

๑. วัดถาวรชัยศิริ เดิมชื่อว่า วัดด้อแด้สายธารธรรม คำว่าด้อแด้เป็นภาษาถิ่นคอนสารแปลว่าสูงและสืบเนื่องจากทางเข้าหมู่บ้านมีจะต้นเสลี่ยงใหญ่และมีผึ้งไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่มีใครสามารถปีนเอาผึ้งได้เพราะต้นเสลี่ยงสูงมากซึ่งชาวบ้านจะพูดว่าสูงด้อแด้ คำว่าด้อแด้เป็นภาษาถิ่นคอนสารแปลว่าสูงและสืบเนื่องจากทางเข้าหมู่บ้านมีต้นจะเสลี่ยงใหญ่และมีผึ้งไปอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่มีใครสามารถปีนเอาผึ้งได้เพราะต้นเสลี่ยงสูงมากซึ่งชาวบ้านจะพูดว่าสูงด้อแด้ มีอุโบสถจตุรมุข และองค์หลวงพ่อใหญ่ตั้งอยู่บนหลังคาอุโบสถ กำแพงแก้วรอบอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ และมีรูปปั้นพญานาคสี่ตระกูลใหญ่ กุฎีสงฆ์ทรงไทยประยุกต์ มีลานธรรมกลางสวนป่าที่ร่มรื่น สงบ เป็นสัปปายะ ปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะอาดร่มรื่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่งดงามของเมืองคอนสาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดมหาธาตู จังหวัดชัยนาท

ที่ตั้ง หมู่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

๑. วัดมหาธาตุ เดิมเรียกว่า วัดหัวเมือง หรือวัดศรีษะเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยตอนหักโค้งไปทางทิศตะวันออก บางส่วนของวัดทางด้านหน้าขนานไปตามลำน้ำ สร้างขึ้นในพุทธศักราช 1897 สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งกรุงสุโขทัยและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสุโขทัยหน้าพระอุโบสถวัดมหาธาตุอาจจะใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองในสมัยนั้น เพราะแถบ บริเวณหน้าวัด ชาวบ้านยังคงเรียกว่า “หน้าพระลาน” นับเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสรรค์มาแต่อดีต มีหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าวัดมหาธาตุ เป็นวัดที่กษัตริย์ทรงสร้างสถาปัตยกรรมสำคัญ อาทิ พระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง พระอุโบสถ องค์พระธาตุเจดีย์ วิหาร เจดีย์ราย และหลวงพ่อหมอ หรือหลวงพ่อหลักเมืองกรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอน 75 วันที่ 8 มีนาคม 2575
๒. วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่ 06.00 น. – 18.00 น.
๓. ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ ( ไม่มี )
๔. เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ โทร. 08 5052 5800
๕. ช่องทางออนไลน์-
๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ/ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดเฉลียงทอง

เข้าวัดร่วมกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำ มีการทำบุญตักบาตรข้าวเหนียววันเดียว ๒ จังหวัดทุกวันพระ ใช้บริเวณวัดและศาสนสถานเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ คณะสงฆ์ร่วมรณรงค์กิจกรรม งดเหล้าเข้าพรรษา งานศพปลอดเหล้า งานเศร้าปลอดอบายมุข ผู้นำชุมชน : นายฐิติกร แก้วคำ
ตำแหน่ง : ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ บ้านเซินเหนือ เบอร์โทรศัพท์ : ๐๘ ๐๙๗๔ ๑๘๔๐

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

วัดเสนีวงศ์

ที่ตั้ง ตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๕๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๙๒๗ ๖๗๗๕

วัดเสนีวงศ์ เป็นวัดที่ร่มรื่นไปด้วยหมู่แมกไม้ยืนต้นและสัตว์น้ำ แบบการสร้างวัดผสมผสานระหว่างไทย-มอญ-จีน มีถาวรวัตถุในด้านพระพุทธศาสนาที่สำคัญคือ พระเจดีย์สมปรารถนา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นรูประฆังคว่ำ ภายในองค์พระเจดีย์มีพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระสังกัจจายน์ รูปแบบไทย และรูปแบบจีน รอยพระบาทจำลอง ๒ รอย เจดีย์สร้างเพื่อเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา และขอพรให้สมปรารถนาดังชื่อองค์พระเจดีย์

วัดไทรม้าใต้

วัดไทรม้าใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 88 บ้านไทรม้า ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่ 4 ตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มป่าสวนผลไม้นานาชนิด หน้าวัดอยู่ทางทิศตะวันออก อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระ ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 ลักษณะทรงไทย มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ หลังคาลด 3 ชั้น ซุ้มประตู หน้าต่างเป็นแบบบุษบก หน้าบันเป็นลายเครือเถาว์พรรณพฤกษา กุฎีสงฆ์จำนวน 5 หลัง เป็นอาคาคอนกรีตสองชั้น และอาคารไม้ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ. 2456 วิหาร ศาลาท่าน้ำ หอปริยัติธรรม สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.50 เมตร อีกองค์หนึ่งปางสมาธิหน้าตักกว้าง 60 เซนติเมตร พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร 2 องค์ นอกจากนี้มีพระพุทธรูปปางต่างๆจำนวน 14 องค์ อยู่ที่วิหาร พร้อมด้วย “หลวงพ่อใหญ่” วัดไทรม้าใต้ สร้างเ มื่อพ.ศ. 2332 โดยมีพระยาเสนาและพระยาทรง ดำเนินการสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยาและมาได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นวัดที่เจริญมั่นคงในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อุโบสถหลังเก่าได้ผ่านการบูรณธซ่อมแซมในปีพ.ศ. 2450
ที่อยู่ : ถ.รัตนาธิเบศร์ (ไทรม้า) ต.ไทรม้า อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี

วัดท้ายเมือง

วัดท้ายเมืองสร้างขึ้นปีพ.ศ. 2532 ในสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่2 เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดนนทบุรี โดยด้านหน้าจะเป็นพุทธอุทยาน ที่ญาติโยมผู้มีจิตศรัทราร่วมใจกันสร้างถวาย และถัดมาจะเป็นพระอุโบสถเก่าแก่ทรงเรือสำเภา และมีพระพุทธสุวรรณ หรือ พระประธานในอุโบสถสองรูปหันหลังชนกัน ที่ตั้ง : จากสะพานนนทบุรี1ขาเข้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนนนทีบุรี1 ประมาณ 200เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือเพียง 2.5 กิโลเมตรจากโครงการ The Connect พระราม5-นครอินทร์