ศาลหลักเมือง และศาลเจ้าพ่อกุดป่อง จังหวัดเลย

ที่ตั้ง 22/2 ถนนเสริฐศรี ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000
๑.ศาลหลักเมือง เป็นศาลเก่าแก่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของดวงวิญญาณเจ้าพ่อทองคำ องค์ เสาหลักเมืองแห่งนี้ทำด้วยไม้ราชพฤกษ์ ความสูงจากฐานถึงยอด 179 เซนติเมตร ยอดเสาแกะสลักลงรักปิดทองทั้งองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมศาลเมื่อ พ.ศ. 2525 ศาลเจ้าพ่อกุดป่อง ตั้งอยู่ห่างจากวงเวียนน้ำพุประมาณ 100 เมตร ติดกับสวนสาธารณะกุดป่อง เป็นศาลเก่าแก่ที่ประชาชนเคารพนับถือ โดยภายในศาลนั้นเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนในจังหวัดเลยเคารพนับถือ มีตุ๊กตาสัตว์ เช่น ช้าง ม้า อยู่เป็นจำนวนมากที่ผู้คนนำมาถวาย อีกทั้งยังมีสิ่งศักดิ์อื่น ๆ เช่นพระสังขจารย์บันดาลโชคลาภความสุข และยังเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ มักมาสักการะเป็นประจำ
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่- เปิดทุกวัน
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ (ไมีมี)
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม –
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก / ทางลาด / ที่จอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร จังหวัดพิจิตร

ที่ตั้ง ถนน โยธาธิการ พิจิตร 3063 ตำบล เมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
๑.เมืองพิจิตรเก่าสร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. ๑๖๐๑ ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ ๔๐๐ ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณประกอบด้วยกำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่าฯลฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๗ กิโลเมตร ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นสวนรุกขชาติและได้ตั้งชื่อว่า “สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร” ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่น หลายชนิดเหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอย่างมาก ภายในอุทยานมีสถานที่น่าสนใจ คือ ศาลหลักเมือง ,วัดมหาธาตุ โบราณสถานที่เห็นได้ชัดของวัดมหาธาตุ คือ เจดีย์ทรงลังกา ซึ่งเรียกกันว่า “พระธาตุเจดีย์” ส่วนพระอุโบสถ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระมหาธาตุเจดีย์นั้นมีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับ หักลงมา องค์พระก็ได้รับความเสียหายด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง เมื่อครั้งกรมศิลปากรขุดแต่โบราณสถานได้พบซากกำแพงและวิหาร ๙ ห้อง , ถ้ำชาลวัน มีที่มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครนอก เรื่อง“ไกรทอง” ของรัชการที่ ๒ , เกาะศรีมาลามีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็ก ๆ อยู่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะ แต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าเดิมน่าจะเป็นป้อมหรือหอคอยรักษาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมือง และอยู่กลางคูเมือง
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด 08.00 – 17.00 น
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ – ๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕ – ๖
๕.ช่องทางออนไลน์
https://www.muangkaophichit.go.th/travel_detail.php?id=468
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ /ที่จอดรถ /ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ถนนสละชีพ ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๑.ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวประจวบคีรีขันธ์ พากันมาสักการะอยู่เป็นประจำ เพราะถือว่าเป็นมงคล และหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง ทำให้ประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข รุ่งเรืองตลอดเวลา สร้างขึ้นในสมัยที่ ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ องค์หลักเมืองแกะสลักลวดลายประณีตสวยงาม วิจิตรบรรจง ตามรูปแบบศิลปะลพบุรี เป็นศาลหลักเมืองที่ได้ชื่อว่าสวยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมยอดชัยหลักเมือง และแผ่นดวงเมือง ตรงกับวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2536 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมือง
ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2537
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.30 – 16.30 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่าง ๆ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
0 3253 4255 , 0 3261 1491 หรือ 08 1401 6003
๕.ช่องทางออนไลน์ –
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยว/ร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองจังหวัดจันทบุรี

ที่ตั้ง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000
๑.ความโดดเด่น/ความสำคัญ
แวะสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดจันทบุรี เพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ตัวเอง ศาลหลักเมืองจันทบุรีที่เห็นอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่หลังเดียวกันกับที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 250 ปีที่แล้ว เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาใหม่แทน ศาลเดิมที่สร้างด้วยศิลาแลงซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรม มีต้นโพธิ์และต้นข่อยขึ้นปกคลุม ศาลหลักเมืองแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเข้าเมืองจันทบุรี เพื่อใช้เป็นที่รวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหารก่อนยกทัพไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยา ตามหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงได้เมืองจันทบุรีเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หากข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นเรื่องจริงแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ทางจังหวัดจันทบุรีได้ก่อสร้างศาลฝังเสาหลักเมืองและหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยแบบจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกา และมีปรางค์ที่ด้านบน นอกจากนั้น บริเวณใกล้ ๆ กันกับศาลหลักเมือง ยังได้สร้างศาลขนาดเล็กที่สวยงามในแบบสถาปัตยกรรมจีนขึ้นอีกด้วย ส่งให้ศาลหลักเมืองดูสง่างามเพิ่มขึ้นไปอีก
๒.วัน/เวลา/ช่วงเวลา เปิด-ปิด ของสถานที่
เปิดให้เข้าชม : ทุกวัน เวลา 05.30-20.00 น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่/ค่าบริการต่างๆ-
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
สอบถามข้อมูล : โทรศัพท์ 0 3931 3452
๕.ช่องทางออนไลน์-
๖.สิ่งอำนวยความสะดวก /ห้องน้ำ/ทางลาด/ที่จอดรถ/จุดบริการนักท่องเที่ยวร้านอาหาร

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
๑.ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร (ศาลเจ้าพ่อลักเมืองกำแพงเพชร)ตั้งอยู่บริเวณวัดพระแก้ว และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลเก่าแก่มานานกว่า ๗๐๐ ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าวรมันต์ (เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้นทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ ๒ เมตร ฝังโผล่พื้นดินขึ้นมาประมาณ ๑ เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์ อยู่บนยอดศิลาแลง ได้ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึง พุทธศักราช ๒๕๒๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร(พระยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๗ และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗
การสังเวยเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร จะมีขึ้นในวันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปี เรียกว่า “วันพญาวัน” ซึ่งจะมีประชาชนจำนวนมากจะมาชุมนุมโดยพร้อมเพรียงกัน
๒.วันเวลา เปิด/ปิด
ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
๓.ค่าธรรมเนียมเข้าสถานที่ –
๔.เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม
๐๘ ๑๙๗๓ ๘๐๑๓
๕.สิ่งอำนวยความสะดวก/ห้องน้ำ /ทางลาด /ลานจอดรถ

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมวัดสิงห์ท่า จังหวัดยโสธร

บ้านสิงห์ท่า มีประวัติการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๔ – ๒๓๕๖ มีกลุ่มคนที่เข้ามาหลายกลุ่ม หลากหลายชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาตั้งเมือง คือเจ้าเมืองรวมถึงไพร่พล กลุ่มคนเวียดนาม และกลุ่มคนจีนที่เข้ามาทำการค้าขาย โดยการเข้ามาตั้งถิ่นฐานดังกล่าวส่งผลให้เกิดเป็นชุมชนที่มีความงดงามและมนต์เสน่ห์ที่น่าค้นหาของชุมชนแห่งนี้

ชุมชนเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีรูปแบบอาคารเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่อยู่มาก เช่น ตึกโบราณ อาคารเรือนไม้สมัยเก่า ห้องแถวเก่า เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกสมัยที่ฝรั่งเศสปกครองทางฝั่งซ้ายในช่วงสมัยราชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ อาคารลวดลายศิลปะอ่อนช้อยงดงาม ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

วัดสิงห์ท่า
เป็นวัดเก่าแก่ ที่อยู่คู่ชุมชน เมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ประดิษฐานหลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร
ในพระอุโบสถ มีพระครูอนุรักษ์ วรดิตถ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร เป็นเจ้าอาวาส เป็นศูนย์กลาง และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)
วัดพระอารามหลวง (มหานิกาย) มีพระเทพวงศาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดยโสธร เป็นเจ้าอาวาส
๑. ประดิษฐาน พระพุทธบุษยรัตน์ (พระแก้วหยดน้ำค้าง) พระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดยโสธร
๒. พุทธวรนาถมหาธาตุยโสธร พระประธานในพระอุโบสถ
๓. พระธาตุพระอานนท์
๔. หอไตรกลางน้ำ

วัดศรีธรรมาราม (พระอารามหลวง)
วัดพระอารามหลวง (ธรรมยุติ) มีพระครูประสิทธิ์สีลคุณ เป็นเจ้าอาวาส มีหลวงพ่อพระสุก พระพุทธรูปปางสารวิชัย หรือปรางสะดุ้งมาร ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวง สุขินทริโย)

ศาลหลักเมือง จังหวัดยโสธร
ตั้งอยู่ ถนนอุทัยรามฤทธิ์ สร้างบูรณะเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ มีศิลปะแบบไทยประยุกต์ผสมจีน มีเสาหลักเมือง ๓ เสา

อนุสาวรีย์ พระสุนทรราชวงศา (สิงห์)
ประชาชนชาวจังหวัดยโสธร ได้ก่อสร้างรูปหล่อจำลองเจ้าเมือง พระสุนทรราชวงศา (สิงห์) ประดิษฐานที่บริเวสวนสาธารณะบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร อยู่ท่างทิศตะวันตกของวัดสิงห์ท่า 

ชุมชนเมืองเก่า บ้านสิงห์ท่า
ตึกเก่าย่านชุมชนเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า มีลักษณะเป็นตึกอิฐดินเหนียว มีรูปแบบศิลปะแบบจีนผสมยุโรป อาคารแบบโคโลเนียนสไตล์ (Colonail Sryle)

 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

สวนสาธารณะบุ่งน้อย บุ่งใหญ่

กิจกรรมการท่องเที่ยว

ทำบุญตักบาตรวิถีถิ่นวิถีไทย
ถนนคนเดิน เมืองเก่า บ้านสิงห์ท่า สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร และส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชน ร่วมกับ ชุมชนคุณธรรม วัดสิงห์ท่า จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร “วิถีถิ่น วิถีไทย” ณ ถนนคนเดินเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า (บริเวณหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดยโสธร) เป็นประจำทุกเช้าวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๖.๓๐ น.

ตลาดถนนคนเดินเมืองเก่า บ้านสิงห์ท่า
ถนนคนเดิน เมืองเก่า บ้านสิงห์ท่า ทุกวันเสาร์ ของสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม

ชุมชนคุณธรรมบ้านละอูบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

บ้านละอูบเป็นชุมชนชาติพันธุ์ละว้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากตั้งอยู่บนภูเขาสูงในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย มีวัฒนธรรมที่สืบทอดยาวนานมากว่า ๑๓๐ ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและนิยมการทำนาแบบขั้นบันได

บ้านละอูบเป็นชุมชนละว้าที่ยังคงดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่มีชื่อเสียง ภูมิทัศน์โดยรอบที่งดงาม มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ เที่ยวชมวิถีวัฒนธรรมละว้า การทอผ้ากี่เอว การตีมีด สักการะพระองค์ใหญ่ ชมภูมิทัศน์ ๓๖๐ องศา

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

ศาลหลักเมือง
บ้านละอูบมีศาลหลักเมือง เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ๓ หลังด้วยกันโดยแต่ละหลังจะมีฮญู่ หรือเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองตั้งอยู่ด้านหน้า และด้านหลังละ ๑ ต้น

พระองค์ใหญ่
“องค์พระใหญ่” (พระพุทธนิโรคันตรายนริศรจตุรุทิศประชานาถ
– พระพุทธรูปที่ป้องกันภยันตรายนานา เป็นที่พึ่งพาแก่ประชาชนผู้มากราบไว้บูชาจากทิศทั้งสี่) ประดิษฐานอยู่บนเนินจุดชมทิวทัศน์ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของหมู่บ้าน

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ดอยขุมคำ
จุดชมทิวทัศน์ที่สามารถชมพื้นที่ปลูกพืชของชาวแม่ลาน้อย มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ไร่กาแฟบ้านละอูบ
ไร่กาแฟสายพันธุ์อาราบิกา ของชุมชนบ้านละอูบ ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของชุมชน

 กิจกรรมการท่องเที่ยว

ชมการสาธิตการตีเครื่องเงิน
โรงตีเงิน เป็นแหล่งเรียนรู้การตีเครื่องเงินบ้านละอูบ โดยบ้านละอูบได้มีการทำเครื่องเงินใช้มานานกว่า ๑๒๐ ปี ซึ่งเครื่องเงินมีความสำคัญในวิถีชีวิตชาวเลอเวือะ ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

ชมการสาธิตการตีเหล็ก
โรงตีเหล็ก เป็นแหล่งเรียนรู้ จำหน่ายและสั่งทำมีด รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ตีจากเหล็กหรือโลหะ

ชมการสาธิตการทอผ้า
กลุ่มทอผ้าศิลปาชีพ ผ้าทอละว้าบ้านละอูบ อีกหนึ่งภูมิปัญญาของชาวบ้านละอูบที่ยังคงวิถีดั้งเดิมในการทอผ้าเพื่อใช้สอย

ชมพระอาทิตย์ตกดินและสักการะพระองค์ใหญ่
จุดชมทิวทัศน์ ๓๖๐ องศา  อยู่บนจุดที่สูงสุดของหมู่บ้าน จุดชมวิวแห่งนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพโดยรอบของหมู่บ้านที่สวยงามในมุม ๓๖๐ องศา

ที่มา กระทรวงวัฒนธรรม